ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยก่อนการเข้าเยี่ยมครั้งแรก ต่อความวิตกกังวลของมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด
คำสำคัญ:
การให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย, ความวิตกกังวลของมารดา, ทารกเกิดก่อนกำหนดบทคัดย่อ
การเข้าเยี่ยมทารกแรกเกิดที่เจ็บป่วยในหอผู้ป่วยหนัก อาจส่งผลให้มารดามีความวิตกกังวล การให้ข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญ งานวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มเปรียบเทียบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยก่อนการเข้าเยี่ยมครั้งแรกต่อความวิตกกังวลของมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ มารดาของทารกคลอดก่อนกำหนด จำนวน 32 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจงโดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 16 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเตรียมมารดาร่วมกับการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยก่อนการเข้าเยี่ยมครั้งแรก ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบประเมินความวิตกกังวลของมารดา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบทีคู่ และการทดสอบทีอิสระ ผลการศึกษาพบว่ามารดาที่ได้รับโปรแกรม มีค่าเฉลี่ยความวิตกกังวลต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t(15) = 2.71, p < .001, d = 1.01) และค่าเฉลี่ยความวิตกกังวลต่ำกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับข้อมูลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t(30) = 2.55, p < .001, d = 0.90) สรุปได้ว่า โปรแกรมการเตรียมมารดาร่วมกับการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยก่อนการเข้าเยี่ยมทารกครั้งแรก ช่วยลดความวิตกกังวลของมารดาได้ ดังนั้นพยาบาลควรร่วมกันกำหนดแนวทางปฏิบัติสำหรับการเตรียมมารดาก่อนการเข้าเยี่ยมทารกในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิดด้วยการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย
References
จิตรสุดา สว่างอารมณ์. (2558). ผลของการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวลของมารดาที่คลอด ทารกน้ำหนักน้อย. วารสารแพทย์นาวี, 42(3), 29-42.
ชนิตา แป๊ะสกุล. (2553). การมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะวิกฤต. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 16(1), 39-49.
ชลลดา จงสมจิตต์. (2553). ผลของการเตรียมมารดาก่อนเข้าเยี่ยมทารกคลอดก่อนกำหนดครั้งแรกโดยการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยต่อความวิตกกังวลของมารดา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ญาณิกา เชษโชติศักดิ์. (2554). ผลของการให้ข้อมูลต่อความวิตกกังวล ความรู้ และการปฏิบัติของมารดาคลอดก่อนกำหนด ที่มีความผิดปกติที่จอตา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
ฐิติมา วัฒนเสรีเวช. (2559). ผลของการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยก่อนการเข้าเยี่ยมผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤตเด็กครั้งแรกต่อความวิตกกังวลของมารดา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
ณัชนันท์ ชีวานนท์. (2562). ความทุกข์ทรมานของมารดาที่มีทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยและเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดป่วย. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 29(2), 112-115.
บุษกร พันธ์เมธาฤทธิ์. (2555). ผลของการเตรียมความพร้อมตามความต้องการของมารดาต่อความพึงพอใจ และความวิตกกังวลของมารดาที่มีทารกเกิดก่อนกำหนดในหออภิบาลทารกแรกเกิด. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 32(2), 1-22.
ปณัฐฑิตา เหล็กแท้. (2551). ผลของการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย ต่อความวิตกกังวลของมารดาที่มีทารกคลอดก่อนกำหนดกลุ่มอาการหายใจลำบาก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
พาณี พิบูลย์เวช. (2541). การเตรียมความพร้อมมารดาหลังคลอดเพื่อลดความวิตกกังวลในการเยี่ยมบุตรที่เจ็บป่วย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร.
พัชรีย์ กลัดจอมพงษ์. (2555). ปัจจัยทำนายบทบาทการเป็นมารดาของมารดาที่มีบุตรน้ำหนักน้อย. วารสารพยาบาลทหารบก, 13(1), 58-65.
รัตน์ศิริ ทาโต. (2561). การวิจัยทางพยาบาลศาสตร์:แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัลยา ธรรมพนิชวัฒน์. (2553). ทฤษฎีการควบคุมตนเอง: แนวคิดและการประยุกต์ใช้ในการพยาบาลเด็กและครอบครัว. วารสารสภาการพยาบาล, 25(4), 23-33.
อุดมญา พันธนิตย์. (2555). แนวคิดที่สำคัญในการพยาบาลผู้ป่วยเด็ก: การพยาบาลผู้ป่วยเด็กภาวะวิกฤต ใน ศรีสมบูรณ์ มุสิกพงศ์, ฟองคำ ติลกสกุลชัย, วิไล เลิศธรรมเทวี, อัจฉรา เปรื่องเวทย์, พรรณรันต์ แสงเพิ่ม, และสุดาภรณ์ พยัคฆเรือง (บรรณาธิการ), ตำราการพยาบาลเด็ก เล่ม 1 (น. 273-288). กรุงเทพมหานคร: พรี-วัน.
Johnson, J. E. (1999). Self-regulation theory and coping with physical illness. Research Nurse Health, 22, 435-48.
Lazarus, R., & Folkman, S. (1984). Stress, appraisal, and coping. New York: Springer Publishing Company.
Leventhal, H. & Johnson, J. E. (1983). Laboratory and field experimentation: Development of a theory of self-regulation. In P. J. Wooldridge, M. H. Schmitt, J. K. Skipper, & R. C. Leonard (Eds.), Behavioral science and nursing theory (pp. 189-262). St. Louis: CV Mosby.
Rusinova, K., Kukal, J., & Cerny, V. (2014). Limited family members/staff communication in intensive care units in the Czech and Slovak Republics considerably increases anxiety in patients relatives-the depress study. BMC Psychiatry, 14, 1-7.
Spielberger, C. D. (1972). Anxiety as an emotional state. In C. D. Spielberger (Ed.), Anxiety: Current trends in theory and research. New York: Academic Press.
Umasankar, N. & Sathiadas, M. G. (2016). Maternal stress level when a baby is admitted to the neonatal intensive care unit at Teaching Hospital Jaffna and the influence of maternal and infant characteristics on this level. Sri Lanka Journal of Child Health, 45(2), 90–94. DOI: http://doi.org/10.4038/sljch.v45i2.8003
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว