การพัฒนาและหาความตรงของแบบวัดคุณลักษณะพลเมืองสร้างสรรค์ของบัณฑิตพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • นิระมล สมตัว
  • แสงดาว จันทร์ดา
  • จุรี แสนสุข

คำสำคัญ:

การสร้างแบบวัด, ความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์, บัณฑิตพยาบาล

บทคัดย่อ

สถาบันการศึกษามีส่วนสำคัญในการสร้างให้ผู้เรียนเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ จึงควรมีการตรวจสอบคุณลักษณะดังกล่าวโดยอาศัยเครื่องมือวัดที่ดี การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาแบบวัดคุณลักษณะพลเมืองสร้างสรรค์ของบัณฑิตพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น (The Creative Citizen Attribute Test for New Graduate Nurses of Boromarajonani College of Nursing, Khon Kaen [The CCAT-BCNKK])  ผู้เข้าร่วมการวิจัยคือบัณฑิตทุกคนที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยดังกล่าวในปีการศึกษา 2559–2561 จำนวน 323 คน ผู้วิจัยสร้างข้อคำถามในแบบวัดจากข้อมูลที่ได้จากการสนทนากลุ่มแล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา  การประเมินคุณภาพของแบบวัดทำโดยการวิเคราะห์ 1) ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคําถามกับประเด็นหลักของเนื้อหา (Item-objective congruence [IOC]  2) ค่าอำนาจจำแนกวิเคราะห์ด้วยสหสัมพันธ์อย่างง่ายแบบเพียร์สัน (r) 3) สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก (Cronbach's alpha coefficient [α]) 4) ค่าความเที่ยงเชิงโครงสร้าง และ 5) วิเคราะห์คะแนนทีปกติ ผลการวิจัยพบว่า 1).แบบวัดมีค่า IOC ตั้งแต่ .85 ถึง 1.00 2) ค่าอำนาจจําแนก (r)  อยู่ระหว่าง .32-.72 3) ค่า α  ของแบบวัดทั้งฉบับได้เท่ากับ .99 4) องค์ประกอบเชิงยืนยันโครงสร้างของแบบวัดมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2 = 39.16,  df = 66, p-value = .056, GFI = .987, AGFI = .971, CFI = 1.00, RMSEA = .038) และ 5) ผลการสร้างเกณฑ์ปกติของแบบวัดมีคะแนนทีปกติระหว่าง T 76 ถึง T 100  สรุปว่าแบบวัด The CCAT-BCNKK มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เที่ยงตรงเชิงโครงสร้างและมีการกระจายตัวดี แสดงว่าเป็นแบบวัดที่มีคุณภาพและเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นแบบวัดคุณลักษณะพลเมืองสร้างสรรค์ได้  จึงควรมีการศึกษาวิจัยในนักศึกษาพยาบาลทุกชั้นปีเพื่อนำผลการวัดไปปรับปรุงกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ให้ครบทุกด้าน

References

กริซ แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ Amos เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ไชยันต์ สกุลศรีประเสริฐ. (2556). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารจิตวิทยาคลินิก, 44(1), 1-16.

ณัฎฐภรณ์ หลาวทอง. (2559). การสร้างเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2547). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้.กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2552). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เฮาส์ออฟเคอร์มิสจำกัด.

ล้วน สายยศ, และอังคณา สายยศ. (2543). การวัดด้านจิตพิสัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ลิลลี่ ศิริพร, มกราพันธุ์ จูฑะรสก, ศุกร์ใจ เจริญสุข, เฟื่องฟ้า นรพัลลภ, และณิชดา สารถวัลย์แพศย์. (2557). รูปแบบการศึกษาแบบบูรณาการการคิดอย่างเป็นระบบจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 7(1), 39-54.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น. (2560). หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต(ฉบับปรับปรุง 2560). ขอนแก่น: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น.

วัชรี อมรโรจน์วรวุฒิ, วิไลวรรณ วัฒนานนท์, นิระมล สมตัว, จุรี แสนสุข, และเบญจพร ฐิติญาณวิโรจน์. (2562). รูปแบบการจัดการศึกษาบูรณาการที่เน้นกระบวนการโค้ชและการเสริมสร้าง Growth Mindset เพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 9(2), 262-283.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2554). เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิชัย วงษ์ใหญ่, และมารุต พัฒผล. (2557). การโค้ชเพื่อการรู้คิด. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.

สถาบันพระบรมราชชนก. (2556). คู่มือการดำเนินการเพื่อให้เกิดอัตลักษณ์บัณฑิต สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2556. นนทบุรี: ยุทธรินทร์การพิมพ์.

สมควร หาญพัฒนชัยกูร, มกราพันธุ์ จูฑะรสก, และลิลลี่ ศิริพร. (2557). การพัฒนาชุมชนสุขภาวะ โดยใช้นวัตกรรมระบบครอบครัวเสมือน (หนึ่งวิทยาลัย หนึ่งชุมชน). วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 24(1), 67-79.

สมจิตต์ เวียงเพิ่ม, บุญเรียง ขจรศิลป์, และสุนทรา โตบัว. (2562). การพัฒนาระบบประเมินการเรียนการสอนภาคปฏิบัติที่ส่งเสริม พฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 25(2), 41-55.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561 - 2580 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2574.กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Connor, J., & McDermott, I. (2544). หัวใจนักคิด[Systems Thinking / Joseph o'connor & lan Mcdermott] (วีรวุธ มาฆะศิระนนท์, และณัฐพงศ์ เกอมาริ, แปล). กรุงเทพฯ: เอ็กซ์เปอร์เน็ท. (1997)

Senge, Peter. (1993). The fifth discipline: The art & practice of the learning organization. London: Century Business.

Tenko, R., & Marcoulides, G. A. (2006). A first course in structural equation modeling (2 nd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30