ความสัมพันธ์ระหว่างการรู้เท่าทันและการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • อมรรัตน์ ผาละศรี
  • รัตนเพ็ญพร ข่าขันมะลี
  • สุวรรณี มณีศรี
  • อณัญญา ลาลุน
  • ลนาไพร ขวาไทย

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ, การปฏิบัติการพยาบาล, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนที่สำคัญในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา และจากการที่นักศึกษาในปัจจุบันสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย จึงอาจทำให้ไม่ได้พัฒนาทักษะการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของข้อมูล ไม่ตระหนักถึงประโยชน์ของข้อมูลเท่าที่ควรหรืออาจขาดการรู้เท่าทันสื่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาระดับของพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติการพยาบาล และความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมดังกล่าวกับการรู้เท่าทันและการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาพยาบาล ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2-4 ในหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิตของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 158 คน ที่ได้รับการเลือกแบบเจาะจง ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ซึ่งแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ 1.แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป
2.แบบสอบถามการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศ (α =  .76) 3.แบบสอบถามการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (α =  .84) และ 4.แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติการพยาบาล (α =  .89) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก (M = 4.28, SD = 0.57) โดยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับปานกลาง (r(156) = .599, p < .001) และการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับสูง (r(156) = .738, p < .001) สรุปได้ว่านักศึกษาพยาบาลที่ยอมรับและรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศ จะมีพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อปฏิบัติการพยาบาลที่ดี ดังนั้นอาจารย์พยาบาลควรออกแบบการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้รับรู้ประโยชน์และเห็นความสำคัญของพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อปฏิบัติการพยาบาลในอนาคต

References

กมลรัตน์ เทอร์เนอร์, ลัดดา เหลืองรัตนมาศ, สราญ นิรันรัตน์, จิราภรณ์ จันทร์อารักษ, บุญเตือน วัฒนกุล, และทุติยรัตน์ รื่นเริง. (2558). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล ในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(2), 178-193.

กรรณิการ์ รัชอินทร์, และขนิษฐา วรธงชัย. (2562). สมรรถนะของพยาบาลสารสนเทศที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(4), 100-108.

กฤษณพร ประสิทธิ์วิเศษ. (2561). การรู้ทันสื่อ การรู้ทันตนเองกับพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารในสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(1), 200-213.

คณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2564). ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2562.สืบค้นจากhttp://www.mua.go.th/users/tqf-hed/news/FilesNews/FilesNews3/News328072552.pdf

จันทิมา เขียวแก้ว, ศิริธร ยิ่งเรงเริง, และทัศนีย์ เกริกกุลธร. (2557). การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการศึกษาทางการพยาบาล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 34(4), 219-234.

จุไรรัตน์ ดวงจันทร์, จันทิมา แก้วเขียว, พนิตนาฎ ชำนาญเสือ, เยาวลักษณ์ มีบุญมาก, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, พรเลิศ ชุมชัย, . . . ฉัตรทอง จารุพิสิฐไพบูลย์. (2560). ปัจจัยทำนายการรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 11(1), 235-248.

ชเนตตี สยนานนท์. (2555). พฤติกรรมการและปัญหาการใช้อินเตอร์เน็ตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์).มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ชมพู วิพุธานุพงษ์, นิตยา เพ็ญศิรินภา, และพาณี สีตกะลิน. (2559). พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 9(31), 37-44.

ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ, สกุนตลา แซ่เตียว, วรินทร์ลดา จันทวีเมือง, ทิพย์สุคนธ์ กิจรุ่งโรจน์, และจินตวีร์พร แป้นแก้ว. (2563). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 21(41), 67-77.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย จำกัด.

ปราณี อ่อนศรี. (2561). แนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยในวิชาชีพพยาบาลยุคประเทศไทย 4.0.วารสารพยาบาลทหารบก, 19(1), 24-29.

ปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์, สุรีย์ จินเรือง, และวิภาศิริ นราพงษ์. (2560). การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการจัดการศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, 28(2), 183-191.

พนิตนาฎ ชำนาญเสือ, จันทิมา เขียวแก้ว, พรเลิศ ชุมชัย, ธัญญารัศม์ ดวงคำ, ฉัตรทอง จารุพิสิฐไพบูลย์, กฤษณา หงส์ทอง, . . . เยาวลักษณ์ มีบุญมาก. (2559). การรู้สารสนเทศด้านสุขภาพ การรู้สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ด้านสุขภาพและสภาวะสุขภาพของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันบรมราชชนกในกลุ่มเครือข่ายภาคกลาง 2 และเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุด, 9(1), 93-117.

พิชญาภา สาแดง , นงณภัทร รุ่งเนย, รัตนา สิงห์ครูบอน, และพรสุดา ปลอดโปร่ง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลทัศนคติต่อการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 3(3), 177-190.

ไพศาล วรคำ. (2559). การวิจัยทางการศึกษา Education research (พิมพ์ครั้งที่8). มหาสารคาม: ตักศิลาการพิมพ์.

สุปราณี พลธนะ, และนันทกาญจน์ หาญพรม. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักเรียนพยาบาลศาสตร์วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ. วารสารแพทย์นาวี, 44(3), 19-34.

เสาวนีย์ ชูจันทร์, และรณชัย คนบุญ. (2562). การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง: มุมมองการศึกษาสำหรับนักศึกษาพยาบาลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019.สืบค้นจากhttp://blog.bru.ac.th/wp content/uploads/2020/09/TRANSFORMATIVE.pdf

อรทัย เลื่อนวัน. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสรเทศ: กรณีศึกษา กรมการพัฒนาชุมชน ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ (วิทยานิพนธ์ธุรกิจบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology, MIS Quarterly. https://doi.org/10.2307/249008

Larsen, M. H., Heer, H. C., Lærum-Onsager, E., & Gjevjon, E. R. (2021). Technological literacy in nursing education: A scoping review. Journal of Professional Nursing, 36(2), 320-334. https://doi.org/10.1016/j.profnurs.2021.01.008

United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization. (2020). The impact of covid 19 on education insights education at a glance 2020. Retrieved from https://www.oecd.org/education/the-impact-of-covid-19-on-education-insights-education-at-a-glance-2020.pdf

Wood, M. J. (2008). The state of evidence-based practice. Clinical Nursing Research, 17(2), 71-73.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30