ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวล ของบุคคลที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงซึ่งมารับบริการทางวิสัญญีแบบผู้ป่วยนอก

ผู้แต่ง

  • ฉันทนา โสวัตร
  • ขวัญชนก ยศคำลือ
  • พรทิพย์ สำริดเปี่ยม
  • อติภัทร พรมสมบัติ

คำสำคัญ:

การให้ข้อมูล, ความวิตกกังวล, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง, บริการทางวิสัญญีแบบผู้ป่วยนอก

บทคัดย่อ

การลดความวิตกกังวลในผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงซึ่งมารับบริการทางวิสัญญีแบบผู้ป่วยนอก สามารถช่วยให้บุคคลเหล่านั้นปรับตัวต่อภาวะวิกฤติจากสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวลของผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงซึ่งมารับบริการทางวิสัญญีแบบผู้ป่วยนอก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงซึ่งมารับบริการทางวิสัญญีแบบผู้ป่วยนอกครั้งแรก ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคกลาง คัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ แบ่งเป็นกลุ่มเปรียบเทียบและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 ราย กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผน ประกอบด้วย แผนการให้ข้อมูล คู่มือการปฏิบัติตัว และวีดิทัศน์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และมาตรวัดความวิตกกังวลแบบประเมินค่าด้วยสายตา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ การทดสอบทีคู่และการทดสอบทีอิสระ ผลการวิจัย พบว่า  คะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลของกลุ่มทดลอง (M = 38.70, SD = 9.14) ต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (M = 46.73, SD = 5.10), t(58) = 6.018,  p < .001,   d = 1.55) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การเข้าร่วมโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนที่มีการติดตามเป็นระยะสามารถลดความวิตกกังวลในผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงซึ่งต้องเข้ารับบริการทางวิสัญญีแบบผู้ป่วยนอกได้ ดังนั้นพยาบาลควรนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในการเตรียมความพร้อมให้บุคคลที่เป็นความดันโลหิตสูงเพื่อลดความวิตกกังวลก่อนเข้ารับบริการทางวิสัญญีแบบผู้ป่วยนอก

References

ดวงดาว อรัญวาสน์, สิริรัตน์ ตรีพุทธรัตน์, เทพกร สาธิตการมณี, และกชกร พลาชีวะ. (2555). ผลการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว. วิสัญญีสาร, 8(2), 102 – 108.

ตฤณ เสาทองหลาง, และรุ้งระวี นาวีเจริญ. (2560). ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลและการเบี่ยงเบนความสนใจต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่ได้รับการส่งกล้องทางเดินอาหารส่วนบน. วารสารแพทย์นาวี, 44(1), 69 – 89.

นิพนธ์ วาตาดา, และนรลักขณ์ เอื้อกิจ. (2562). ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการฟังดนตรีต่อความวิตกกังวลหลังสวนหลอดเลือดหัวใจของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 25(1), 6 – 24.

เบญจวรรณ พวงเพชร, อุษาวดี อัศดรวิเศษ, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, และกนกรัตน์ พรพาณิชย์. (2559). ประสิทธิผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายแบบผู้ป่วยนอกต่อความวิตกกังวลและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก. วารสารพยาบาลศาสตร์, 34(1), 53 – 62.

ไมตรี ยอดแก้ว, วินีกาญจน์ คงสุวรรณ, และศรีสุดา วนาลีสิน. (2553). การทบทวนวรรณกรรม: แนวทางปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดความวิตกกังวลขณะผ่าตัด และระงับความรู้สึกทาง ช่องน้ำไขสันหลัง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 2(3), 50 – 70.

สมพร คำพรรณ์, อรสา โชคชัยนันท์, และอุบล จังพานิช. (2558). โปรแกรมการเยี่ยมทางโทรศัพท์ในผู้ป่วยนอกที่มารับบริการทางวิสัญญีพยาบาล. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย, 2(1), 45 – 54.

สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2560). ข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาระบบบริการการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2562). ข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาระบบบริการการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ ปี 2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

หน่วยเวชระเบียน โรงพยาบาลพระพุทธบาท. (2562). สถิติผู้รับบริการทางวิสัญญีแบบผู้ป่วยนอก ปี 2561. สระบุรี: โรงพยาบาลพระพุทธบาท.

อวยพร จงสกุล, นารีรัตน์ อยู่สมบูรณ์, และศิริกุล การุณเจริญพาณิชย์. (2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับแบบครบวงจรของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา. วารสารแพทย์เขต 4 – 5, 39(1), 109 – 125.

Bedaso, A., & Ayalew, M. (2019). Preoperative anxiety among adult patients undergoing elective surgery: A prospective survey at a general hospital in Ethiopia. Patient Safety in Surgery, 13(18), 1-8.

Chunhui, L., Ju-xiang, L., Hai, S., Weitong, H., Qiang, P., & Xioshu, C. (2013). Preoperative anxiety is associated with higher blood pressure in patients waiting for surgery. Heart (British Cardiac Society), 99(Supplement 1), A66-A66.

Goldfarb, C. A., Bansal, A., & Brophy, R. H. (2017). Ambulatory surgical centers: A review of complications and adverse events. Journal of the Amerecan Acdademy of Orthopedic Surgeons, 25(1), 12-22.

Griffiths, J., Puttinoi, S., & Pongsuksri, M. (2014). The General Practitioner Assessment of Cognition; GP-COG (Thai version): Validity and reliability. Poster session presented at 9th Pan-Pacific Conference on Rehabilitation cum, 21st Annual Congress of Gerontology, Hong Kong.

International Association for Ambulatory Surgery. (2013). Ambulatory Surgery handbook. [cite 2020 May 4th]. Retrieved from http://www.iaas-med.com/files/Journal/19.2/ AMBSURG_19_2_IAAS10thCongress.pdf

Jiwanmall, M., Jiwanmall, S. A., Williams, A., Kamakshi, S., Sugirtharaj, L., Poornima, K., & Jacob, K. S. (2020). Preopertive anxiety in adult patient undergoing day care surgery: Prevalence and associated factors. Indian Journal of Psychological Medicine, 42(1), 87-92.

Kindler, C. H., Harms, C., Amsler, F., Ihde-school, T., & Scheidegger, D. (2000). The visual analog scale allows effective measurement of preoperative anxiety and detection of patients’ anesthetic concerns. Anesthesia & Analgesia, 90(3), 706-712.

Labaste, F., Ferre, F., Combelles, H., Rey, V., Foissac, J.C., Senechal, A., . . . Minville, V. (2019). Validation of a visual analogue scale for the evaluation of the postoperative anxiety: A prospective observational study. Nursing Open, 6, 1323-1330.

Lee, J. H. (2017). Anesthesia for ambulatory surgery. Korean Journal of Anesthesiology, 70(4), 398-406.

Mulugeta, H., Ayana, M., Sintayehu, M., Dessie, G., & Zewdu T. (2018). Preoperative anxiety and associated factors among adult surgical patients in Debre Markos and Felege Hiwot referral hospitals, Northwest Ethiopia. BMC Anesthesiology, 18(1), 1-9

Musa, A., Movahedi, R., Wang, J. C., Safani, D., Cooke, C., Hussain, S. F., & Gucev, G. (2020). Assessing and reducing preoperative anxiety in adult patients: A cross-sectional study of 3661 members of the American Society of Anesthesiologists. Journal of Clinical Anesthesia, 65, 1-2.

Nigussie, S., Belachew, T., & Wolancho, W. (2014). Predictors of preoperative anxiety among surgical patients in Jimma University Specialized Teaching Hospital, South Western Ethiopia. BioMed Central Surgery, 14(67), 1-10.

Nilsson, U., Dalhberg, K., & Jaensson, M. (2019). Low preoperative mental and physical health is associated with poorer postoperative recovery in patients undergoing day surgery: A secondary analysis from randomized controlled study. Journal of Advanced Nursing, 50(12), 1630-1638.

Roy, S. C. (2009). The Roy adaptation model (3rd ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson.

Srisawasdi, S., Werawataganon, T., Punjasawadwong, Y., Pengpol, W., Kongrit, P., Rodanant, O., & Tanudsintum, S. (2007). The Thai anesthesia incidents study (THAI study) of ambulatory anesthesia: Part I: Method, geographic distribution and population. Journal of the Medical Association of Thailand, 90(8), 1558-1564.

Wetsch, W. A., Pircher, I., Lederer, W., Kinzl, J. F., Traweger, C., Heinz-Erian, P., & Benzer, A. (2009). Preoperative stress and anxiety in day-care patients and in patients undergoing fast-track surgery. British Journal of Anesthesia, 103(2), 199-205.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30