ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมือง
คำสำคัญ:
การจัดการตนเอง, คุณภาพชีวิต, ผู้ป่วยโรคเรื้อรังบทคัดย่อ
ความสามารถในการจัดการตนเองและคุณภาพชีวิตเป็นเป้าหมายสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้มีส่วนร่วมการวิจัยเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือไตเสื่อมระยะที่ 3 ขึ้นไป ในเขตเทศบาลเมืองแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสระบุรี ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 118 คน เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถาม ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลและพฤติกรรมสุขภาพ การจัดการตนเอง และเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ เก็บข้อมูลเดือนกันยายน - พฤศจิกายน 2560 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยโรคเรื้อรังมี 1) คะแนนเฉลี่ยการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 69.01, SD = 9.94) 2) รอบเอว การรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย มีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (r (116) = -0.18, p < .05 , r (116) = -0.21,
p < .05), และ r (116) = 0.39, p < .05) 3) ผู้เข้าร่วมการวิจัยส่วนมาก (ร้อยละ 55.08) มีคะแนนคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี 4) เพศ การศึกษา รายได้ และการจัดการตนเอง มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (r (116) = -.18, p < .05, r (116) = .19, p < .05, r (116) = .22, p < .05 และ r (116) =.22, p < .05) ดังนั้นจึงควรส่งเสริมการจัดการตนเองที่เหมาะสมอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการควบคุมรอบเอว การรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย เพราะมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
References
คัทลียา วสุธาดา, ลลิตา เดชาวุฒิ, นันทวัน ใจกล้า, และสายใจ จารุจิตร. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า, 29(2), 47 – 59.
ปัฐยาวัชร ปรากฎผล, เยาวดี สุวรรณนาคะ, อรุณี ไชยฤทธิ์, บุญสืบ โสโสม, สราวุฒิ สีถาน, มยุรี สร้อยศรีสวีสดิ์, และสำราญ จันทร์พงษ์. (2558). คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีและไม่มีภาวะแทรกซ้อนและแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. สืบค้นจาก https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4371?locale-attribute=th
มรุต จิรเศรษฐสิริ. (2561). สตรีไทย ไต strong. สำนักงานสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นจาก https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/07/108117/
วิชัย เอกพลากร. (2559). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคดีไซน์.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560 (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี: บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด.
สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย. (2561). เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเรื่องระบบและกลไกการป้องกันและควบคุมโรคในพื้นที่เขตเมืองโดยสถาบันป้องกันและควบคุมโรคเขตเมือง. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 21 – 22 มิถุนายน 2561. กรุงเทพมหานคร: โรงแรมเซ็นทราฯ ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2559). คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2560 การบริหารงบบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง เล่มที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดแสงจันทร์การพิมพ์.
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center). (2561). กลุ่มรายงานมาตรฐาน ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ (NCD DM,HT,CVD). สืบค้นจากhttps://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b
Bourdel-Marchasson, I., Druet, C., Helmer, C., Eschwege, E., Lecomte,P., Le-Goff, M., . . . Fagot-Campagna, A. (2013). Correlates of health-related quality of life in French people with type 2 diabetes. Diabetes Research and Clinical Practice, 101(2), 226-235.
Chin, Y. R., Lee, I. S., & Lee, H. Y. (2014). Effects of hypertension, Diabetes, and/or cardiovascular disease on health-related quality of life in elderly korean individuals: A population-based cross-sectional survey. Asian Nursing Research, 8(4), 267-273.
Donald, A. (2014). What is quality of life? Hayward Medical Communication. Retrieved from http://www.evidence-based-medicine.co.uk
Grady, P. A., & Gough, L. L. (2014). Self-management: A comprehensive approach to management of chronic conditions. American Journal of Public Health, 104(8), e25–e31.
Green-Schulman, D., Jaser, S. S., Park, C., & Whittemore, R. (2016). A meta-synthesis of factors affecting self-management of chronic illness. Journal of Advance Nursing, 72(7), 1469–1489.
Kanfer, F. H., & Gaelick-Buys, L. (1991). Self-management methods. In F. H. Kanfer, & A. Goldstein (Eds.). Helping People change: A textbook of methods (pp.305 – 360). New York: Pergamon Press.
Lee, S.-K., Son, Y.-J., Kim, J., Kim, H.-G., Lee, J.-I., Kang, B.-Y., … Lee, S. (2014). Prediction model for health-related quality of life of elderly with chronic diseases using machine learning techniques. Healthcare Informatics Research, 20(2), 125-134.
O’Connor, P. J., Narayan, K. M. V., Anderson, R., Feeney, P., Fine, L., Ali, M. K., . . . Sullivan, M. D. (2012). Effect of intensive versus standard blood pressure control on depression and health-related quality of life in type 2 diabetes. Diabetes Care, 35(7), 1479-1481.
Prazeres, F., & Figueiredo, D. (2014). Measuring quality of life of old type 2 diabetic patients in primary care in Portugal: A cross-sectional study. Journal of Diabetes & Metabolic Disorders, 13(68), 2-6.
Spasic, A., Radovanovic, R. V., Dordevic, A. C., Stefanovic, N., & Cvetkovic, T. (2014). Quality of life in type 2 diabetic patients. Scientific Journal of the Faculty of Medicine, 31(3), 193-200.
World Health Organization. (2013). Global action plan for the prevention and control of non-communicable diseas 2013 – 2020. Geneva: World Health Organization. Retrieved from https://www.who.int/nmh/events/ncd_action_plan/en/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว