การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลเพื่อป้องกันอาการทรุดลงทางคลินิก ในผู้ป่วยที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อ

ผู้แต่ง

  • คนึงนิจ ศรีษะโคตร กลุ่มการพยาบาล, โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • วไลพร ปักเคระกา กลุ่มการพยาบาล, โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • จุลินทร ศรีโพนทัน กลุ่มการพยาบาล, โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • นิสากร วิบูลชัย วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม, คณะพยาบาลศาสตร์, สถาบันพระบรมราชชนก
  • สุคนธ์ทิพย์ ปัตติทานัง กลุ่มการพยาบาล, โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • รุ่งนภา ธนูชาญ กลุ่มการพยาบาล, โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • พุทธกัญญา นารถศิลป์ กลุ่มการพยาบาล, โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • เพิ่มพูน ศิริกิจ กลุ่มการพยาบาล, โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • ชวมัย ปินะเก กลุ่มการพยาบาล, โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

คุณภาพการพยาบาล, อาการทรุดลงทางคลินิก, ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ

บทคัดย่อ

ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (Sepsis) มีการดำเนินของโรครวดเร็วและรุนแรง การป้องกันอาการทรุดลงทางคลินิกจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลเพื่อป้องกันอาการทรุดลงทางคลินิกในผู้ที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อ ผู้ร่วมวิจัยคือ ผู้ที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อ จำนวน 112 คน และพยาบาลแผนกผู้ป่วยฉุกเฉินและหอผู้ป่วยสามัญ จำนวน 99 คน  ดำเนินการ 3 ระยะคือ 1) การวิเคราะห์สถานการณ์ 2) การพัฒนา และ 3) การประเมินผล  เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แนวทางการสนทนากลุ่ม แบบสังเกตอย่างมีส่วนร่วม แบบบันทึกอาการทรุดลงทางคลินิก แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติการพยาบาล และแบบสอบถามความคิดเห็นของพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบ ปัญหาและความต้องการพัฒนา 5 ด้าน คือ 1) การปฏิบัติการพยาบาล 2) การพัฒนาสมรรถนะพยาบาล 3) การบริหารจัดการความเสี่ยง 4) ระบบส่งต่อ และ 5) การให้ข้อมูล  และได้กระบวนการพัฒนา 4 ระยะ คือ 1) สร้างความตระหนักและความต้องการพัฒนา 2) สร้างทีมพัฒนา 3) นำร่องการพัฒนา และ 4) ขยายแนวร่วมการพัฒนา ด้านผลลัพธ์การพัฒนาพบว่า 1) มีผลลัพธ์ของปฏิบัติการพยาบาลดีขึ้น 2) การเกิดอาการทรุดลงทางคลินิกลดลง  และ 3) พยาบาลมีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนสูงขึ้น อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p < .001) และส่วนมาก (ร้อยละ 82.82) มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการพยาบาลในระดับดี โดยสรุปแล้วคุณภาพการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นสามารถลดการเกิดอาการทรุดลงทางคลินิกในผู้ที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อได้ จึงควรประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อในบริบทอื่น ๆ

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงชนิด community-acquired. สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th

คณะทำงานพัฒนาระบบบริการทางด่วนพิเศษสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตรุนแรง เขตสุขภาพที่ 7. (2559). แนวทางการดูแลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อรุนแรง. ขอนแก่น: เพ็ญพรินติ้ง จำกัด.

ปัญญา เถื่อนด้วง, และนาตยา คำสว่าง. (2562). การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง. พุทธชินราชเวชสาร, 36(2), 180-196.

ปฏิพร บุณยพัฒน์กุล. (2558). ประสิทธิผลของระบบการบริการสุขภาพฉุกเฉินต่ออาการทางคลินิกในผู้ป่วย ที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร.

ฑิตยา วาระนัง. (2562). ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงรายเวชสาร, 11(1), 1-8.

ยุวดี เทียมสุวรรณ, อรชร มาลาหอม, ธีรนุช ยินดีสุข, ประภัสสร ควาญช้าง, และนุสรา ประเสริฐศรี. (2560). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในผู้ป่วยหนัก โดยใช้การจัดการรายกรณี ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(1), 184-193.

โรงพยาบาลมหาสารคาม กลุ่มการพยาบาล. (2563). รายงานความเสี่ยง. มหาสารคาม: โรงพยาบาลมหาสารคาม.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2561). เป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วย ของประเทศไทย พ.ศ. 2561 Patient Safety Goals: SIMPLE Thailand 2018. นนทบุรี: เฟมัส แอนด์ซัคเซสฟูล.

สมพร รอดจินดา, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, และวิมลทิพย์ พวงเข้ม. (2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อกระแสเลือด หอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลน่าน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(1), 120-134.

Bunyaphatkun, P., Sindhu, S., Davidson, P. M., Utriyaprasit, K., Viwatwongkasem, C., & Chartbunchachai, W. (2017). Factors influencing clinical deterioration in persons with sepsis. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 21(2), 135-147. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/PRIJNR/article/view/71287

Case Management Society of America (CMSA). (2016). CMSA's standards of practice for case management, revised 2016. Retrieved from http://www.naylornetwork.com/cmsatoday/articles/print.asp?aid=400028

Evans, L., Rhodes, A., Alhazzani, W., Antonelli, M., Coopersmith, C. M., French, C., . . . Levy, M. (2021). Surviving sepsis campaign: International guidelines for management of sepsis and septic shock 2021. Intensive Care Medicine, 47(11), 1181–1247.

Guerra, W. F., Mayfield, T. R., Meyers, M. S., Clouatre, A. E., & Riccio, J. C. (2013). Early detection and treatment of patients with severe sepsis by prehospital personnel. The Journal of Emergency Medicine, 44(6), 1116-1125.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1992). The action research planner (3rd ed.). Geelong: Deakin University Press.

Powell, S. K., & Tahan, H. A. (2010). Case management: A practical guide for education and practice (3nd ed.). Philadelphia: F.A Davis company.

Quinten, V. M., van Meurs, M., Wolffensperger, A. E., Ter Maaten, J. C., & Ligtenberg, J. (2018). Sepsis patients in the emergency department: Stratification using the clinical impression score, predisposition, infection, response and organ dysfunction score or quick sequential organ failure assessment score?. European Journal of Emergency Medicine: Official Journal of the European Society for Emergency Medicine, 25(5), 328-334.

Rhee, C., Jones, T. M., Hamad, Y., Pande, A., Varon, J., O'Brien, C., . . . Centers for Disease Control and Prevention (CDC) Prevention Epicenters Program. (2019). Prevalence, underlying causes, and preventability of sepsis-associated mortality in US acute care hospitals. The Journal of the American Medical Association Network Open, 2(2), e187571.

Rhodes, A., Evans, L. E., Alhazzani, W., Levy, M. M., Antonelli, M., Ferrer, R., . . . Dellinger, R. P. (2017). Surviving sepsis campaign: International guidelines for management of sepsis and septic shock: 2016. Intensive Care Medicine, 43(3), 304–377.

Royal College of Physicians. (2012). National Early Warning Score (NEWS): Standardising the assessment of acute illness severity in the NHS. Report of a working party. London: RCP.

The World Health Organization [WHO]. (2020). Sepsis. Retrieved from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/sepsis

Tsai, J. C., Cheng, C. W., Weng, S. J., Huang, C. Y., Yen, D. H., & Chen, H. L. (2014). Comparison of risks factors for unplanned ICU transfer after ED admission in patients with infections and those without infections. The Scientific World Journal, 2014, 102929. https://doi.org/10.1155/2014/102929

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30