ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารของเด็กนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • เบญจวรรณ ช่วยแก้ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • เพ็ญนภา เพ็ชรเล็ก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สร้อยสุวรรณ พลสังข์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อรอนงค์ ชูหอยทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

โปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการเลือกซื้ออาหาร, เด็กนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย

บทคัดย่อ

การบริโภคอาหารที่เพียงพอและได้สารอาหารครบถ้วนจะส่งเสริมให้บุคคลมีภาวะโภชนาการที่ดี การวิจัยกึ่งทดลองนี้ ศึกษาแบบสองกลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ (The Health Literacy Enhancement Program [HLEP]) ต่อพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารของเด็กนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดตรัง ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นเด็กนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย  ปีการศึกษา 2563 จำนวน 34 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละเท่า ๆ กัน ด้วยการจัดเข้าคู่กันด้านเพศ อายุ และระดับการศึกษา โปรแกรมพัฒนาขึ้นตามแนวคิดทฤษฎีความรอบรู้ด้านสุขภาพ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 สอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล และส่วนที่ 2 สอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหาร เครื่องมือทั้งหมดผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน โดยแบบสอบถามได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์มากกว่า .05 ทุกข้อ  และส่วนที่ 2 มีความเที่ยง คือ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบากเท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรมเด็กนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารสูงขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรม ( t(16) = 16.619,  p <  .001, d = 4.62) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t(32) = 2.292,  p <  .001, d = 3.86)  สรุปได้ว่าโปรแกรม HLEP สามารถส่งเสริมพฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารของเด็กนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายได้   จึงควรนำไปปรับใช้เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพอื่น ๆ ต่อไป

References

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, และดวงเนตร ธรรมกุล. (2558). การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในประชากรผู้สูงวัย. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 9(2), 1-8.

จารุณี นุ่มพูล. (2558). โรคอ้วนในเด็กวัยเรียน: บทบาทพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพ.วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 8(2), 1-12 .

เดชา ศิริเจริญ. (2555). เด็กกับอิทธิพลของครอบครัว. วารสารนิติศาสตร์, 3, 12-17.

พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์. (2557). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีน้ำหนักเกิน ต.ลําไทร อ.ลําลูกกา จ.ปทุมธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 20(1), 30-43.

มโนลี ศรีเปารยะ เพ็ญพงษ์. (2559). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มนักเรียนและนักศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ, 3(1), 109-126.

รพีพัฒน์ นาคีภัย. (2558). พฤติกรรมการซื้ออาหารของประชาชนในระดับครัวเรือน ตําบลสาวะถี อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตศึกษา, 12(56), 115-124.

รุ่งฟ้า โต๊ะถม. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารนอกรั้วโรงเรียนของนักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 8(3), 781-792.

วิโรจน์ ตระกูลสุขสันต์. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารสําเร็จรูปแช่แข็งจากร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ, 3(2), 431-452.

วิชุตา สมจิตร. (2558). พฤติกรรมในการเลือกซื้ออาหารพร้อมรับประทานจากร้านสะดวกซื้อ และภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 22(2), 85-105.

วีรญา วงษ์จินดา. (2552). การศึกษาการแก้ปัญหาภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ของเด็กวัยอนุบาลในโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 4(2), 426-433.

สุนีย์ สหัสโพธิ์. (2560). โภชนาการพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. (2557). แนวทางการควบคุมป้องกันภาวะอ้วนในเด็กวัยเรียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักงานโภชนาการ กรมอนามัย. (2562). เด็กไทยอ้วน. สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/microsite/tag/5/ncds

สำนักงานโภชนาการ กรมอนามัย. (2564). รายงานผลการวิเคราะห์ตามตัวชี้วัด 1.11 ร้อยละของเด็กอายุ 6-14 ปีสูงดีสมส่วน สำนักโภชนาการรอบ 5 เดือนแรกปีงบประมาณ 2564. สืบค้นจาก https://nutrition2.anamai.moph.go.th/web-upload/6x22caac0452648c8dd1f534819ba2f16c/filecenter/file/doc/2564-1.11.pdf

อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, ฤทัยวรรณ แก้วมาลัย, เนตรนภา เครือสง่า, นิศาชล ตันติภิรมย์, ปริญญาพร ชาวบ้านเกาะ, และเบญจรัตน์ เอี่ยมสะอาด. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องฉลากโภชนาการในเด็กวัยเรียน: กรณีศึกษาจังหวัดเพชรบุรี.วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 6(2), 70-82.

Erikson, E. H. (1959). Identity and the life cycle. Part One: Psychological issues. New York: International Universities Press.

Nutbeam, D. (2008). Defining, measuring and improving health literacy. Professor of Public Health Southampton, England: University of Southampton.

Hindin, T. J., Contento, I. R., & Gussow, J. D. (2004). A media literacy nutrition education curriculum for head start parents about the effects of television advertising on their children’s food requests. Journal of the American Dietetic Association, 104(2), 192-198.

Kotler, P. (1997). Marketing Management : Analysis, planning, implementation, and control (9th ed.). New Jersey: A Simon & Schuster company.

Laska, M. N., Larson, N. I., Neumark-Sztainer, D., & Story, M. (2012). Does involvement in food preparation track from adolescence to young adulthood and is it associated with better dietary quality? Retrieved from a 10-year longitudinal study. Public Health Nutrition, 15(7), 1,150-1,158.

Piaget, J. (1973). The moral judgement of the child. London: Routledge and Kegan Paul.

Skinner, B. F. (1990). Science and human behavior. New York: Macmillan.

Vidgen, H. A., & Gallegos, D. (2014). Defining food literacy and its components. Appetite, 76, 50-59.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30