วิธีจัดลำดับความสำคัญของปัญหาของภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน และการรักษาพยาบาลขั้นต้น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • อารีย์รัตน์ เปสูงเนิน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • นฤมล เปรมาสวัสดิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา, การวินิจฉัยชุมชน, วิธีของภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและการรักษาพยาบาลขั้นต้น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

บทคัดย่อ

วิธีจัดลำดับความสำคัญของปัญหา เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดขั้นตอนหนึ่งของ กระบวนการวินิจฉัยชุมชน  ทั้งนี้ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและการรักษาพยาบาลขั้นต้น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา  ได้จัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติเรื่อง วิธีจัดลำดับความสำคัญของปัญหา สำหรับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4  เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานในชุมชน  แต่ในระหว่างการฝึกปฏิบัติงานพบว่านักศึกษาจัดลำดับความสำคัญของปัญหาได้ยากเมื่อปัญหาแต่ละปัญหามีคะแนนใกล้เคียงกัน ซึ่งทำให้ถูกจัดอยู่ในลำดับเดียวกัน ยิ่งไปกว่านั้นระหว่างที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 ในแหล่งฝึกพบว่านักศึกษาไม่สามารถเก็บข้อมูลเพื่อประกอบการวินิจฉัยชุมชนได้อย่างครอบคลุม ดังนั้นภาควิชาฯ จึงได้ปรับแผนการฝึกโดยจัดให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานในชุมชนที่มีขนาดเล็กลง  และพัฒนารูปแบบการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยใช้ชื่อว่า  วิธีจัดลำดับความสำคัญของปัญหาของภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและการรักษาพยาบาลขั้นต้น  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา ซึ่งเน้นการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาของตนเอง วิธีนี้สามารถใช้ในชุมชนที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก  จึงเหมาะสำหรับนักศึกษาพยาบาลและพยาบาลพี่เลี้ยงเมื่อฝึกปฏิบัติงานด้านการวินิจฉัยชุมชน  บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ซึ่งมีเกณฑ์พิจารณา 4 เกณฑ์คือ คือ  1.ขนาดของปัญหา 2.ความรุนแรงของปัญหา 3.ความยากง่ายต่อการแก้ปัญหา  และ 4.ความตระหนักในการแก้ปัญหาของประชาชน 

References

ณิชชาภัทร ขันสาคร. (2561). การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสุขภาพชุมชน. วารสารสุขศึกษา, 41(2), 1-18.

เดชา ทําดี, และวิลาวัณย์ เตือนราษฎร์. (2555). การวินิจฉัยชุมชนและการจัดลําดับความสําคัญของปัญหา. ใน ศิวพร อึ้งวัฒนา, และพรพรรณ ทรัพย์ไพบูลย์กิจ (บรรณาธิการ), การพยาบาลชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 1, น. 89-104). เชียงใหม่: ครองช่างพริ้นท์ติ้ง จำกัด.

เดชา ทำดี, วชิระ สุริยะวงศ์, และนพมาศ ศรีเพชรวรรณดี. (2563). กระบวนการพยาบาลชุมชน: การวินิจฉัยปัญหาสุขภาพชุมชนและการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา. ใน ศิวพร อึ้งวัฒนา, และกัลยาณี ตันตรานนท์ (บรรณาธิการ), แนวคิดและหลักการพยาบาลชุมชน (น. 215-240). เชียงใหม่: สมาร์ทโคตติ้งแอนเซอร์วิส.

บุญชัย ภาละกาล. (2557). การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ในกระบวนการดำเนินงานอนามัยชุมชน บทเรียนในการนำทฤษฎีสู่การฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาลในชุมชน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 24(1), 1-11.

พรฤดี นิธิรัตน์, และสายใจ จารุจิตร. (2559). กระบวนการพยาบาลกับการดูแลสุขภาพชุมชน. นนทบุรี: ธนาเพลสจำกัด.

ภาควิชาบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2539). การวางแผนงาน/โครงการสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: ภาควิชาบริหารสาธารณสุข.

ศิวพร อึ้งวัฒนา. (2560). การพยาบาลชุมชน : กระบวนการพยาบาล. เชียงใหม่: สิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์สมาร์ทโคตติ้งแอนด์เซอร์วิส.

Boxmeer, N., & Thesenvitz, J. N. (2010). Priority Setting Process Checklist (PSPC). Retrieved from https://www.publichealthontario.ca/-/media/documents/P/2014/priority-setting-process.pdf

Issel, L. M., & Wells, R. (2018). Health program planning and evaluation: A practical, systematic approach for community health (4th ed.). Burlington, MA: Jones & Bartlett Learning.

Sousa, F. A. M. R., Goulart, M. J. G., Braga, A. M. S., Medeiros, C. M. O., Rego, D. C. M., Vieira, F. G., . . . Loura, M. M. P. (2017). Setting health priorities in a community: A case example. Rev Saude Publica, 51(11), 1-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-05