การวิเคราะห์สถานการณ์การบริหารความเสี่ยงของ คลินิก หู คอ จมูก โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

ผู้แต่ง

  • สุชานาฎ มูสิการัตน์ สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ศศิธร ลายเมฆ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์สถานการณ์, การบริหารความเสี่ยง, คลินิกหู คอ จมูก

บทคัดย่อ

การบริหารความเสี่ยงเป็นเครื่องมือสำคัญที่นำมาใช้พัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การบริหารความเสี่ยงของคลินิก หู คอ จมูก ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ประชากรเป้าหมายเป็นผู้ปฏิบัติงานทั้งหมดในคลินิก จำนวน 31 คน จำแนกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่  1)  แพทย์ด้านหู คอ จมูก ที่ปฏิบัติงานในทีมนำในการดูแลผู้ป่วยจำนวน 10 คน 2) พยาบาลวิชาชีพจำนวน 4 คน 3) บุคลากรที่มิใช่พยาบาลวิชาชีพจำนวน 12 คน  และ 4) บุคลากรห้องตรวจการได้ยินจำนวน 5 คน  เก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง และวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งบันทึกอุบัติการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นเอกสาร คือเอกสารที่ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์  ได้แก่ เป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง เช่น รายงานการทบทวนอุบัติการณ์ และถูกจัดทำขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2561- พ.ศ. 2563  แนวคำถามการสนทนากลุ่มได้รับการตรวจความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน มีค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์เท่ากับ 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การบริหารความเสี่ยงประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ  โครงสร้าง กระบวนการ และผลลัพธ์ ในด้านโครงสร้าง บุคลากรส่วนใหญ่มีความรู้และความสามารถในการบริหารความเสี่ยง และมีความเข้าใจและตระหนักถึงความเสี่ยงของผู้ป่วย  ในด้านกระบวนการ บุคลากรในคลินิกมีกระบวนการบริหารความเสี่ยงครบ 5 ขั้นตอน และด้านผลลัพธ์ มีรายงานอุบัติการณ์ 3 ปี  (พ.ศ. 2561-2563) รวม 60 ครั้ง ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำผลการวิจัยที่ได้ไปพัฒนารูปแบบบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพ  คือ  เพิ่มอัตรากำลังให้เหมาะสมกับงานที่เพิ่มขึ้น พัฒนาทักษะการรายงานอุบัติการณ์ผ่านคอมพิวเตอร์ เพิ่มช่องทางการสื่อสารของทีมทำงาน และพัฒนาคู่มือการบริหารความเสี่ยงให้มีความสอดคล้องกับงาน

References

งานเวชระเบียน. (2561). สถิติผู้ป่วยนอก ปี 2561. สงขลา: โรงพยาบาลสงขลานครินทร์.

งานเวชระเบียน. (2562). สถิติผู้ป่วยนอก ปี 2562. สงขลา: โรงพยาบาลสงขลานครินทร์.

งานเวชระเบียน. (2563). สถิติผู้ป่วยนอก ปี 2563. สงขลา: โรงพยาบาลสงขลานครินทร์.

จันทร์ธิมา เพียรธรรม. (2561). การพัฒนากระบวนการลดความคลาดเคลื่อนทางยาในโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ (วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

จิรัชยา ศิวาวุธ, ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา, และปราโมทย์ ทองสุข. (2563). ทักษะนอกเหนือจากทักษะวิชาชีพที่จำเป็นต่อความปลอดภัยผู้ป่วยของพยาบาลห้องผ่าตัดโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ประเทศไทย. พยาบาลสาร, 47(4), 460-471.

ฉันทิกา บัณฑิตเลิศรักษ์, ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา, และนงนุช บุญยัง. (2565). องค์ประกอบการปฏิบัติงานร่วมกันของสหวิชาชีพในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ประเทศไทย. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 9(1), 186-198.

ผ่องพรรณ จันธนสมบัติ, นันธิดา พันธุศาสตร์, และวลัยพร นันท์ศุภวัฒน์. (2556). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างการเรียนรู้ต่อความรู้และทัศนคติของทีมสุขภาพและทีมสนับสนุนในการบริหารระบบความเสี่ยง โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกฉียงเหนือ, 31(3), 79-89.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2558). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองศิริราชสมบัติ 60 ปี (ภาษาไทย ). นนทบุรี: หนังสือดีวัน.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2561). New HA Standards: Risk management through risk register. กรุงเทพฯ: หนังสือดีวัน.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2562). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ (ฉบับที่ 4). กรุงเทพฯ: หนังสือดีวัน.

สำรี ชมบริสุทธิ์, เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล, และอภิรดี นันท์ศุภวัฒน์. (2563). การวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วย หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. พยาบาลสาร, 47(2), 453-462.

สุภากิจ ไชยภูมิ, โสเพ็ญ ชูนวน, และวรรณา อังคสุวรรณ. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริหารความเสี่ยงของพยาบาลวิชาชีพ: กรณีศึกษาโรงพยาบาลหาดใหญ่. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 31(2), 93-104.

Davenport, D. L., Henderson, W. G., Mosca, C. L., Khuri, S, F., & Mentzer, R. M. Jr. (2007). Risk-adjusted morbidity in teaching hospitals correlates with reported levels of communication and collaboration on surgical team but not with scale measure of teamwork climate. Journal of the American College of Surgeons, 205(6), 778-784.

Dlugacz, D. Y. (2017). Introduction to health care quality: Theory method and tools (1st ed.). San Francisco, CA: Jossey-Bass.

Donabedian, A. (2005). Evaluating the quality of medical care. The Milbank Quarterly, 83(4), 691-729.

Force, M. V., Deering, L., Hubee, J., Anderson, M., Hageman, B., Cooper-Hahn, M., & Peter, W. (2006). Effective strategies to increase reporting of medication errors in hospitals. The Journal of Nursing Administration, 36(1), 34-41. doi: 10.1097/00005110-200601000-00009

Guba, E. G., & Lincoln, Y. S. (1989). Fourth generation evaluation. Newbury Park, CA: Sage.

Mwachofi, A., Walston, S. L., & Al-Omar, B. A. (2011). Factors affecting nurses' perceptions of patient safety. International Journal of Health Care Quality Assurance, 24(4), 274–283. http://dx.doi.org/10.1108/09526861111125589

O’Daniel, M., & Rosenstein, H. A. (2008). Professional communication and team collaboration. In R. G. Hughes (Ed.), Patient safety and quality: Evidence-based handbook for nurses (pp. 1-14). Rockville, MD: Agency for Healthcare Research and Quality.

Ridelberg, M., Roback, K., & Nilsen, P. (2014). Facilitators and barriers influencing patient safety in Swedish hospitals: A qualitative study of nurses’ perceptions. BMC Nursing, 13(23). http://dx.doi.org/10.1186/1472-6955-13-23

Rosenberg, K. (2019). RN shortages negatively impact patient safety. American Journal of Nursing, 119(3), 51. http://dx.doi.org/10.1097/01.NAJ.0000554040.98991.23

Twigg, D., Duffieldc, C., Bremnerd, A., Rapleye, P., & Finnf, J. (2011). The impact of the nursing hours per patient day (NHPPD) staffing method on patient outcomes: A retrospective analysis of patient and staffing data. International Journal of Nursing Studies, 48(5), 540-548. http://dx.doi.org/10.1016/j.ijnurstu.2010.07.013

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-24