ความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง การพยาบาลมารดาและทารก

ผู้แต่ง

  • พัชรินทร์ วิหคหาญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • นิศากร เยาวรัตน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • รุ่งทิพย์ ไชยโยยิ่งยงค์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนการสอน, สถานการณ์จำลอง, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนการสอนโดยสถานการณ์จำลองช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกจากสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับสภาพการณ์จริงมากที่สุด ส่งผลให้นักศึกษามีความพร้อมสำหรับการปฏิบัติการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ทั้งในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอดได้  การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง ผู้เข้าร่วมการวิจัยได้รับคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ เป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ของวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคกลาง จำนวน 89 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ สถานการณ์จำลองเรื่องการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ขณะคลอด ผู้วิจัยพัฒนาเก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบากเท่ากับ .98 ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง ภาพรวมอยู่ใน ระดับมากที่สุด (M = 4.24, SD = 0.68)  โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ใช้ข้อมูลจากสถานการณ์จำลองที่เรียนรู้มาเป็นฐานในการคิดวิเคราะห์และมีเหตุผลประกอบการปฏิบัติที่เชื่อถือได้  (M = 4.35, SD = 0.57) และ การสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองทำให้เข้าใจการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมในการวางแผนงานร่วมกับทีมสุขภาพได้มากขึ้นเหมาะสม (M = 4.35, SD = 0.64) การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองสามารถนำมาใช้ในการเตรียมความพร้อมก่อนฝึกภาคปฏิบัติวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา และทารกและการผดุงครรภ์ แก่นักศึกษาภายใต้การนิเทศที่ผู้สอนมีการเตรียมความพร้อม และกระตุ้นให้นักศึกษาพยาบาลเกิดสะท้อนคิดอย่างเป็นเหตุผล

References

จิรานุวัฒน์ ชาญสูงเนิน. (2564). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง: การศึกษาพยาบาล. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 14(1), 145-153.

ดวงฤทัย บัวด้วง, จำปี เกรนเจอร์, จิราภรณ์ ปั้นอยู่, และจงใจ จงอร่ามเรือง. (2563).ความพึงพอใจ และ ความมั่นใจในตนเอง ในการพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวของนักศึกษา พยาบาลหลังการเรียนรู้ด้วยการใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง. วารสารรามาธิบดี, 26(3), 385-400.

นิตยา สุขแสน. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพการทำคลอดครั้งแรกของนักศึกษาพยาบาลทหารอากาศ. วารสารแพทยสารทหารอากาศ, 64(3), 89-95.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา: มาตรา 22 ราชกิจจานุเบกษา, 116(74ก), 1-28.

มาลี คำคง, ผาณิต หลีเจริญ, ยุวนิดา อารามรมย์, และอริสา จิตต์วิบูลย์. (2559). ผลของการใช้สถานการณ์จำลองต่อความมั่นใจในความสามารถ ของตนเองในการดูและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับผู้รับบริการวิกฤตฉุกเฉินของนักศึกษาพยาบาล. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและสาธารณสุขภาคใต้, 3(3), 52-64.

วงเดือน สุวรรณคีรี, อรพิน จุลมุสิ, และฐิติอาภา ตั้งค้าวานิช. (2559). การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองสำหรับนิสิตนักศึกษาพยาบาล, วารสารพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 28(2), 1-14.

วรรวิษา สำราญเนตร, และนิตยา กออิสรานุภาพ. (2562). ความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนแบบใช้สถานการณ์จำลอง ในการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อคของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 22(1), 64-75.

วรางคณา คุ้มสุข. (2564). การใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงในการเตรียมความพร้อมก่อนฝึกปฏิบัติงานวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และผดุงครรภ์ 1 ต่อความรู้ ความพึงพอใจและความมั่นใจในตนเองของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3. The New Viridian Journal of Arts, Humanities and Social Sciences, 1(6), 1-15.

วันดี แก้วแสงอ่อน, อุทุมพร ดุลยเกษม, และสุทัศน์ เหมทานนท์. (2564). การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาล ด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริง: จากห้องเรียนสู่การเรียนรู้ด้วยโปรแกรมออนไลน์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(11), 96-111.

ศุภรัตน์ แจ่มแจ้ง, วิภารัตน์ ยมดิษฐ์, บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ, ดวงแข พิทักษ์สิน, ปิยะนาฏ ช่างเสียง, และอังคณา หมอนทอง. (2560). ผลการเตรียมความพร้อมในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงต่อการรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(ฉบับพิเศษ), 46-58.

สุพรรณี กัณหดิลก, และตรีชฎา ปุ่นสำเริง. (2559). การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง: การออกแบบการเรียนรู้ทางการพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 9(1), 1-14.

สมจิตต์ สินธุชัย, และกันยารัตน์ อุบลวรรณ. (2560). การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง: การนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(1), 29-38.

Cantrell, M. A., Franklin, A., Leighton, K., & Carlson, A. (2017). The evidence in simulation-based learning experiences in nursing education and practice: An umbrella review. Clinical Simulation in Nursing, 13(12), 634-667.

Fanning, R. M., & Gaba, D. M. (2007). The role of debriefing in simulation-based learning. Simulation in healthcare, 2(2), 115-125.

Lin, H. H. (2016). Effectiveness of simulation-based learning on student nurses' self-efficacy and performance while learning fundamental nursing skills. Technology and Health Care, 24(s1), S369-S375.

Master, K. (2013). Edgar Dale’s Pyamid of learning in Medical education: A Literature review. Medical Teacher, 35(11), e1584-e1593.

Prasartkul, P., Thaweesit, S., & Chuanwan, S. (2019). Prospects and contexts of demographic transitions in Thailand. Journal of Population and Social Studies, 27(1), 1-22.

Shiner, N. (2018). Is there a role for simulation-based education within conventional diagnostic radiography? A literature review. Radiography, 24(3), 262-271.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-18