ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ของมารดาหลัง คลอด

ผู้แต่ง

  • นิศากร เยาวรัตน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ศริณธร มังคะมณี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • พัชรินทร์ วิหคหาญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ, โควิด-19, มารดาหลังคลอด

บทคัดย่อ

มารดาหลังคลอดมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (โควิด-19) เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงด้านสรีรวิทยาทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ แต่ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อของมารดายังมีจำกัด  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของมารดาหลัง คลอด ประกอบด้วยปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ ตามแนวคิดความเชื่อด้านสุขภาพ  ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ มารดาหลังคลอดจำนวน 400 คน ที่มารับบริการหลังคลอดในโรงพยาบาลเขตภาคกลาง สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนและแบบโควตาในโรงพยาบาลจำนวน 6 แห่ง เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคโควิด-19 และแบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 วิเคราะห์ความเที่ยงด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอน บาก ได้เท่ากับ .82, .78 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า สถานภาพสมรส รายได้ต่อเดือน การมีโรคประจำตัว และการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคไวรัสโควิด-19 สามารทำนายพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโควิด – 19 ของมารดาหลังคลอด ได้ร้อยละ 45 (R2 = 0.45, F(1, 150) = 26.085, p = .01) หน่วยงานที่รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก ควรให้การสนับสนุนให้มารดาหลังคลอด และคู่สมรส ให้มีความรู้ป้องกันโควิด-19ที่ถูกต้องครอบคลุม โดยเฉพาะการส่งเสริมความสามารถในการรับรู้โอกาสเสี่ยง รับรู้ความรุนแรงต่อการเกิดโรค และการรับรู้ประโยชน์ และอุปสรรคในการปฏิบัติตัวเพื่อการป้องกันโรคโควิด -19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด-19 สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค.

กฤตกร หมั่นสระเกษ, ทัศนีย์ รวิวรกุล, และสุนีย์ ละกำปั่น. (2562). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้อินซูลิน. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 25(2), 12-30.

ธัญนิดา เจริญจันทร์, และทิพย์วัลย์ สุรินยา. (2557). ความเชื่อด้านสุขภาพ การรับรู้ความสามารรถของตนเองรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสตรีนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, 40(1), 69-84.

นงณภัทร รุ่งเนย, เพ็ญแข ดิษฐบรรจง, ภคพร กลิ่นหอม, ศิริพร ครุฑกาศ, และนภาภรณ์ เกตุทอง. (2565). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการเฝ้าระวังและป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 14(2), 17-37.

บงกช โมระสกุล, และพรศิริ พันธสี. (2552). ที่ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา และวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 15(37), 179-196.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พัชรินทร์ เงินทอง. (2564). คำแนะนำในการดูแลสตรีในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอดระหว่างการแพร่ระบาดโควิด-19: การทบทวนวรรณกรรมแบบกำหนดขอบเขต. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 22(42), 10-13.

ประเทือง ฉ่ำน้อย. (2559). การศึกษาระดับความรู้ การรับรู้และพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข กรณีศึกษาอำเภอพานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารควบคุมโรค, 42(2), 138-150.

รังสรรค์ โฉมยา, และกรรณิกา พันธ์ศรี. (2564). ความตระหนักเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันการติดต่อโรค ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19): การเปรียบเทียบระหว่างวัย. วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 39(6), 71-82.

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. (2563). แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การดูแลรักษาสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19. สืบค้นจาก https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/Attach/25630324214133PM_CPG-Covid-Preg-20Mar20.pdf

ศิริลักษณ์ วรไวย์, สังวรณ์ วรไวย์, ชาติธนา ปัตตาลาโพธิ์, และวรรณา ตรุนจันทร์. (2557). ผลการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี อายุ 30–60 ปี ตำบลกุดใส้จ่อ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 23(5), 832-841.

สาโรจน์ นาคจู. (2564). พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของ ประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิก สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(3), 151-160.

Carpenter, C. J. (2010). A meta-analysis of the effectiveness of health belief model variables in predicting behavior. Health Communication, 25(8), 661-669.

Goldfarb, I. T., Clapp, M. A., Soffer, M. D., Shook, L. L., Rushfirth, K., Edlow, A. G., & Bryant, A. S. (2020). Prevalence and severity of coronavirus disease 2019 (COVID-19) illness in symptomatic pregnant and postpartum women stratified by Hispanic ethnicity. Obstetrics and Gynecology, 136(2), 300-323.

Helms, H. M. (2013). Marital relationships in the Twenty-First Century. In G. W. Peterson & K. R. Bush (Eds.) , Handbook of Marriage and the Family (pp. 233–254). Boston, MA: Springer. https://doi.org/10.1007/978-1-4614-3987-5_11

Ngamjarus, C., & Chongsuvivatwong, V. (2014). n4Studies: Application for sample size calculation in epidemiological studies for iOS (Version 1.4.1). Retrieved from https://itunes.apple.com/th/app/n4studies/id680516901?l=th&mt=8

Rosenstock, I. M. (1974). Historical origins of the health belief model. Health Education Monographs, 2(4), 328-335.

Wayne, W. D. (1995). Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences (6th ed.). New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-18