ผลของโปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจโดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อการรับรู้การป้องกันโรค และการมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี

ผู้แต่ง

  • ศิริรัตน์ เพียขันทา สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ดวงกมล ปิ่นเฉลียว สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, การมีส่วนร่วม, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, การรับรู้การป้องกันโรค, การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

บทคัดย่อ

การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกช่วยให้สามารถค้นพบมะเร็งปากมดลูกได้ในระยะแรก ส่งผลให้ลดอัตราการตายได้  การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจโดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ต่อการรับรู้การป้องกันโรค และการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี  ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นหญิงอายุ 30-60 ปี จำนวน 50 คน คัดเลือกแบบเจาะจงโดยการจับฉลากแบบไม่คืน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 25 คน  เครื่องมือการวิจัย คือ 1) โปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจโดยการมีส่วนร่วมของ อสม. และ 2) แบบสอบถามการรับรู้การป้องกันมะเร็งปากมดลูก มีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .91 และค่าความเชื่อมั่นมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบากเท่ากับ .91 และ 3) แบบบันทึกการเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองคะแนนเฉลี่ยการรับรู้การป้องกันมะเร็งปากมดลูกของสตรีกลุ่มทดลอง (M = 4.78, SD = 0.09) สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (M = 3.12, SD = 0.23), t(48) = 33.37, p < .001, d = 9.51) และพบว่ากลุ่มทดลองมีผู้เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 96 ซึ่งสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ ซึ่งมีร้อยละ 64  ดังนั้นโปรแกรมส่งเสริมแรงจูงใจโดยการมีส่วนร่วมของ อสม. สามารถนำไปส่งเสริมสตรีในพื้นที่ที่มีอัตราการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกต่ำให้เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกต่อไป

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2552). หลักสูตรการอบรมฟื้นฟูความรู้อาสาสมัครสาธารณสุข. สืบค้นจาก http://www.esanphc.net/vhv/files/MannualCurriculumRehabVHV2552.pdf

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2561). หลักสูตรฝึกอบรม อสม. นักจัดการสุขภาพชุมชนตามกลุ่มวัย ในตำบลจัดการสุขภาพแบบบูรณาการ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กัญญารัตน์ อยู่ยืน, พูลสุข หิงคานนท์, จรรยา สันตยากร, และปกรณ์ ประจันบาน. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรี ตำบลคลองน้ำไหล อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 6(2), 35-47.

คลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center [HDC]). (2564). อัตราการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอายุ 30-60 ปี. สืบค้นจาก https://brm.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php.

ฉิน สังข์เมือง, ดรรชนี จิวหา, และธนัช กนกเทศ. (2558). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจมะเร็งปากมดลูกของสตรีช่วงอายุ 30-60 ปี ตําบลทะนง อําเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 2 “งานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น” (หน้า 725-730). เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ชูชัย ศรชำนิ. (2560). ตรวจมะเร็งปากมดลูกระดับชาติระยะ 2 หญิงไทยอายุ 30 - 60 ปี. สืบค้นจากhttp://manager.co. th/QOL/viewNews.aspx?NewsID=9580000101413

ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2558). สถิติพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชัญวลี ศรีสุโข. (2561). คู่มือสุขภาพผู้หญิง.กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.

ชัยยศ ธีรผกาวงศ์. (2564). มะเร็งปากมดลูก. สืบค้นจาก https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=943

ฐิติมา โกศัลวิตร, นิตยา เจริญยุทธ์, กัญญารัตน์ กันยะกาญจน์, และนฤมล บุญญนิวารวัฒน์. (2560). ผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อการรับรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลดงบัง อําเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารราชธานีนวตกรรมทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 1(3),18-30.

นันทิดา จันต๊ะวงค์, ปิยธิดา ตรีเดช, สุคนธาศิริ, และชาญวิทย์ ตรีเดช. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการ

เข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(1), 63-79.

นภัสวรรณ โอภาส. (2560). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมแรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อการรับรู้การป้องโรคมะเร็งปากมดลูกและการมารับการตรวจส่องกล้องปากมดลูกในสตรีที่มีผลการตรวจเซลล์เยื่อบุปากมดลูกผิดปกติ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี.

นีสรีน สาเร๊ะ, ยุทธพงศ์ หลี้ยา, และกัลยา ตันสกุล. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ (หน้า 1587-1599). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

บุญธิญา สุทธิโคตร, และสมเดช พินิจสุนทร. (2557). ความรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ และการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ต่อการเข้ารับบริการตรวจหาโรคมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปีในตำบลกุดจิก อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู.วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2(1), 45-52.

ประนอม ปิ่นทอง. (2552). การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคในการคัดกรองมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกสตรีกลุ่มเสี่ยง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ปรียานุช มณีโชติ, ประณีต ส่งวัฒนา, และสุรีย์พร กฤษเจริญ. (2554). ผลของโปรแกรมการสอนแบบสร้างแรงจูงใจต่อการรับรู้เกี่ยวกับโรคและอัตราการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีไทยในชนบท. ศรีนครินทร์เวชสาร, 26(1), 9-16.

อาทิตยา วังวนสินธุ์, และมะลิ จารึก. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีกลุ่มเสี่ยงตำบลนครชุม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์, 13(1), 100-113.

ระเบียบ แคว้นคอนฉิม. (2559). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพสตรีเพื่อป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกของสตรี อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย, เลย.

รัฐพล สาแก้ว, จงกลนี ธนาไสย์, และบัณฑิต วรรณประพันธ์. (2560). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60 ปีในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล็ก อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 23(1). 17-31.

วรัญญา จิตรบรรทัด, ธมลวรรณ แก้วกระจก, และพิมพวรรณ เรืองพุทธ. (2560). ความรู้ความเข้าใจทัศนคติและความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและความพึงพอใจของผู้สูงอายุในตำบลนาเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 23(1). 5-16.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2562). นิยามตัวชี้วัด service plan สาขาโรคมะเร็ง ปี 2561-2565. นนทบุรี: กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข.

สมาคมมะเร็งนรีเวชไทย. (2559). มะเร็งปากมดลูก เพชฌฆาตร้าย ภัยเงียบใกล้ตัว รู้ทัน ป้องกันได้. สืบค้นจาก https://www.ryt9.com/s/prg

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. (2562). คู่มือคำอธิบายตัวชี้วัดสำหรับการควบคุมกำกับติดตามและการประเมินผลการดําเนินงานตามคํารับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. บุรีรัมย์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis of the behavioral sciences. New York: McGraw-Hill Book Company.

Mackay, B.C. (1992). AIDS and Protection Motivation Theory (PMT): Effects of imagined scenarios on intent to use condoms. Michigan: A Bell and Howell Information Company.

Rogers, R. W. (1983). Cognitive and physiological process in fear appeals and attitude change: A revised theory of protection motivation. In J. T. Cacioppo & R. E. Petty (Eds.), Social psychophysiology: A sourcebook (pp. 153-177). New York: Guilford.

Tamuzi, J. L., Muyaya, L. M., Tshimwanga, J. L., & Zeng, L. (2017). Effectiveness of mHealth to increase cervical cancer screening: Systematic review of interventions. International Journal of Pulmonary & Respiratory Sciences, 2(3), 555586. http://dx.doi.org/10.19080/IJOPRS.2017.02.555586

World Health Organization (WHO). (2014). Comprehensive cervical cancer control: A guide to essential practice (2nd ed.). Geneva: WHO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-28