ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้สุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันการรับสัมผัสสารเคมี กำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย เอกสันติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • นิภา มหารัชพงศ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ยุวดี รอดจากภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • อนามัย เทศกะทึก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ความรอบรู้สุขภาพ, สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, เกษตรกรผู้ปลูกข้าว

บทคัดย่อ

การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยขาดความรอบรู้สุขภาพ (Health literacy [HL]) และมีพฤติกรรมในการป้องกันการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Pesticide protective behaviors [PPB]) ที่ไม่ถูกต้อง จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง HL กับ PPB ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 480 คน สุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มทำนาปี กลุ่มทำนาปีและนาปรัง และกลุ่มทำนาปีและพืชไร่ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1. ข้อมูลทั่วไป 2. ความรอบรู้สุขภาพ ซึ่งประกอบด้วยด้านความรู้และความเข้าใจ และด้านย่อยอื่นๆ อีก 5 ด้าน และ
3.พฤติกรรมป้องกันการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทุกข้อมีค่าดัชนีความเที่ยงตรง .60 ขึ้นไป แบบสอบถามส่วนที่ 2-3 มีค่าความเชื่อมั่นที่ยอมรับได้ คือ ส่วนที่ 2 ด้านความรู้และความเข้าใจ (13 ข้อ) มีค่า คูเดอร์-ริชาร์ดสัน (KR-20)  = .79 และด้านย่อย 5 ด้าน (6-10 ข้อ) มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก (α) = .85-.86 และส่วนที่ 3 มีค่า α เท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิสหสัมพันธ์
สเปียร์แมน และวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคแบบทวิ ผลการศึกษาพบว่า HL รวมทุกองค์ประกอบส่วนใหญ่ (ร้อยละ 48.8) และ PPB ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 44.6) อยู่ในระดับปานกลาง โดย HL มีความสัมพันธ์กับ PPB เชิงบวก (rs(478) = .70, p < .005) เมื่อวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค พบว่า HL มีความสัมพันธ์กับ PPB อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001, OR = 6.57, 95% CI [3.95, 10.94) จึงควรส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อให้มีพฤติกรรมในการป้องกันการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้อง และไม่เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ

References

กนกพร จันตะเภา, ฤทธิรงค์ พันธ์ดี, และวรารัตน์ หนูวัฒนา. (2564). เปรียบเทียบความรู้ การป้องกันและพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชระหว่างเกษตรกรปลูกข้าวและเกษตรกรปลูกแตงโม ตำบลหนองหลวง อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งประเทศไทย, 3(3), 52-63.

กรมส่งเสริมวิชาการเกษตร. (2562). การปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร. สืบค้นจาก http://www.farmer.doae.go.th/index.php/bi_report/bi_report1

กฤชกันทร สุวรรณพันธ์, และเสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพของเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดในเขตสุขภาพที่ 8. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 3(2), 150-157.

ขจรศักดิ์ ผิวเกลี้ยง, และพรสุข หุ่นนิรันดร์. (2565). การพัฒนารูปแบบการป้องกันผลกระทบทางสุขภาพและความปลอดภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(5), 158-174.

จงรัก สุวรรณรัตน์, และธณกร ปัญญาใสโสภณ. (2565). การวิจัยและพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 40(1), 84-93.

จังหวัดนครราชสีมา. (2565). ข้อมูลทั่วไปจังหวัด. สืบค้นจาก https://www2.nakhonratchasima.go.th/content/general

ชิดหทัย เพชรช่วย. (2560). สถานการณ์การใช้สารเคมีการเกษตรบริเวณภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนล่าง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 9(1), 111-122.

ธัญญาภรณ์ ไทยอู่, สรัญญา ถี่ป้อม, สุดาวดี ยะสะกะ, และวิโรจน์ จันทร. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของคนงานรับจ้างฉีดพ่นสารเคมี ตำบลดงประคำ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. วารสารควบคุมโรค, 43(3), 293-305.

ปรีชา เปรมปรี. (2559). สถานการณ์โรคและการเจ็บป่วยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. สืบค้นจาก https://thaipan.org/sites/default/files/conference2559/pesticide_conference_2559_1.5.pdf

ปิยะรักษ์ ประดับเพชรรัตน์, สยาม อรุณศรีมรกต, จันทิมา ปิยะพงษ์, และกฤษนัยน์ เจริญจิตร. (2560). การวิเคราะห์พื้นที่ระบาดของหอยเชอรี่ในประเทศไทย. วารสารเกษตรพระวรุณ, 14(2), 247-257.

พันนิภา ยาใจ, ปิยะวรรณ ใยดี, และกุลชนา เกศสุวรรณ์. (2557). ผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อชนิดของเชื้อ สาเหตุ และการระบาดของโรคข้าวในนาชลประทานที่ปลูกต่อเนื่องในจังหวัดแพร่และอุตรดิตถ์. สืบค้นจาก https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/dowload_digital_file/328879/67058

มณีรัตน์ สวนม่วง, อัมรินทร์ คงทวีเลิศ, มลินี สมภพเจริญ, และดุสิต สุจิรารัตน์. (2564). ความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของคนงานรับจ้างฉีดพ่น. วารสารสุขศึกษา, 42(2), 1-11.

สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์. (2545). โครงการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังสิ่งคุกคามทางด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม. สืบค้นจาก https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/1745

สมชาย บุญประดับ, สุรไกร สังฑสุบรรณ, นลินี จารึกภากร, และสมเจตน์ ประทุมมินทร์. (2558). รายงานชุดโครงการวิจัย: การวิจัยภาวะการณ์เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศกับระบบการผลิตภาคเกษตร. กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สยาม อรุณศรีมรกต, วรพร สังเนตร, และปิยะรักษ์ ประดับเพชร. (2560). การใช้สารเคมีในการทำนาข้าวของเกษตรกรในอำเภอหนองเสือจังหวัดปทุมธานี. วารสารเกษตรพระวรุณ, 14(2), 173-180.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, และสายชล แปรงกระโทก. (2556). การประเมินทางชีวภาพด้านความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกรผู้ทำนา: กรณีศึกษาตำบลแก้งสนามนาง อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร, 28(3), 382-389.

สุพัตรา พรมนนท์, และกาญจนา นาถะพินธุ. (2561). สถานการณ์การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ตำบลดงกลาง อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 41(2), 116-128.

สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร. (2564). รายละเอียดการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร ปี พ.ศ. 2564. สืบค้นจาก https://www.doa.go.th/ard/?page_id=386

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. (2562). รายงานการคัดกรองสารเคมีในเลือดประชากรกลุ่มเสี่ยง. นครราชสีมา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา.

Brabers, A.E.A., Rademakers, J.J.D.J.M., Groenewegen, P.P., van Dijk, L., & de Jong, J.D. (2017). What role does health literacy play in patients’ involvement in medical decision-making? PLOS ONE, 12(3), e0173316. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0173316

Chesser, A. K., Woods, N. K., Smothers, K., & Rogers, N. (2016). Health literacy and older adults: A systematic review. Gerontology & Geriatric Medicine, 2, 1-13. https://doi.org/10.1177%2F2333721416630492

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Edward, P. R., Siriwong1, W., Taneepanichskul, N., Norkaew, S., & Robson, M. G. (2016). Health risk related to pesticide exposure in the agriculture system in Thailand: A systematic review. Journal of Health Research, 30(Suppl.1), S71-80. https://doi.org/10.14456/jhr.2016.69

Hung, D. Z., Yang, H. J., Li, Y. F., Lin, C. L., Chang, S. Y., Sung, F. C., & Tai, S. C. W. (2015). The long-term effects of organophosphates poisoning as a risk factor of CVDs: A nationwide population-based cohort study. PLOS ONE, 10(9), e0137632. https://doi.org/10.1371%2Fjournal.pone.0137632

Pan, U. M., & Siriwong, W. (2010). Risk assessment for dermal exposure of organophosphate pesticides in rice-growing farmers at Rangsit agricultural area, Pathumthani province, Central Thailand. Journal of Health Research, 24(Suppl. 2), 141-148.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-14