บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา : การทบทวนแบบบูรณาการ

ผู้แต่ง

  • วิศริยาพรรณ สืบศิรินุกูล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ประภัสสร ควาญช้าง โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • วิมลพรรณ สังข์สกุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • เบญจมาภรณ์ วงษ์ไกร โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยเชื้อดื้อยา, บทบาทการพยาบาล, การทบทวนแบบบูรณาการ, การสังเคราะห์

บทคัดย่อ

การติดเชื้อดื้อยาเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ส่งผลกระทบต่อการรักษาต้องใช้ยามากขึ้น ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้น อาจเกิดการแพร่กระจายเชื้อต่อผู้ป่วยรายอื่นและบุคลากร ที่สำคัญคืออาจส่งผลทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การติดเชื้อดื้อยาเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา บทบาทของพยาบาลจึงต้องทันต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การทบทวนวรรณกรรมแบบบูรณาการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและสังเคราะห์วรรณกรรมเกี่ยวกับบทบาทพยาบาลในการจัดการเชื้อดื้อยา โดยการวิเคราะห์งานวิจัยจากฐานข้อมูล PubMed, Google Scholar, ThaiJo, และ CINAHL ที่เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ.2553 - 2564 (ค.ศ.2010 - 2021) โดยเป็นงานวิจัยการทบทวนอย่างเป็นระบบ งานวิจัยเชิงทดลอง งานวิจัยกึ่งทดลอง งานวิจัยเชิงบรรยาย งานวิจัยที่เกี่ยวกับการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยเชื้อดื้อยา จำนวน 15 เรื่อง ผลการสังเคราะห์สามารถสรุปบทบาทพยาบาลในประเด็นหลักๆ ได้ดังนี้ 1) การเฝ้าระวังเชื้อดื้อยา 2) การให้ข้อมูล การสื่อสาร และความรู้แก่บุคลากรและญาติ 3) การป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา 4) การรับและการส่งต่อผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา และ 5) การส่งเสริมการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ผลจากการศึกษาครั้งนี้ มีข้อเสนอว่า ควรมีการนำรูปแบบการการจัดการการเปลี่ยนแปลง 4Es Model ร่วมกับการใช้กลวิธีที่หลากหลายไปใช้ในหอผู้ป่วยที่มีการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยากลุ่มควบคุมพิเศษ และศึกษาต่อยอดเป็นงานวิจัยเพื่อศึกษาผลของการจัดการเชื้อดื้อยาในหน่วยงาน

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2559). รายงานประจําปี 2559 สํานักโรคติดต่อทั่วไป. Retrieved from http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/

กุลดา พฤติวรรธน์, รัชนีย์ วงค์แสน, สุทธิพันธ์ ถนอมพันธ์, และสมรรถเนตร ตะริโย. (2560). การเพิ่มประสิทธิผลการดูแลผู้ป่วยเพื่อลดการติดเชื้อดื้อยา แผนกอายุรกรรมและศัลยกรรม โรงพยาบาลนครพิงค์. วารสารกองการพยาบาล, 44(4), 10-33.

คณะกรรมการประสานและบูรณาการงานด้านการดื้อยาต้านจุลชีพ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560–2564. สืบค้นจาก http://dmsic.moph.go.th/index/detail/6849

ชลธิศ บุญร่วม, อะเคื้อ อุณหเลขกะ, และวันชัย เลิศวัฒนวิลาศ. (2563). ปัจจัยทำนายการปฏิบัติการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาของพยาบาลในโรงพยาบาลศูนย์. พยาบาลสาร, 47(2), 133-142.

ฐิติมา มานะพัฒนเสถียร, จิตราภรณ์ จิตรีเชื้อ, และนงเยาว์ เกษตร์ภิบาล. (2561). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาหลายขนานสำหรับพยาบาลวิชาชีพ. พยาบาลสาร, 45(1), 146-158.

ทัศนีย์ สีหาบุญนาค. (2560). การพัฒนาวิธีปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 1(2), 17-21.

นาตยา ปริกัมศีล, ศุภา เพ็งเลา, และสมใจ สายสม. (2561). ผลของการใช้โปรแกรมการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาควบคุมพิเศษต่อความรู้ และการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาควบคุมพิเศษของบุคลากรสุขภาพ ผู้ป่วยหนักในโรงพยาบาลโพธาราม. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล, 3(2), 49-57.

นันทิพัฒน์ พัฒนโชติ, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, และชินโชติ ศรีใส. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อดื้อยาหลายขนานของเชื้อ Acinetobacter baumannii ในผู้ป่วยในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(1), 87-96.

ณัฐวิภา บุญเกิดรัมย์, วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร, และพิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น. (2563). การพัฒนาแผนการดูแลทางคลินิกสำหรับการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจาย ของเชื้อดื้อยาหลายกลุ่มในโรงพยาบาล. พยาบาลสาร, 47(1), 129-137.

บัวจันทร์ ธงเชื้อ, ปัทมา คำฟู, และสุทธิพันธ์ ถนอมพันธ์. (2560). ผลของโปรแกรมการล้างมือต่อความรู้ และการปฏิบัติด้านการป้องกันและควบคุม การติดเชื้อดื้อยาของบุคลากรทางการพยาบาล ผู้ป่วยและญาติในแผนกศัลยกรรม ศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครพิงค์. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย สาขาภาคเหนือ, 23(2), 12-25.

ประจวบ ทองเจริญ, วันชัย มุ้งตุ้ย, และอะเคื้อ อุณหเลขกะ. (2558). ผลของการใช้กลวิธีหลากหลายต่อการปฏิบัติของบุคลากรสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนาน. พยาบาลสาร, 42(1), 61-73.

ปิยะฉัตร วิเศษศิริ, อะเคื้อ อุณหเลขกะ, และนงเยาว์ เกษตร์ภิบาล. (2558). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาของบุคลากรพยาบาล แผนกอายุรกรรมในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. พยาบาลสาร, 42(3), 119-133.

มุขพล ปุนภพ, พรทิพย์ มาลาธรรม, และกำธร มาลาธรรม. (2561). การปฏิบัติของบุคลากรตามแนวทางการแยกผู้ป่วยแบบสัมผัสในผู้ป่วยที่มีเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะหลายขนานในโรงพยาบาลตติยภูมิ. Ramathibodi Medical Journal, 41(4), 56-64.

มุจรินทร์ แจ่มแสงทอง, วันชัย เลิศวัฒนวิลาศ, และอะเคื้อ อุณหเลขกะ. (2562). การดำเนินการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนานของโรงพยาบาลศูนย์. พยาบาลสาร, 46(2), 83-94.

วิไลลักษณ์ วงศ์จุลชาติ. (2560). การใช้กลวิธีหลากหลายเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติตามแนวทางป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา ในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11, 31(3), 441-456.

วิษณุ ธรรมลิขิตกุล. (2558). คู่มือการควบคุมและป้องกันแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาล. สืบค้นจาก https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4276?show=full

สมฤดี ชัชเวช, รุ่งฤดี เวชนิชสนอง, กุสุมา บุญรักษ์, ไพจิตร มามาตย์, ไพรัช พิมล, และสุพรรษา บุญศรี. (2560). ผลของการนำ ใช้แนวปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11, 31(4), 697-708.

สุเพียร โภคทิพย์. (2561). การทบทวนวรรณกรรมแบบบูรณาการ. [เอกสารประกอบการสอน]. โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์.

สุพรรณี กัณหดิลก, ตรีชฎา ปุ่นสำเริง, และชุติมา มาลัย. (2560). กลยุทธ์การสอนด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(4).

อะเคื้อ อุณหเลขกะ, สุชาดา เหลืองอาภาพงศ์, และจิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ. (2557). การป้องกันการติดเชื้อดื้อยาในหออภิบาลผู้ป่วย Prevention of Multidrug Resistant Organism Infections in Intensive Care Units. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อัจฉริยา ยศบุญเรือง, ชนิกานต์ จิตศรัทธา, และลลิตพรรณ ทาระเวท. (2560). อุบัติการณ์การดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียจากอุปกรณ์การแพทย์ในห้องผู้ป่วยหนักของโรงพยาบาล. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 47(2), 222-234.

Cooper, H. (1998). Synthesizing research: A guide for literature reviews (3rd ed). Sage Publications. Retrieved from https://books.google.co.th/books

Kasatpibal, N., Chittawatanarat, K., Nunngam, N., Kampeerapanya, D., Duangsoy, N., Rachakom, C., Soison, U., & Apisarnthanarak, A. (2021). Impact of multimodal strategies to reduce multidrug-resistant organisms in surgical intensive care units: Knowledge, practices and transmission: A quasi-experimental study. Nursing open, 8(4), 1937–1946. https://doi.org/10.1002/nop2.864

The Joanna Briggs Institute (JBI). (2014). New JBI Levels of Evidence. Retrieved from https://joannabriggs.org/sites/default/files/2019-05/JBI-Levels-of-evidence_2014_0.pdf

Tomczyk, S., Zanichelli, V., Grayson, M. L., Twyman, A., Abbas, M., Pires, D., & Harbarth, S. (2019). Control of carbapenem-resistant Enterobacteriaceae, Acinetobacter baumannii, and Pseudomonas aeruginosa in healthcare facilities: a systematic review and reanalysis of quasi-experimental studies. Clinical Infectious Diseases, 68(5), 873-884. https://doi.org/10.1093/cid/ciy752

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19