ประสบการณ์การดูแลตนเองของผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูง

ผู้แต่ง

  • สมฤดี ดีนวนพะเนา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • ศริญญา นาคสระน้อย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • ตะวัน แสงสุวรรณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

ประสบการณ์, การดูแลตนเอง, ผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

ประสบการณ์การดูแลตนเองของผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูงมีความสำคัญที่จะช่วยให้บุคลากรด้านสุขภาพเข้าใจถึงมุมมองและความคิดที่มีต่อโรคความดันโลหิตสูง และการดูแลตนเองในการควบคุมระดับความดันโลหิต การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบบรรยาย เพื่อศึกษาประสบการณ์การดูแลตนเองของผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูง ผู้ให้ข้อมูลคือผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 20 คน ที่ได้รับคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติ คือ อายุระหว่าง 35-60 ปี เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน 2560 ถึง พฤษภาคม 2561 โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคล การสังเกต และบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์ใจความหลัก ผลการศึกษาพบว่าประสบการณ์การดูแลตนเองของผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูง สามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเด็นหลัก คือ 1) มุมมองที่มีต่อโรคความดันโลหิตสูง มี 2 ประเด็นย่อย ได้แก่มุมมองที่ว่า 1. เป็นภัยเงียบที่อันตราย และ 2. ไม่น่ากลัวเกิดขึ้นได้กับทุกคน 2) สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมี 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ 1. โรคที่เป็นในครอบครัว 2. พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และ 3. การขาดความรู้ และ 3) การดูแลตนเองของผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมี 3 ประเด็นย่อย คือ 1. การสังเกต และจัดการอาการผิดปกติของตนเอง 2. การเลือกใช้ชีวิตแบบเคร่งครัดหรือยืดหยุ่นตามแนวการดูแลตนเองของโรคความดันโลหิตสูง และ 3. การแสวงหาหรือใช้การรักษาทางเลือก ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ในการดูแลตนเองของผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูง

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2562. สืบค้นจาก https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/statistical%20 thailand2562.pdf

คะนึงนิจ เพชรรัตน์, สัญญา ปงลังกา, และจุฑามาส กิติศรี. (2561). ผลของโปรแกรมการพยาบาล และระบบสนับสนุน และให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร, 45(1), 37-49.

ชวลิต โชติเรืองนภา, และวีรนุช รอบสันติสุข. (2562). โรคความดันโลหิตสูง. ใน วันชัย เดชสมฤทธิ์ฤทัย, วราลักษณ์ ศรีนนท์ประเสริฐ, ปวีณา เชี่ยวชาญวิศวกิจ, รัตนา ชวนะสุนทรพจน์, เอกพันธ์ ครุพงศ์, และอนุภพ จิตต์เมือง (บรรณาธิการ), การรักษาต่อเนื่องทางอายุรศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2) (หน้า 161-187). กรุงเทพฯ: พริ้นท์เอเบิ้ล.

ชาย โพธิสิตา. (2562). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

เทอดศักดิ์ ใจว่อง. (2562). การพัฒนากระบวนการสร้างเสริมสุขภาพ และการดูแลตนเองที่บ้านโดยชุมชนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลห้วยแย้ อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

นฤมล โชว์สูงเนิน, และเกษราวัลณ์ นิลวรางกูล. (2560). การพัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองของคนวัยแรงงานเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 23(2), 107-120.

นวพร วุฒิธรรม. (2562). บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการควบคุมระดับความดันในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร, 46(4), 173-182.

นิศา ชูโต. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: พริ้นต์โพร.

นุจรี อ่อนสีน้อย, ยุวดี ลีลัคนาวีระ, และชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนที่มีภาวะก่อนเป็นโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 37(1), 63-74.

ปณิตา ลิมปะวัฒนะ, และวิชัย เส้นทอง. (2563). Hypertension. ใน ทวี ศิริวงศ์, กิตติศักดิ์ สวรรยาวิสุทธิ์, ปณิตา ลิมปะวัฒนะ, และสิทธิชัย คำไสย์ (บรรณาธิการ), คู่มือเวชศาสตร์ผู้ป่วยนอก (พิมพ์ครั้งที่ 6) (หน้า 120-125). ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปุลวิชช์ ทองแตง, และจันทร์จิรา สีสว่าง. (2557). ประสบการณ์ชีวิตของผู้สูงอายุไทยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 288-295.

พนิตนันท์ พรหมดำ. (2565). แนวคิดแรงจูงใจในการรักษาโรค: การดูแลผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน. วชิรสารการพยาบาล, 24(2), 110-122.

มงคล การุณย์งามพรรณ, และสุดารัตน์ สุวารี. (2559). เสริมสร้างพลังอำนาจในตน ลดความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง: บทบาทสำคัญของพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 36(3), 222-233.

สมฤดี ดีนวนพะเนา, วัลภา คุณทรงเกียรติ, และสุภาภรณ์ ด้วงแพง. (2557). ประสบการณ์ของสมาชิกครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 22(2), 52-64.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป. สืบคืนจาก http://www.thaihypertension.org/hypertensiondetail.php?n_id=442

Álvarez Najar, J. P., Valderrama Sanabria, M. L., & Peña Pita, A. P. (2020). Report of the experience of living with high blood pressure in light of the theory of caring. Investigación y Educación en Enfermería, 38(2), e10.

Blackstone, S., Iwelunmor, J., Plange-Rhule, J., Gyamfi, J., Quakyi, N. K., Ntim, M., ... & Ogedegbe, G. (2019). ‘I believe high blood pressure can kill me:’using the PEN-3 cultural model to understand patients’ perceptions of an intervention to control hypertension in Ghana. Ethnicity & health, 24(3), 257-270.

Inamdar, S., Inamdar, M., Runa, L., Gupta, H., Wavarel, R. R., & Deshpande, A. R. (2020). The habitual additional sodium intake among hypertensive patients visiting a tertiary health-care center, Indore, Madhya Pradesh. Indian Journal of Community Medicine, 45(4), 435-439.

Janchai, N., Deoisres, W., & Chaimongkol, N. (2021). A Improving health literacy using the health education and health empowerment program in Thai adults with uncontrolled hypertension: a randomized controlled trail. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 25(4), 600-613.

Kang, J., & Jeong, Y. J. (2020). Psychological resistance to drug therapy in patients with hypertension: A qualitative thematic analysis. Korean Journal of Adult Nursing, 32(2), 124-133.

Liamputtong, P. (2020). Qualitative research methods (5thed.). Docklands, Vic: Oxford University Press.

Tan, C. S., Hassali, M. A., Neoh, C. F., & Saleem, F. (2017). A qualitative exploration of hypertensive patients’ perception towards quality use of medication and hypertension management at the community level. Pharmacy Practice (Granada), 15(4), 1-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-19