ปัจจัยทำนายความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของบุคลากรทางสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิ
คำสำคัญ:
ปัจจัยทำนาย, ความมั่นใจ, ผู้ป่วยจิตเวชบทคัดย่อ
ผู้ป่วยจิตเวชต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ดังนั้นความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของบุคลากรสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิจึงมีความสำคัญ การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของบุคลากรทางสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิ ผู้เข้าร่วมการวิจัยคือบุคลากรทางสุขภาพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล จำนวน 197 คน เครื่องมือวิจัยมี 3 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช และ 3) แบบสอบถามสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช แบบสอบถามส่วนที่ 2 มี 3 ส่วนย่อย โดยส่วนที่ 2.1 (ความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช) และ 2.2 (การตีตราผู้ป่วยจิตเวช) มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .92 และ .91 ตามลำดับ ส่วนส่วนที่ 2.3 (ความคุ้นเคยเกี่ยวกับความเจ็บป่วยทางจิต) มีข้อคำถามหนึ่งข้อจึงไม่ได้หาค่าความเชื่อมั่น และแบบสอบถามส่วนที่ 3 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เส้นทางปัจจัย ผลการวิจัย พบว่า การตีตราผู้ป่วยและสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชมีอิทธิพลทางบวกต่อความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ß = .42, p < .001 และ ß = .49, p < .001 ตามลำดับ) ดังนั้นจึงควรมีการพัฒนาสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชทั้งด้านความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช รวมถึงการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผู้ป่วยจิตเวชเพื่อลดการตีตราผู้ป่วยจิตเวชของบุคลากรสาธารณสุข ส่งผลให้บุคลากรเหล่านี้สามารถดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
กรมสุขภาพจิต. (2565). รายงานผู้ป่วยมารับบริการด้านจิตเวช ข้อมูลจากระบบระบบศูนย์กลางการให้บริการผู้ป่วยจิตเวชของประเทศไทย กรมสุขภาพจิต ประจำปีงบประมาณ 2564. สืบค้นจาก https://dmh.go.th/report/datacenter/dmh/
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมสุขภาพจิต. (2562). แผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2561 –2580). สืบค้นจาก https://www.dmh-elibrary.org/items/show/450
ขจีรัตน์ ปรักเอโก, เบ็ญจมาส พฤกษกานนท์, บุรินทร์ สุรอรุณสัมฤทธิ์, ชาลีมาศ ตันสุเทพวีรวงศ์, และประณีต ชุ่มพุทรา. (บรรณาธิการ). (2559). คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน สำหรับบุคลากรของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ. กรุงเทพฯ: แสงจันทร์การพิมพ์.
พันธุนภา กิตติรัตนไพบูลย์, นพพร ตันติรังสี, วรวรรณ จุฑา, อธิบ ตันอารีย์, ปทานนท์ ขวัญสนิท, และ สาวิตรี อัษณางค์กรชัย. (2560). ความชุกของโรคจิตเวชและปัญหาสุขภาพจิต: การสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตคนไทยระดับชาติ ปี พ.ศ.2556. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 25(1), 1-19.
สายสมร เฉลยกิตติ, สรินทร เชี่ยวโสธร, และญาดา บุตรปัญญา. (2560). ประสิทธิผลของการบูรณาการการบริการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ต่อสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช ของนักเรียนพยาบาลกองทัพบก. วารสารพยาบาลทหารบก, 8(3), 144-151.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี. (2561). สถิติสาธารณสุข ปี 2561. สืบค้นจาก http://www.sro.moph.go.th/ewtadmin/ewt/saraburi_web/more_news.php?cid=18
Arabani, P., & Saleh, B. (2017). What do nurses actually need? Is it competence or confidence. Global Journal of Nursing & Forensic Studies, 2(1), 1-2.
Bandura, A. (1994). Self-efficacy. In V. S., Ramachaudran (Eds). Encyclopedia of human behavior (pp. 71-81). New York: Academic Press.
Bond, K. S., Jorm, A. F., Kitchener, B. A., & Reavley, N. J. (2015). Mental health first aid training for Australian medical and nursing students: An evaluation study. BMC Psychology, 3(1), 1-9. https://doi.org/10.1186/s40359-015-0069-0
Crawford, G., & Burns, S. (2020). Confidence and motivation to help those with a mental health problem: Experiences from a study of nursing students completing mental health first aid (MHFA) training. BMC Medical Education, 20(1), 1-10. https://doi.org/10.1186/s12909-020-1983-2
Edgar, S., & Connaughton, J. (2021). Using mental health first aid training to improve the mental health literacy of physiotherapy students. Physiotherapy Canada, 73(2), 188-193. https://doi.org/10.3138/ptc-2019-0036
Fishbein, M. A. (2008). Reasoned action approach to health promotion. Medical Decision Making, 28(6), 834-844. https://doi.org/10.1177/0272989X08326092
Gray, J., Grove, S. K., & Sutherland, S. (2017). Burns and grove's the practice of nursing research: Appraisal, synthesis, and generation of evidence (8thed). Missouri: Elsevier.
Kitchener, B. A., & Jorm, A. F. (2002). Mental health first aid training for the public: evaluation of effects on knowledge, attitudes and helping behavior. BMC psychiatry, 2(1), 1-6. https://doi.org/10.1186/1471-244X-2-10
Kline, R. B. (2016). Principles and practice of structural equation modeling (4thed). New York: The Guilford Press.
Lien, Y.-Y., Lin, H.-S., Lien, Y.-J., Tsai, C.-H., Wu, T.-T., …, & Tu, Y.-K. (2021). Challenging mental illness stigma in healthcare professionals and students: a systematic review and network meta-analysis. Psychology & Health, 36(6), 669–684. https://doi.org/10.1080/08870446.2020.1828413
Link, B. G., Phelan, J. C., Bresnahan, M., Stueve, A., & Pescosolido, B. A. (1999). Public conceptions of mental illness: labels, causes, dangerousness, and social distance. American Journal of Public Health, 89(9), 1328-1333. http://dx.doi.org/10.2105/AJPH.89.9.1328
Ogawa, T., & Nakatani, H. (2020). Factors associated with professional confidence in Japanese public health nurses: A cross-sectional survey. Public Health Nursing, 37(2), 272–280. https://doi.org/10.1111/phn.12705
Oxford University Press. (2022). Oxford learner’s dictionaries. Retrieved from https://www.oxfordlearnersdictionaries.com/definition/english/confidence
Spagnolo, J., Champagne, F., Leduc, N., Rivard, M., Piat, M., Laporta, M., . . . , & Charfi, F. (2018). Mental health knowledge, attitudes, and self-efficacy among primary care physicians working in the Greater Tunis area of Tunisia. International journal of mental health systems, 12, 63. https://doi.org/10.1186/s13033-018-0243-x
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว