ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกรับบริการทันตกรรมจากคลินิกทันตกรรม โรงพยาบาลระนอง จังหวัดระนอง
คำสำคัญ:
การตัดสินใจ, บริการทางทันตกรรม, โรงพยาบาลระนองบทคัดย่อ
ผู้มารับบริการทางทันตกรรมที่โรงพยาบาลระนอง จังหวัดระนอง มีแนวโน้มลดลง การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้มารับบริการ การตัดสินใจเลือกรับบริการทางทันตกรรม และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกรับบริการทันตกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปที่มารับบริการจากคลินิกทันตกรรม โรงพยาบาลระนอง ในเดือนกรกฎาคม – กันยายน 2565 จำนวน 367 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกรับบริการทันตกรรม ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .6-1.0 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก .76 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การทดสอบไคสแควร์ และ Fisher’s exact test ผลการวิจัย พบว่า ผู้มารับบริการส่วนใหญ่มีการเลือกรับบริการแบบบำบัดรักษา (ร้อยละ 91.8) มารับบริการตรวจ/รับการรักษาทางทันตกรรมทั่วไป (ร้อยละ 52.5) ผู้มีส่วนร่วมในการเลือกรับบริการเป็นตนเอง (ร้อยละ 48.8) และชำระค่ารักษาโดยใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ร้อยละ 64.9) ด้านบุคลากรมีผลให้ผู้รับบริการตัดสินใจเลือกรับบริการมากที่สุด (M = 4.66, SD = 0.35) ส่วนด้านสถานที่ ผู้รับบริการตัดสินใจเลือกรับบริการในระดับมาก (M = 3.99, SD = 0.46) และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกรับบริการ ได้แก่ ผู้มีส่วนร่วมในการเลือกรับบริการ (χ2 (4, n = 367) = 8.90, p = .033) และวิธีชำระค่ารักษา (χ2 (6, n = 367) = 12.24, p = .048) หน่วยบริการทางทันตกรรมจึงควรวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการให้บริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปพัฒนาระบบบริการให้มีประสิทธิภาพ และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้ ส่งผลให้มีการตัดสินใจเลือกรับบริการมากขึ้น
References
กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลระนอง. (2562). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์คลินิกทันตกรรม. โรงพยาบาลระนอง, (เอกสารอัดสำเนา).
กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลระนอง. (2565). สถิติผู้มารับบริการทันตกรรม ประจำปี 2564. โรงพยาบาลระนอง, (เอกสารอัดสำเนา).
คลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center [HDC]). (2564). กลุ่มรายงานมาตรฐาน: ทันตกรรม (บริการ). สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=fc73b811eb6d9206e7e5baf8ad20d7b9
เทพฤทธิ์ ไตรฟื้น. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใส่ฟันเทียมของผู้สูงอายุ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
นภาภรณ์ กำยา. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการบริการกับการตัดสินใจใช้บริการศูนย์ทันตกรรม (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, กรุงเทพมหานคร.
นันทิดา มัชฌิม. (2553). การตัดสินใจใช้บริการจัดฟันของประชาชนจากคลินิกทันตกรรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานีคลินิกทันตกรรม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี.
นิลุบล ดีพลกรัง. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการทันตกรรมภาครัฐของผู้สูงอายุในเขตอำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น ปี 2563. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น, 3(1), 1-19.
บุญเกียรติ วัฒนเรืองรอง. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการทันตกรรมโรงพยาบาลของรัฐ ในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 12(28), 85-102
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พิชญ์สินี ศรีสว่าง. (2561). ทัศนคติของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกรับบริการทางทันตกรรม ในจังหวัดเชียงใหม่. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์) มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร.
ศรัณยา ณัฐเศรษฐสกุล, วลัยพร ราชคมน์, และวรัญญา เขยตุ้ย. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลิกรับบริการทันตกรรม จากคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 5(1), 131-150.
สำนักทันตสาธารณสุข. (2561). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. สืบค้นจาก https://dental.anamai.moph.go.th/web-upload/migrated/files/dental2/n2423_3e9aed89eb9e4e3978640d0a60b44be6_survey8th_2nd.pdf
สุนิสา หนูพูน. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกรับบริการทางด้านทันตกรรมของคลินิกทันตกรรมทันตศิลป์ ปี 2562. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, กรุงเทพมหานคร.
อุดมพร ทรัพย์บวร. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการทันตกรรมของผู้สูงอายุในเขตตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5, 37(4), 306-317
Arnold, H.T. & Feldman D.C. (1986). Intergroups conflict in organization behavior. New York: McGraw-Hill.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว