การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ในหอผู้ป่วยอายุรกรรม
คำสำคัญ:
รูปแบบการพยาบาล, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, หน่วยอายุรกรรมบทคัดย่อ
ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตรูปแบบการพยาบาลที่เหมาะสมจะช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัย การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลลัพธ์ของการพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์และยกร่างรูปแบบ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบ และนำไปทดลองใช้ และระยะที่ 3 ประเมินผลลัพธ์การพัฒนารูปแบบฯ เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แบบแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกผลลัพธ์ผู้ป่วย แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาล และแบบประเมินความพึงพอใจ ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้รูปแบบการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย (1) ระบบประเมินคัดกรองเพื่อวินิจฉัยและรักษาโดยเร็ว (2) การพัฒนาสมรรถนะพยาบาล (3) การพัฒนาและใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล และ (4) การนิเทศทางการพยาบาล 2) ผลลัพธ์ผู้ป่วย พบว่า ภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือดลดลงจากร้อยละ 34.00 เป็น ร้อยละ 30.72 และอัตราการเสียชีวิตลดลง จากร้อยละ 28.00 เป็นร้อยละ 26.00 และ 3) ผลลัพธ์กระบวนการดูแล พบว่า ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดของพยาบาล เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พยาบาลปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาล อยู่ในระดับปฏิบัติเป็นประจำร้อยละ 82.14-96.67 และความพึงพอใจของพยาบาลต่อรูปแบบที่พัฒนา อยู่ในระดับมากที่สุด (M =4.52, SD = 0.59) ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่ารูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนั้นควรมีการสนับสนุนให้มีการนำรูปแบบการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นนี้ไปใช้ในการพยาบาลมีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด อย่างต่อเนื่องต่อไป
References
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2556). เครื่องมือการประเมินคุณภาพแนวทางปฏิบัติสำหรับการวิจัยและการประเมินผล (Appraisal of Guideline for Research & Evaluation II; AGREE II) https://www.agreetrust.org/wp-content/uploads/2013/09/Thai-AGREE-II.pdf
กองตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). แนวทางการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สืบค้นจาก http://data.ptho.moph.go.th/inspec/2562/inspec62_1/9 (14.11.61%20edited).pdf
คนึงนิจ ศรีษะโคตร, วไลพร ปักเคระกา, จุลินทร ศรีโพนทัน, นิสากร วิบูลชัย, สุคนธ์ทิพย์ ปัตติทานัง, รุ่งนภา ธนูชาญ, พุทธกัญญา นารถศิลป์, เพิ่มพูน ศิริกิจ, และชวมัย ปินะเก. (2564). การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลเพื่อป้องกันอาการทรุดลงทางคลินิกในผู้ป่วยที่มีภาวะเหตุติดเชื้อ. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 27(2), 150-167.
จริยา พันธุ์วิทยากูล, และจิราพร มณีพราย. (2561). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต. วารสารกองการพยาบาล, 45(1), 86-104.
ประไพพรรณ ฉายรัตน์, และสุพัฒศิริ ทศพรพิทักษ์กุล. (2560). ประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(3), 224-231.
พรนภา วงศ์ธรรมดี, รัชนี นามจันทรา, และ วารินทร์ บินโฮเซ็น. (2562). คุณภาพการจัดการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่หน่วยงานอายุรกรรม. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท., 1(1), 33-49.
พัชนีภรณ์ สุรนาทชยานันท์, วนิดา เคนทองดี, และสุพัตรา กมลรัตน์. (2561). การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในโรงพยาบาลเลย. วารสารการดูแลและสุขภาพ, 36(1), 207-215.
ภัทรศร นพฤทธิ์, แสงไทย ไตรยวงค์, และจรินทร โคตรพรม. (2562). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลมุกดาหาร. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(1), 221-230.
โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ. (2564). รายงานประจำปีโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ, (เอกสารอัดสำเนา).
สมพร รอดจินดา. (2563). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลน่าน. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 31(1), 212-231.
สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย. (2558). แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย severe sepsis และ septic shock (ฉบับร่าง). สืบค้นจาก http://www.ayhosp.go.th/ayh/images/HA/miniconf/5.pdf
Bloom, B.S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. McGraw–Hill.
Donabedian, A. (1980). Explorations in Quality Assessment and Monitoring (Vol. 1). The Definition of Quality and Approaches to Its Assessment. Health Administration Press.
Edwards, E., & Jones, L. (2021). Sepsis knowledge, skills and attitudes among ward-based nurses. British journal of nursing, 30(15), 920-927. https://doi.org/10.12968/bjon.2021.30.15.920
Evans, L., Rhodes, A., Alhazzani, W., Antonelli, M., Coopersmith, C. M., French, C., Machado, F.R., Mcintyre, L., Ostermann, M., Prescott, H.C., Schorr, C., Simpson, S., Wiersinga, W.J., Alshamsi, F., Angus, D.C., Arabi, Y., Azevedo, L., Beale, R., Beilman, G., . . . Levy, M. (2021). Surviving sepsis campaign: International guidelines for management of sepsis and septic shock 2021. Intensive Care Medicine, 47(11), 1181–1247. https://doi.org/10.1007/s00134-021-06506-y
Global Sepsis Alliance. (2022). Sepsis. Retrieved from https://www.global-sepsis-alliance.org/sepsis
Nakiganda, C., Atukwatse, J., Turyasingura, J., & Niyonzima, V. (2022). Improving Nurses’ Knowledge on Sepsis Identification and Management at Mulago National Referral Hospital: A Quasi Experimental Study. Nursing: Research and Reviews, 12, 169-176. https://doi.org/10.2147/NRR.S363072
World Health Organization. (2020). Global report on the epidemiology and burden of sepsis: current evidence, identifying gaps and future directions. https://www.who.int/publications/i/item/9789240010789
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว