แผนการดูแลการทำกิจวัตรประจำวันสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม

ผู้แต่ง

  • อินทิรา ศรีพันธ์ โรงพยาบาลขามทะเลสอ อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ภาวะสมองเสื่อม, กิจวัตรประจำวัน, ผู้ดูแล

บทคัดย่อ

ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่สูญเสียความคิดความจำหลายด้านซึ่งเกิดภายหลังกำเนิด โดยมีผลกระทบต่อการทำอาชีพ หรือการเข้าสังคม ภาวะสมองเสื่อมมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากโรคอัลไซเมอร์และมีความสัมพันธ์กับพยาธิวิทยามากกว่าหนึ่งอย่าง โดยปกติพบโรคอัลไซเมอร์ร่วมกับพยาธิวิทยาที่หลอดเลือดและหัวใจ การวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมต้องการประวัติ การประเมินความคิดความจำที่ลดลง และการทำกิจวัตรประจำวันที่ลดลง ด้วยการยืนยันจากเพื่อนใกล้ชิดหรือสมาชิกในครอบครัว ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่มีความซับซ้อนจุดประสงค์การรักษาเพื่อลดความทุกข์ที่มีสาเหตุจากความบกพร่องทางความคิดที่เกิดร่วมกับอาการ เช่น อารมณ์และพฤติกรรมและช่วยชะลอความก้าวหน้าของความคิดที่ลดลงบทความนี้ได้สรุปสาเหตุของโรค ลักษณะของโรค ปัจจัยเสี่ยงของโรค นอกจากนี้ยังให้คำแนะนำแก่ผู้ดูแลในการช่วยเหลือการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม  แผนการดูแลการทำกิจวัตรประจำะวันสำหรับผู้ดูแลในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม เช่นการแต่งตัว การรับประทานอาหาร การอาบน้ำ การขับถ่าย/การใช้ห้องน้ำ การยืน/เดิน/การเคลื่อนไหวร่างกายและการจัดสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย

References

คมเนตร สกุลธนะศักดิ์, สิทธิพันธ์ จันทร์พงษ์, และพูนสุข ทองเสี่ยน. (2563). การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโรคสมองเสื่อมเครือข่ายจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 34(1), 97-111.

จริยา จันตระ, ดุจปรารถนา พิศาลสารกิจ , ปิติพร สิริทิพยากร, ปิยภัทร เดชพระธรรม, รุ่งนิรันดร์ ประดิษฐ สุวรรณ,วราลักษณ์ ศรีนนท์ประเสริฐ… สุวิทย์ เจริญศักดิ์.(2562). การป้องกัน การประเมินและการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม. ภาพพิมพ์.

ธวัชชัย เขื่อนสมบัติ ,ศิริพันธุ์ สาสัตย์, และอารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2561) การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในครอบครัวโดยพยาบาลวิชาชีพ. วารสารพยาบาลทหารบก,19 (ฉบับพิเศษ), 233-241.

พงศธร เนตราคม. (2563). บทความจิตเวช หลักในการแก้ปัญหาพฤติกรรมในผู้ป่วยสมองเสื่อม. สืบค้นจาก https://psychiatry.or.th/home/index.php/psyarticles/60-news7

มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล งานโภชนาการ (2564). ความรู้ทั่วไป อาหารรักษ์ หัวใจ. สืบค้นจาก https://www.gj.mahidol.ac.th/main/knowledge/food-2/

โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล. (2565). บทความสุขภาพ ปัญหาที่พบบ่อยและข้อแนะนำผู้ป่วยสมองเสื่อม. สืบค้นจาก https://www.bangkokinternationalhospital.com/th/health-articles/health-tips/common-issues-and-recommendations-of-dementia-patients

วีรศักดิ์ เมืองไพศาล, อรสา ชวาลภาฤทธิ์์, สุุภัทรพร เทพมงคล, สุุขเจริญ ตั้้งวงษ์ไชย, โสฬพัทธ์ เหมรัญช์ รจน์, วรพรรณ เสนาณรงค์…ทิพยรัตน์ ศฤงคารินกุล. (2564). แนวทางปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม. ธนาเพรส.

ศิรินภา อภิสิทธิ์ภิญโญ, พูนศรี รังษีขจี, พงศธร พหลภาคย์, ภัทรี พหลภาคย์, และวรินทร พุทธรักษ์. (2562). ลักษณะปัญหาด้านพฤติกรรม อารมณ์และจิตใจในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 64(4), 371-384.

Arvanitakis, Z., Shah, R. C., & Bennett, D. A. (2019). Diagnosis and management of dementia. Jama, 322(16), 1589-1599.

Bott, N., & Lindsay, A. (2019). Diagnosing dementia and clarifying goals of care. American Family Physician, 100(6), 369-371.

Falk, N., Cole, A., & Meredith, T. J. (2018). Evaluation of suspected dementia. American family physician, 97(6), 398-405.

Gale, A., Stoesser, K., Fortenberry, K., Ose, D., &Migdalski, A. (2021). Pharmacologic Management of Agitation in Patients with Dementia. American Family Physician, 104(1), 91-92.

Gupta, A., Prakash, N. B., & Sannyasi, G. (2021). Rehabilitation in dementia. Indian Journal of Psychological Medicine, 43(5), 375-475.

McCabe MP, Bird M, & Davison TE, (2015). An RCT to evaluate the utility of a clinical protocol for staff in the management of behavioral and psychological symptoms of dementia in residential aged-care settings. Aging Ment Health,19 (9),799-807.

Rokstad AMM, Engedal K, Kirkevold Ø, Benth JŠ, Selbæk G.( 2018)The impact of attending day care designed for home-dwelling people with dementia on nursing home admission: a 24-month controlled study. BMC Health Serv Res.16;18(1),1-11.

Sousa, S., Teixeira, L., & Paul, C. (2020). Assessment of major neurocognitive disorders in primary health care: Predictors of individual risk factors. Frontiers in Psychology, 11 (1413),1-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30