ประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคใต้
คำสำคัญ:
ประสบการณ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วย, เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, หัวหน้าหอผู้ป่วย, โรงพยาบาลตติยภูมิบทคัดย่อ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีการทำงานด้านการบริหาร การวิจัยเชิงคุณภาพแบบบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ 2) ผลที่เกิดขึ้นและปัญหาของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ให้ข้อมูลเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคใต้ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 25 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก แนวคำถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มี 3 ประเด็นหลัก คือ 1) ใช้ในการบริหารบุคลากร 2) ใช้ในการขับเคลื่อนคุณภาพการพยาบาลและ 3) ใช้สื่อสารในองค์กร ส่วนผลที่เกิดขึ้นและปัญหาของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พบว่า มี 3 ประเด็นหลัก คือ 1) การบริหารทางการพยาบาล คือ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารทางการพยาบาล และเพิ่มการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการจัดการข้อมูลของหน่วยงาน 2) สมรรถนะและความวิตกกังวลต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในช่วงปรับตัว และ 3) ระบบสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไม่เพียงพอกับความต้องการใช้งาน ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อการบริหารการพยาบาลในการวางแผนเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วยที่จะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2560). ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (2560 – 2569). นนทบุรี: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
กองการพยาบาล. (2561). บทบาทหน้าที่พยาบาลวิชาชีพ. นนทบุรี: สำนักพิมพ์สื่อตะวัน จำกัด.
กรกฏ เจริญสุข, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย, และพัชราภรณ์ อารีย์. (2564). ประสบการณ์การกำหนดคุณลักษณะงานสำหรับการบริหารบุคลากรของ หัวหน้าหอผู้ป่วย ในองค์กรการพยาบาลโรงพยาบาลศูนย์ กระทรวงสาธารณสุข. วารสารโรงพยาบาลชล, 46(3), 264-270.
ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม. (2562). เทคโนโลยีสำหรับการวิจัยในยุคสารสนเทศ: เครื่องมือสำหรับงานวิจัย. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 16(1), 23-34.
ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ, ผกามาศ พีธรากร, และทินกฤต รุ่งเมือง. (2556). การศึกษาแนวทางการพัฒนาสำนักงานประหยัดกระดาษของสำนักงานอธิการบดี วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิปากร, 10(2), 176-187.
นงนุช บุญยัง, ปราโมทย์ ทองสุข, และปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา (บรรณาธิการ). (2564). ตำราการบริหารการพยาบาล. สงขลานครินทร์: สาขาบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่.
บุษยารัตน์ ศิลปะวิทยาทร, และบุญพิชชา จิตต์ภักดี. (2563). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพในการพยาบาล เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 38(2), 6-14.
เบญจมาศ ปรีชาคุณ, ฤชุตา โมเหล็ก, ดารารัตน์ ชูวงค์อินทร์, เพ็ญพักตร์ กองเมือง, และมาริสา สมบัติบูรณ์. (2563). การพยาบาลในยุคเทคโนโลยีแห่งข้อมูล. วารสารราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์, 3(1), 19-39.
ประพันธ์โชค เสนาชู. (2558). การใช้สารสนเทศทางคลินิกสำหรับหารบริหาร การบริการ และวิชาการของหัวหน้าพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน ภาคใต้. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ, 28(2), 15-31.
พระครูวีรศาสน์ ประดิษฐ์, พระมหาจักรพันธ์ นะวะแก้ว, และวีระ จุฑาคุป. (2565). การบริหารจัดการองค์กรในยุค New Normal. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 7(1), 298-306.
ยุภา เทิดอุดมธรรม, และสุวิณี วิวัฒน์วานิช. (2560). การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน). วารสารพยาบาลทหารบก, 18(2), 168-177.
สายวริน ลาภไพบูลย์พงษ์, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย, และกรรณิการ์ ฉัตรดอกไม้ไพร. (2563). ประสบการณ์การจัดการสารสนเทศทางการพยาบาลในองค์กรพยาบาล ของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้นในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสารพยาบาลตำรวจ, 12(1), 114-127.
สมิท พิทูรพงศ์. (2561). การใช้แอปพลิเคชันไลน์ในกระบวนการทำงาน: กรณีศึกษา บริษัท สหผลิตภัณฑ์ พาณิชย์ จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพมหานคร.
สมพร พูลพงษ์. (2562). การประยุกต์ใช้โปรแกรมไลน์เพื่อการมอบหมายงานสำหรับกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(3), 138-146.
เอื้อมพร หลินเจริญ. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาสารคาม, 17(1), 17-29.
Bohner, K. (2017). Theory description, critical reflection, and theory evaluation of the transitions theory of Meleis et al according to Chinn and Kramer (2011). Advances in Nursing Science, 40(3), E1-E19. https://doi.org/10.1097/ans.0000000000000152
Borle, P., Reichel, K., Niebuhr, F., & Mahlkecht, S, V. (2021). How are techno-stressors associated with mental health and work outcomes? A systematic review of occupational exposure to information and communication technologies within the technostress model. International Journal of Environmental Research and Public-Health, 18(16). https://doi.org/10.3390/ijerph18168673
Elo, S., Kaariainen, M., Kanste, O., Polkki, T., Utriainen, K., & Kyngas, H. (2014). Qualitative content analysis: A focus trustworthiness. Sage Open, 4(1), 1-10. https://doi.org/10.1177/2158244014522633
Guba, E.G., & Lincoln,Y.S. (1989). Fourth generation evaluation. Newbury Park, CA: Sage Publications.
Lauesen, S., & Emeritus, P. (2020). IT Project Failures, Causes and Cures. Institute of Electrical and Electronics Engineers access, 8, 72059-72067. https://doi.org/10.1109/ACCESS.2020.2986545
Stadin, M., Nordin, M., Fransson, E. L., & Brostrom, A. (2020). Healthcare managers' experiences of technostress and the actions they take to handle it - a critical incident analysis. BMC Medical Informatics and Decision Making, 20(1), 244. https://doi.org/10.1186/s12911-020-01261-4
Tacy, J. W. (2016). Technostress: A concept analysis. On-Line Journal of Nursing Informatics, 20(2). 1-9.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว