ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับจำนวนวันหยุดงานจากการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานในผู้ประกอบอาชีพที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
ความชุก, จำนวนวันหยุดงาน, อุบัติเหตุจากการทำงาน, ผู้ประกอบอาชีพบทคัดย่อ
ผู้ประกอบอาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม ย่อมมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุจนเกิดการบาดเจ็บจากการทำงาน หรือการประสบอันตรายจนต้องหยุดงานได้ การศึกษาแบบตัดขวางโดยวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลัง นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับจำนวนวันหยุดงานจากการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานในผู้ประกอบอาชีพที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงกรณีการบาดเจ็บจากการทำงานจำนวน 1,098 ราย ที่รักษาในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ ข้อมูลส่วนตัวและอาชีพได้มาจากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาล เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน พบดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษาพบความชุกของจำนวนวันหยุดงานจากการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ร้อยละ 25.4 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับจำนวนวันหยุดงานจากการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน คือ เพศชาย (aOR = 1.78, 95%CI[1.27-2.62]) อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 ปี (aOR = 1.30, 95%CI[1.01-1.61]) สัญชาติต่างชาติ (aOR = 1.53, 95%CI[1.15-1.93]) ช่วงเวลาการทำงานกะบ่าย (16.01-24.00 น.; aOR = 1.32, 95%CI[1.00-1.75]) และประเภทอุตสาหกรรมการเกษตรและปศุสัตว์ (aOR = 1.88, 95%CI[1.03-3.75]) ดังนั้นควรนำปัจจัยที่พบมาใช้ประเมินความเสี่ยงและกำหนดมาตรการในการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานในสถานประกอบกิจการ
References
กระทรวงแรงงาน (2563). กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. 2563. (2563, 5 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 30-33.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2561). รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี 2560. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/01_envocc_situation_60.pdf
ชุติกา เกียรติเรืองไกร, พรชนก เทพขาม และวัชรินทร์ ชินวรวัฒนา. (2563). 10 ปีอุตสาหกรรมไทย เรามาไกลแค่ไหน. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ArticleAndResearch/FAQ/FAQ_165.pdf
วทชย เพชรเลียบ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานของพนักงานในสถาน ประกอบกิจการร้านซ่อมรถยนต์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา, วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 14(2), 118-129.
สร้อยสุดา เกสรทอง, รณภูมิ สามัคคีคารมย์, และรัชนีวรรณ คุณูปกร. (2560). ปัญหาสุขภาพจากการทำงานในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ (แรงงานต่างด้าว) จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารควบคุมโรค, 43(3), 256-269.
สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดสมุทรปราการ 5 ปี ฉบับทบทวนปีงบประมาณ 2565. สืบค้นจาก https://data.go.th/sv/dataset/samutprakan_strategic
สำนักงานประกันสังคม. (2561). สถานการณ์การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ปี 2556-2560. กลุ่มงานกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน.
Alamneh, Y. M., Wondifraw, A. Z., Negesse, A., Ketema, D. B., & Akalu, T. Y. (2020). The prevalence of occupational injury and its associated factors in Ethiopia: A systematic review and meta-analysis. Journal of Occupational Medicine and Toxicology, 15(1), 1-11. https://doi.org/10.1186/s12995-020-00265-0
Biswas, A., Harbin, S., Irvin, E., Johnston, H., Begum, M., Tiong, M., Apedaile, D., Koehoorn, M., & Smith, P. (2022). Differences between men and women in their risk of work injury and disability: A systematic review. American Journal of Industrial Medicine, 65(7), 576-588. https://doi.org/10.1002/ajim.23364
Chercos, D. H., & Berhanu, D. (2017). Work related injury among Saudi Star Agro Industry workers in Gambella region, Ethiopia; A cross-sectional study. Journal of Occupational Medicine and Toxicology, 12(1), 1-8. https://doi.org/10.1186/s12995-017-0153-x
de Guerre, L. E., Sadiqi, S., Leenen, L. P., Oner, C. F., & van Gaalen, S. M. (2020). Injuries related to bicycle accidents: an epidemiological study in The Netherlands. European Journal of Trauma and Emergency Surgery, 46(2), 413-418. https://doi.org/10.1007/s00068-018-1033-5
Einarsdóttir, M., & Rafnsdóttir, G. L. (2021). The prevalence, seriousness, and causes of teenage work accidents: A gender difference?. Work. 69(4), 1209-1216. https://doi.org/10.3233/WOR-213542
Fischer, D., Lombardi, D. A., Folkard, S., Willetts, J., & Christiani, D. C. (2017). Updating the “Risk Index”: A systematic review and meta-analysis of occupational injuries and work schedule characteristics. Chronobiology International, 34(10), 1423-1438. https://doi.org/10.1080/07420528.2017.1367305
Hsieh, F. Y., Bloch, D. A., & Larsen, M. D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, 17(14), 1623-1634. https://doi.org/10.1007/s00068-018-1033-5
Korkmaz, S., & Park, D. J. (2018). Comparison of safety perception between foreign and local workers in the construction industry in Republic of Korea. Safety and Health at Work, 9(1), 53-58. https://doi.org/10.1016/j.shaw.2017.07.002
Nai’em, F., Darwis, A. M., & Amin, F. (2020). Analysis of work accident cost on occupational safety and health risk handling at construction project of Hasanuddin University the Faculty of Engineering. Enfermeria Clinica, 30, 312-316. https://doi.org/10.1016/j.enfcli.2020.06.070
Nowrouzi-Kia, B., Gohar, B., Casole, J., Chidu, C., Dumond, J., McDougall, A., & Nowrouzi-Kia, B. (2018). A systematic review of lost-time injuries in the global mining industry. Work, 60(1), 49-61. https://doi.org/10.3233/WOR-182715
Occupational Safety and Health Administration. (2001). General recording criteria (Standard No. 1904.7). Retrieved from https://www.osha.gov/laws-regs/regulations/standardnumber/1904/1904.7
Senathirajah, Y., & Pelayo, S. (2020). Human factors and organizational issues. Yearbook of Medical Informatics, 29(1), 99-103. https://doi.org/10.1055/s-0040-1702012
Shimizu, H. E., Bezerra, J. C., Arantes, L. J., Merchán-Hamann, E., & Ramalho, W. (2021). Analysis of work-related accidents and ill-health in Brazil since the introduction of the accident prevention factor. BMC Public Health, 21(1), 1-10. https://doi.org/10.1186/s12889-021-10706-y
Thepaksorn, P, & Pongpanich, S. (2014). Occupational injuries and illnesses and associated costs in Thailand. Safety and Health at Work. 5(2), 66-72. https://doi.org/10.1016/j.shaw.2014.04.001
Thetkathuek A., Meepradit P., & Sa-Ngiamsak T. (2018). A cross-sectional study of musculoskeletal symptoms and risk factors in Cambodian fruit farm workers in Eastern Region, Thailand. Safety and Health at Work, 9(2), 192-202. https://doi.org/10.1016/j.shaw.2017.06.009
Villanueva, V., & Garcia, A. M. (2011). Individual and occupational factors related to fatal occupational injuries: A case-control study. Accident Analysis & Prevention, 43(1), 123-127. https://doi.org/10.1016/j.aap.2010.08.001
Wiegmann, D. A., Wood, L. J., Cohen, T. N., & Shappell, S. A. (2022). Understanding the “Swiss cheese model” and its application to patient safety. Journal of Patient Safety, 18(2), 119-123. https://doi.org/10.1097/PTS.0000000000000810
Wirth, T., Wendeler, D., Dulon, M., & Nienhaus, A. (2019). Sick leave and work-related accidents of social workers in Germany: An analysis of routine data. International Archives of Occupational and Environmental Health, 92(2), 175-184. https://doi.org/10.1007/s00420-018-1370-z
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว