การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง ที่มารับการผ่าตัดด้วยวิธีหนีบหลอดเลือดสมองที่โป่งพอง

ผู้แต่ง

  • สุมาลี ธรรมะ กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • อัจฉราวรรณ ทิพยรักษ์ กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • ศิรินาถ ศรีวัฒนพงศ์ กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • จันทร์ทิรา เจียรณัย สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • ศรัญญา จุฬารี สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คำสำคัญ:

รูปแบบการพยาบาล, โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง, การผ่าตัดด้วยวิธีหนีบหลอดเลือดสมองที่โป่งพอง, การโค้ช

บทคัดย่อ

การผ่าตัดหนีบหลอดเลือดของผู้ที่มีการแตกของหลอดเลือดสมองโป่งพอง และการดูแลที่มีคุณภาพจะช่วยป้องกันภาวะทุพพลภาพและรักษาชีวิตผู้ป่วยไว้ได้  การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่มารับการผ่าตัดด้วยวิธีหนีบหลอดเลือดสมองที่โป่งพอง (The clinical practice guideline for patients with intracerebral aneurysm undergoing aneurysm clipping surgery [CPG-IAACS]) 2) พัฒนาสมรรถนะพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยดังกล่าว และ 3) ศึกษาผลลัพธ์ทางการพยาบาลต่อผู้ป่วย การศึกษาแบ่งเป็น 4 ระยะ  คือ 1) ศึกษาบริบทและปัญหาร่วมกับพยาบาลห้องผ่าตัด 15 คน และยกร่าง CPG-IAACS  2) ประเมิน CPG-IAACS พบว่ามีคุณภาพตามเกณฑ์ AGREE II ร้อยละ 94.6 ซึ่งนำไปใช้ได้  3) ปรับปรุง CPG-IAACS และพัฒนาสมรรถนะพยาบาลที่ใช้ CPG-IAACS ด้วยเทคนิคการโค้ชแบบโกรว์ และ 4) นำแนวปฏิบัติไปใช้และประเมินผลกับพยาบาลผู้โค้ช 10 คน ผู้รับการโค้ช 9 คน และผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตาม CPG-IAACS 9 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินสมรรถนะการพยาบาลผู้ป่วยซึ่งมีค่าดัชนีความตรงทั้งฉบับเท่ากับ .90 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .88 และแบบบันทึกผลลัพธ์การพยาบาลต่อผู้รับบริการซึ่งมีค่าดัชนีความตรงทั้งฉบับเท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Wilcoxon signed rank test ผลการศึกษาพบว่า หลังใช้ CPG-IAACS ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อน 1 ราย จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลเฉลี่ย 14.75 วัน (SD = 9.85) และเสียชีวิต 1 ราย คะแนนเฉลี่ยสมรรถนะโดยรวมก่อนและหลังการใช้ CPG-IAACS ของพยาบาลผู้โค้ช และผู้รับการโค้ชแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (z = -2.23, p < .05 และ z  =  -2.38, p < .05 ตามลำดับ) จึงควรนำ CPG-IAACS ไปใช้อย่างต่อเนื่องและพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับผู้ป่วย

References

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (2565). จำนวนและอัตราผู้ป่วยในปี 2559-2563. สืบค้นจาก http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=14220&tid=32&gid=1-020

กัญจน์ชยารัตน์ อุดคำมี, พรธิดา ชื่นบาน, และกษณา จันทราโยธากร. (2563). ผลของการใช้เทคนิคการสอนงานพยาบาลวิชาชีพในการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วย เพื่อความปลอดภัยในการผ่าตัด โรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่, 28(2), 18-24.

ธิติมา แปงสุข, มาลี เอื้ออำนวย, และจุฑามาศ โชติบาง. (2560). ผลของการโค้ชต่อการปฏิบัติของพยาบาลในการจัดท่านอนทารกเกิดก่อนกำหนดที่ใส่ท่อหลอดลมคอ. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 44(3),1-8.

รุ่งอรุณ บุตรศรี, สหพันธ์ หิญชีระนันทน์, และปราณี มีหาญพงษ์. (2563). ผลของการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบโกรว์ของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้นต่อความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 26(2), 84-96.

โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. (2564). รายงานประจำปี 2564. นครราชสีมา : โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา.

ศิริรัตน์ ศิริวรรณ. (2557). การโค้ชเพื่อผลการปฏิบัติงานที่ยอดเยี่ยม. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

สภาการพยาบาล. (2553). สมรรถนะผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์. กรุงเทพฯ: ศิริยอดการพิมพ์.

สุพรพรรณ์ กิจบรรยงเลิศ, และวงจันทร์ เพชรพิเชฐเชียร. (2562). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดสมองหดเกร็งจากเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นอแรกนอยด์จากโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง: กรณีศึกษา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 35(1), 24-35.

สุมลา พรหมมา. (2559). รูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ชของผู้นำทางการพยาบาล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์, 11(2), 354-638

American Heart Association. (2021). 2021 heart disease and stroke statistics update fact sheet at-a-glance. Retrieved from https://www.heart.org/-/media/phd-files-2/science-news/2/2021-heart-and-stroke-stat-update/2021_heart_disease_and_stroke_statistics_update_fact_sheet_at_a_glance.pdf

Brouwers, M. C., Kho, M. E., Browman, G. P., Burgers, J. S., Cluzeau, F., Feder, G., Fervers, B., Graham, I.D., Grimshaw J., Hanna, S.E., Littlejohns, P., Makarski, J., & Zitzelsberger, L. (2010). AGREE II: advancing guideline development, reporting and evaluation in health care. Canadian Medical Association Journal, 182(18), E839-E842. https://doi.org/10.1503/cmaj.090449

Bull, N. B., Silverman, C. D., & Bonrath, E. M. (2020). Targeted surgical coaching can improve operative self-assessment ability: A single-blinded nonrandomized trial. Surgery, 167(2), 308-313. https://doi.org/10.1016/j.surg.2019.08.002

Gagnon, L. H., & Abbasi, N. (2018). Systematic review of randomized controlled trials on the role of coaching in surgery to improve learner outcomes. The American Journal of Surgery, 216(1), 140-146. https://doi.org/10.1016/j.amjsurg.2017.05.003

Saunders, H., Gallagher‐Ford, L., Kvist, T., & Vehviläinen‐Julkunen, K. (2019). Practicing healthcare professionals’ evidence‐based practice competencies: An overview of systematic reviews. Worldviews on Evidence‐Based Nursing, 16(3), 176-185. https://doi.org/10.1111/wvn.12363

Shah, K.B., Shrestha, S., Jaiswal, S.K., Qian, L.B., & Kui, C.L. (2018). Aneurysm clipping and outcome for Hunt & Hess grade 4, 5 subarachnoid hemorrhage - A literature review. Open Journal of Modern Neurosurgery, 8(2), 215-232. https://doi.org/10.4236/ojmn.2018.82018

Sheehan, T.O., Davis, N.W., Guo, Y., Kelly, D.L., Yoon, S.L., & Horgas, A.L. (2022). Predictors of time to aneurysm repair and mortality in aneurysmal subarachnoid hemorrhage. Journal of Neuroscience Nursing, 54(5), 182-189. https://doi.org/10.1097/jnn.0000000000000660

Soukup, S. M. (2000). The center for advanced nursing practice evidence-based practice model: Promoting the scholarship of practice. Nursing Clinics of North America, 35(2), 301-309. https://doi.org/10.1016/S0029-6465(22)02468-9

Tawk, R.G., Hasan, T.F., D’Souza, C.E., Peel, J.B. & Freeman, W.D. (2021). Diagnosis and treatment of unruptured intracranial aneurysms and aneurysmal subarachnoid hemorrhage. Mayo Clinic Proceedings, 96(7), 1970-2000. https://doi.org/10.1016/j.mayocp.2021.01.005

Whitmore, J. (2009). Coaching for performance: GROWing human potential and purpose (4th ed.). London: Nicholas Brealey Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-10