ผลของโปรแกรมการสอนแนะมารดาต่อพฤติกรรมในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด

ผู้แต่ง

  • เดือนเพ็ญ บุญมาชู คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ปิยะนันท์ นามกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี

คำสำคัญ:

การสอนแนะ, แอปพลิเคชันให้ความรู้, พฤติกรรมการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด

บทคัดย่อ

อัตราการคลอดทารกก่อนกำหนดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่วโลก ทารกที่เกิดก่อนกำหนดมักมีปัญหาสุขภาพรุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิตจากความไม่สมบูรณ์ของพัฒนาการ การดูแลทารกให้รอดชีวิต และมีพัฒนาการอย่างเหมาะสมต้องอาศัยความร่วมมือของบุคลากรด้านสุขภาพและครอบครัวโดยเฉพาะมารดา การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสอนแนะมารดาต่อพฤติกรรมมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นมารดาที่บุตรเข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง จำนวน 40 คนซึ่งได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งมารดาเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเปรียบเทียบซึ่งได้รับการพยาบาลตามปกติ (20 คน) และกลุ่มทดลองซึ่งได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับโปรแกรมการสอนแนะมารดาที่มีสื่อการสอนเป็นแอปพลิเคชันให้ความรู้ (20 คน) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดซึ่งมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา = .90 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก = .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองมารดาในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด (M = 3.71, SD = 0.11) สูงกว่ามารดาที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ (M = 3.07, SD = 0.18) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t(38) = -7.791, p < .001, d = 4.29) ดังนั้นพยาบาลที่รับผิดชอบดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดสามารถนำโปรแกรมการสอนแนะมารดาไปเป็นส่วนหนึ่งของแผนการจำหน่าย เพื่อช่วยให้มารดาสามารถดูแลทารกได้อย่างถูกต้อง อันจะส่งผลดีต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของทารกต่อไป

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย (Low Birth Weight Rate) ระดับเขตสุขภาพ. https://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/lbwr?year=2020

เขตสุขภาพที่ 7 กระทรวงสาธารณสุข. (2565). สถานการณ์การคลอดก่อนกำหนด และการดำเนินงานการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด เขตสุขภาพที่ 7. PPT Slide ที่ 3

จงลักษณ์ ทวีแก้ว, กัลยา บัวบาน, และปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์. (2562). เนื้อแนบเนื้อสัมผัสแรกรักจากแม่สู่ลูก: ความสำคัญและการปฏิบัติ. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์, 3(3), 1-10.

จิรัชยา ถาวะโร. (2564). การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทางคลินิกของทารกคลอดก่อนกำหนดระยะท้ายกับทารกคลอดครบกำหนด ในโรงพยาบาลหนองบัวลำภู. สรรพสิทธิเวชสาร. 42(2), 52-61.

จิราธิป เหลืองรุ่งโรจน์. (2564). อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคจอประสาทตาผิดปกติในทารกคลอดก่อนกำหนดในโรงพยาบาลมุกดาหาร. วารสารโรงพยาบาลนครพนม, 9(1), e256076, 1-13. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nkpjournal_9/article/view/256076

ชนิตา แป๊ะสกุล, คมเนตร โกณานนท์, และนันทนี พิทักษ์วานิชย์. (2564). ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยก่อนการเข้าเยี่ยมครั้งแรก ต่อความวิตกกังวลของมารดาทารกเกิดก่อนกําหนดในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 27(2), 81-95.

พัฒนพร ตรีสูนย์, และประนอม รอดคำดี. (2564). ผลของโปรแกรมการสอนแนะมารดาต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กวัยเตาะแตะโรคปอดอักเสบ. วารสารการพยาบาลและการสุขภาพ. 35(1), 55-63.

เพ็ญพิไล โพธิ์ทะเล, และวีณา จีระแพทย์. (2560). โปรแกรมการสอนแนะต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดเพื่อป้องกันการเสียชีวิตอย่างกะทันหัน. Chulalongkorn Medical Bullentin, 1(1), 71 – 78.

วนิสา หะยีเซะ, นุจรี ไชยมงคล, อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, และมยุรี ยีปาโล๊ะ. (2564). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนแอนดรอยด์ : ผลของการให้ความรู้ผ่านแอปพลิเคชันในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลตามวิถีมุสลิม. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 13(1), 39-55.

วรรษมน ปาพรม. (2561). ผลของโปรแกรมสนับสนุนและแอปพลิเคชันให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองและได้รับการรักษาโดยการส่องไฟ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 38(3), 167-178.

Best, J. W. & Kahn, V. J. (1995). Research in education (7th ed.). Prentice Hall.

Helfer, R. E., & Wilson, A. L. (1982). The parent-infant relationship promoting a positive beginning through perinatal coaching. Pediatric Clinics of America 29(2), 249-260. https://doi.org/10.1016/S0031-3955(16)34140-2

Jang G. J. (2020). Influence of a breastfeeding coaching program on the breastfeeding rates and neonatal morbidity in late preterm infants. Child Health Nursing Research, 26(3), 376–384. https://doi.org/10.4094/chnr.2020.26.3.376

Moore, M. L. (1983). Realities in child bearing (2nd ed.). W.B. Saunders.

North, K., Whelan, R., Folger, L. V., Lawford, H., Olson, I., Driker, S., Bass, M. B., Edmond, K., & Lee, A. C. C. (2022). Family involvement in the routine care of hospitalized preterm or low birth weight infants: A systematic review and meta-analysis. Pediatrics, 150(Suppl 1), e2022057092O. https://doi.org/10.1542/peds.2022-057092O

Ohuma, E. O., Moller, A. B., Bradley, E., Chakwera, S., Hussain-Alkhateeb, L., Lewin, A., Okwaraji, Y. B., Mahanani, W. R., Johansson, E. W., Lavin, T., Fernandez, D. E., Domínguez, G. G., de Costa, A., Cresswell, J. A., Krasevec, J., Lawn, J. E., Blencowe, H., Requejo, J., & Moran, A. C. (2023). National, regional, and global estimates of preterm birth in 2020, with trends from 2010: a systematic analysis. Lancet (London, England), 402(10409), 1261–1271. https://doi.org/10.1016/S0140-6736(23)00878-4

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2004). Nursing: principle and methods. Lippincott Williams & Wilkins.

World Health Organization. (‎2022)‎. WHO recommendations for care of the preterm or low-birth-weight infant. WHO. https://iris.who.int/handle/10665/363697. License: CC BY-NC-SA 3.0 IGO

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-15