ผลของการใช้กล่องของเล่นภูมิปัญญาไทยต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • ญาภัทร นิยมสัตย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ศรีมนา นิยมค้า คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วีระยุทธ อินพะเนา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • พิชญาณัฏฐ์ แก้วอำไพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • วิไล ผดุงตาล ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสวนหม่อน จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

กล่องของเล่นภูมิปัญญาไทย, พัฒนาการ, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

เด็กปฐมวัยเป็นช่วงวัยสำคัญต่อการพัฒนาให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าของประเทศ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากล่องของเล่นภูมิปัญญาไทยและศึกษาประสิทธิผลต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 72 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย กลุ่มละ 36 คน โดยทั้งสองกลุ่มมีอายุ และเพศอยู่ในระดับเดียวกัน กลุ่มทดลองได้รับการส่งเสริมพัฒนาการด้วยกล่องของเล่นภูมิปัญญาไทย ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการส่งเสริมพัฒนาการตามแนวปฏิบัติของศูนย์ เป็นเวลา 1 เดือน เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบวัดพัฒนาการด้านจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย 2) แบบวัดพัฒนาการด้านเพศสำหรับเด็กปฐมวัย 3) แบบบันทึกการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามช่วงอายุ โดยเครื่องมือมีค่าความเชื่อมั่น 0.75 0.77 และ 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ Wilcoxon signed rank test  สถิติ Mann Whitney U test สถิติ Chi square test สถิติ t-test และสถิติ Generalized Estimating Equation ผลการศึกษาพบว่า พัฒนาการของเด็กปฐมวัยภายหลังการส่งเสริมด้วยกล่องของเล่นภูมิปัญญาไทยสูงกว่าก่อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และพัฒนาการของเด็กปฐมวัยกลุ่มที่ส่งเสริมด้วยกล่องของเล่นภูมิปัญญาไทยสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการตามแนวปฏิบัติของศูนย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) จึงสามารถนำกล่องของเล่นภูมิปัญญาไทยไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต่อไป

References

กุสุมาลี โพธิปัสสา. (2562). การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 22(3), 115-128.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM). องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560). โครงการสำรวจสถานการณ์พัฒนาการและพฤติกรรมการ

เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของครอบครัวไทย ปี 2560. กระทรวงสาธารณสุข.

จินตนา นิลทวี, และสมพร ชาลีเครือ. (2564). การพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทย. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 8(1), 57-66.

จินตนา พัฒนพงศ์ธร. (2561). รายงานการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทยครั้งที่ 6 พ.ศ.2560. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย.

จันทร์เพ็ญ ไชยมงคล, และปัทมาวดี เล่ห์มงคล. (2564). ผลของการจัดกิจกรรมการเล่นวัสดุสร้างสรรค์ที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านความรู้สึกเชิงจำนวนสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 13(2), 468-484.

ชุลีพร นาหัวนิล, นนทชนนปภพ ปาลินทร, อภิรดี ไชยกาล, และชลิลลา บุษบงก์. (2563). การใช้กิจกรรมการละเล่นของเด็กไทยเพื่อส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อใหญ่ สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(3), 379-390.

ธนวัฒน์ ปากหวาน. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคฟลอร์ไทม์ร่วมกับเล่นปนเรียนแบบพื้นบ้านและกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นการสื่อสาร และมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ สำหรับเด็กออทิสติกระดับช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 18(1), 203-220.

บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ, และบุษบา อรรถาวีร์. (2566). การศึกษาสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย: ศูนย์อนามัยที่ 5 ปี 2564. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 33(1), 102-117.

ปฐม นวลคำ. (2560). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดแม่ฮ่องสอน . วารสารสุขภาพประชาชน, 12(1), 36-45.

ปัทมา ศิวะโกศิษฐ, และวิมลทิพย์ มุสิกพันธ์. (2562). ผลของการเล่านิทานและบทบาทของนิทานในการส่งเสริมพฤติกรรมทางจริยธรรมของเด็กปฐมวัยที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 30(1), 178-188.

ฟาลาตี หมาดเต๊ะ. (2557). ผลของการฝึกการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

รมร แย้มประทุม. (2559). ความสำคัญของการเล่นต่อพัฒนาการในเด็ก. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 6(3), 275-281.

สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์, รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์, ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย, บานชื่น เบญจสุวรรณเทพ, อดิศร์สุดา เฟื่องฟู, จริยา จุฑาภิสิทธิ์ และพัฏ โรจน์มหามงคล. (บ.ก.). (2561). ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก เล่ม 4. บริษัท พี. เอ.ลิฟวิ่ง จำกัด.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2566-2580 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อรวรรณ ชมดง, และอรทัย เพียยุระ. (2557). เพศวิถีและสังคมไทยในวรรณกรรมเพลงลูกทุ่ง. วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(2), 77-98.

Balter, A. S., van Rhijn, T. M., & Davies, A. W. (2016). The development of sexuality in childhood in early learning settings: An exploration of early childhood educators' perceptions. The Canadian Journal of Human Sexuality, 25(1), 30-40. https://doi.org/10.3138/cjhs.251-A3

Bandura, A. (1989). Human agency in social cognitive theory. American Psychologist, 44(9), 1175. https://doi.org/10.1037/0003-066X.44.9.1175

Durojaiye, S. M. (1977). Children's traditional games and rhymes in three cultures. Educational Research, 19(3), 223-226. https://doi.org/10.1080/0013188770190307

Freud, S. (1977). Introductory lectures on psychoanalysis. WW Norton & Company.

Glass, G. V., McGaw, B., & Smith, M. L. (1981). Meta-analysis in social research (Vol. 56). Sage Publication.

Kohlberg, L. (1981). The philosophy of moral development. Harper & row.

Olson, W.C. (1959). Child Development (2nd ed.). Heath.

Olusanya, B.O., Davis, A.C., Wertlieb, D., Boo, N-Y., Nair, M.K.C., Halpern, R., Kuper, H., Breinbauer, C., de Vries, P.J., Gladstone, M., Halfon, N., Kancherla, V., Mulaudzi, M.C., Kakooza-Mwesige, A., Ogbo, F.A., Olusanya, J.O., Williams, A.N., Wright, S.M., Manguerra, H., … Kassebaum, N.J. (2018). Developmental disabilities among children younger than 5 years in 195 countries and territories, 1990-2016: A systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2016. The Lancet Global Health, 6(10), e1100-e1121. https://doi.org/10.1016/S2214-109X(18)30309-7

Pahenra, P., Winarni, W., Salma, S., Amaludin, R., & Amalia, W. S. (2021). Engklek: A Traditional Play to Improve Children’s Cognitive. AWLADY: Jurnal Pendidikan Anak, 7(2), 198-210. https://doi.org/10.24235/awlady.v7i2.8299

Piaget, J. (1963). The origins of intelligence in children. W.W. Norton & Company.

Polit, D.F. (2010). Statistic and analysis for nursing research (2nd ed.). Pearson Education.

Walker, S. P., Wachs, T. D., Grantham-McGregor, S., Black, M. M., Nelson, C. A., Huffman, S. L., Baker-Henningham, H., Chang, S.M., Hamadani, J.D., Lozoff, P.B., Gardner, M. M., Powell, C.A., Rahman, P.A. & Richter, L. (2011). Inequality in early childhood: risk and protective factors for early child development. The lancet, 378(9799), 1325-1338. https://doi.org/10.1016/S0140-6736(11)60555-2

World Health Organization. (2020). Improving early childhood development: WHO guideline. World Health Organization. https://www.who.int/publications/i/item/97892400020986

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-08