การรับรู้และการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของ บุคลากรวิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ

ผู้แต่ง

  • จิรภิญญา คำรัตน์ วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ
  • นิตยา สุขแสน วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ
  • สิริพร บุญเจริญพานิช วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ
  • ศุภิศา มาลาฝอย วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ

คำสำคัญ:

การรับรู้, การมีส่วนร่วม, การประกันคุณภาพการศึกษา

บทคัดย่อ

การประกันคุณภาพการศึกษา เป็นภารกิจสำคัญอย่างหนึ่งของสถาบันการศึกษา ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของบุคลากรทุกระดับในสถาบัน การศึกษาเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการรับรู้และการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ จำแนกตามสายการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร อาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนของวิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ จำนวน 61 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงสิงหาคมถึงกันยายน 2565  เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้และการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา 3 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล  2) แบบสอบถามการรับรู้การประกันคุณภาพการศึกษา 3) แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน วิเคราะห์หาความเที่ยงของแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค  เท่ากับ 0.87-0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม  ผลการวิจัย พบว่าการรับรู้ในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศอยู่ในระดับมาก (M = 4.29, SD = 0.32) การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ อยู่ในระดับมาก (M = 4.11, SD = 0.75) และบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ มีการรับรู้ในการประกันคุณภาพการศึกษา จำแนกตามสายการปฏิบัติงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F (2, 58) = 3.873, p = .026) จากผลการวิจัยผู้บริหารสถาบันควรมีแนวทางเสริมสร้างการรับรู้ในงานประกันคุณภาพการศึกษาให้แก่บุคลากรสายสนับสนุนซึ่งมีส่วนสำคัญในการช่วยดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาต่อไป

References

กชกร ดาราพาณิชย์, และกุสุมา ดาพิทักษ์. (2555). การรับรู้ การมีส่วนร่วมและการยอมรับของบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ต่อการประกันคุณภาพการศึกษา. (รายงานการวิจัย).มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี.

งานประกันคุณภาพการศึกษา, สำนักงานอธิการบดี. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

ณัชชา มณีวงศ์. (2566). การรับรู้และความเข้าใจในงานประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 43(2),97-108.

ทรัพย์อนันต์ พละบุตร, และสถาพร บริบูรณ์วัฒน์. (2565). แรงจูงใจต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 17(2),28-36.

บุรพร กำบุญ, และชลกนก โฆษิตคณิน. (2560). การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของ บุคลากรทางการศึกษามหาวิทยากรุงเทพธนบุรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 10(1), 1746 -1757.

พนิดา วัชระรังสี. (2558). การรับรู้และการมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรระดับอุดมศึกษา เขตนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 1(1), 21-30.

เพ็ญศรี จึงธนาเจริญเลิศ, และภัชญา ธงศิลา. (2553). ความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของบุคลากรต่อการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสระบุรี, 4(3), 92-105.

รำไพ หมั่นสระเกษ, วราพร ตัณฑะสุวรรณะ, และจงกลณี ตุ้ยเจริญ. (2557). การมีส่วนร่วมและปัญหาอุปสรรคจากการมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพของบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา, 20(2), 46-57.

รุ่งเรือง สิทธิจันทร์. (2560). การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. Pulinet Journal, 4(3), 105-112.

วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ (2561). รายงานการประเมินตนเอง วพอ.พอ. (ระดับสถาบัน) ประจำปีการศึกษา 2561. วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ.

วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ (2561). รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน วพอ.พอ. (ระดับหลักสูตร) ประจำปีการศึกษา 2561. วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ.

วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ (2561). รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน วพอ.พอ. (ระดับสถาบัน) ประจำปีการศึกษา 2561. วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ.

สำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2557). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา ฉบับปีการศึกษา 2557. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2558 (ระดับหลักสูตร). สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สุบิน ยุระรัช. (2558). องค์ประกอบและแนวทางการทำประกันคุณภาพอย่างมีความสุขของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(2), 46-56.

Best, John W.(1981). Research in education (3rd ed.). Prentice. Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-03