ความไวต่อการรับรู้และการตัดสินใจเชิงจริยธรรมการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

ผู้แต่ง

  • พนมพร กีรติตานนท์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • บุบผา ดำรงกิตติกุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • สุนีย์รัตน์ บุญศิลป์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ความไวต่อการรับรู้ทางจริยธรรม , การตัดสินใจเชิงจริยธรรมการพยาบาล , จริยธรรมการพยาบาล

บทคัดย่อ

ความไวต่อการรับรู้และการตัดสินใจเชิงจริยธรรมการพยาบาล เป็นปัจจัยพื้นฐานที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของพยาบาล งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความไวต่อการรับรู้และการตัดสินใจเชิงจริยธรรมการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 – 4 วิทยาลัยพยาบาลในสังกัดคณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จากเขตพื้นที่ 4 ภาค รวม 8 วิทยาลัย จำนวน 420  คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดความไวต่อการรับรู้จริยธรรมการพยาบาลและแบบวัดการตัดสินใจเชิงจริยธรรมการพยาบาลซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก เท่ากับ 0.87 และ 0.93  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัย พบว่า ความไวต่อการรับรู้จริยธรรมการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล มีค่าเฉลี่ยโดยรวมในระดับปานกลาง (M = 3.18, SD = 0.27) และการตัดสินใจเชิงจริยธรรมการพยาบาล มีค่าเฉลี่ยโดยรวมในระดับปานกลาง (M =  2.61, SD = 0.78) การเปรียบเทียบความแตกต่างความไวต่อการรับรู้และการตัดสินใจเชิงจริยธรรมการพยาบาลของนักศึกษา พบว่า นักศึกษาที่มีระดับชั้นปีแตกต่างกัน มีความไวต่อการรับรู้จริยธรรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05    (F (4170) = 13.56) และ มีการตัดสินใจเชิงจริยธรรมการพยาบาลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  (F(4170) = 4.498) ผลการศึกษาเป็นข้อมูลในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างนักศึกษาพยาบาลให้มีจริยธรรมทางการพยาบาลเพิ่มมากขึ้น

References

จงกลนี กิติยานันท์. (2559). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของผู้บริหารการพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยคริสเตียน].

ปราณี จุลกศิลป์, ทัศนีย์ นะแส, และประภาพร ชูกำเนิด. (2564). การตัดสินใจเชิงจริยธรรมของพยาบาลผู้จัดการรายกรณี โรคเรื้อรังโรงพยาบาลทั่วไปในภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 41(3), 24-34.

พรศิริ พันธสี, และเจตจรรยา บุญญกูล. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมและการปฏิบัติตามกฎหมายในการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 10(1), 81-94.

เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, และสายสมร เฉลยกิตติ. (2560). การตัดสินใจเชิงจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของพยาบาลไทยตามการรับรู้ของผู้บริหารทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(1), 194-205.

วรรณประภา เอี่ยมฤทธิ์.(2559). พฤติกรรมและจริยธรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี.[วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยบูรพา]

วรรัตน์ มากเทพพงษ์, ศิริชัย เตรียมล้ำเลิศ, และปอลิน กองสุวรรณ. (2565). การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชั่นเพื่อประเมินและให้ความรู้ในการป้องกันและดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 15(3), 87-103.

อภิญญา อินทรรัตน์, วรรณี แกมเกตุ, และสุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เรื่องเล่าจากประสบการณ์. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 43(2), 123-140.

อรัญญา เชาวลิต, และทัศนีย์ นะแส. (2559). การจัดการศึกษาจริยศาสตร์ในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. วารสารพยาบาลสงลานครินทร์, 36(3), 261-270.

อริยา ดีประเสริฐ, ศิริพร นันทเสนีย์, และอันธิฌา สายบุญศรี. (2565). ผลของการบูรณาการจริยธรรมในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลต่อความสามารถ ในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม และพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 18(3), 123-137.

Comric, R.W. (2012). An analysis of undergraduate and graduate student nurse moral sensitivity. Nursing Ethics, 19(1),116-127.

Park, M., Kjervik, D., Crandell, J., & Oermann, M. H. (2012). The relationship of ethics education to moral sensitivity and moral reasoning skills of nursing students. Nursing ethics, 19(4), 568-580. doi:10.1177/0969733011433922

Polit, D. F. (2010). Statistics and data analysis for nursing research (2nded). Edwards Brothers.

Rest, J. R. (1989). Moral development: Advances in research and Theory (5th ed.). Praeger.

Robichaux, C. (2012). Developing ethical skills: From sensitivity to action. Critical Care Nurse, 32(2), 65-72. doi:10.4037/ccn2012929

Shayestehfard, M., Torabizadeh, C., Gholamzadeh, S., & Ebadi, A. (2020). Ethical sensitivity in nursing students: Developing a context–based education. Electronic Journal of General Medicine, 17(2), em195. doi:10.29333/7812

Thompson, I. E., Melia, K. M., Boyd, K. M., & Horsburgh, D. (2006). Nursing Ethics (5th ed.). Elsevier.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25