การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจ บริหารยามอร์ฟีนในสถานการณ์จำลองทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • ธีรวัฒน์ ช่างปัด โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุมลชาติ ดวงบุบผา โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

สื่อการเรียนรู้ออนไลน์, ความสามารถในการตัดสินใจทางคลินิก, การบริหารยามอร์ฟีน, สถานการณ์จำลองทางคลินิก, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การพัฒนาความรู้และเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจบริหารยามอร์ฟีนเป็นสิ่งที่จำเป็น เนื่องจากยามอร์ฟีนเป็นยาที่มีความเสี่ยงสูง หากบริหารยาผิดพลาด อาจส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของสื่อ 2) เปรียบเทียบคะแนนความรู้เรื่องยามอร์ฟีนก่อนและหลังการใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ 3) ประเมินความสามารถในการตัดสินใจบริหารยามอร์ฟีน และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาต่อสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลรามาธิบดี ชั้นปีที่ 3 จำนวน 30 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยได้แก่ 1) สื่อการเรียนรู้ออนไลน์เรื่องยามอร์ฟีน 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน       4) แบบสังเกตความสามารถในการตัดสินใจบริหารยามอร์ฟีนในสถานการณ์จำลอง และ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาต่อสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ เครื่องมือข้อ 3-5 มีค่าความเที่ยงที่ยอมรับได้ ดังนี้ ข้อ 3 มีค่าคูเดอร์-ริชาร์ตสัน (KR-20) = .80 ข้อ 4 มีค่าความเที่ยงระหว่างผู้สังเกต (Interrater reliability) = 90.56%  และข้อ 5 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก (gif.latex?\alpha) = .93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและค่าสถิติทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพของสื่อ (E1/E2) = 85.42/92.33 นักศึกษามีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องยามอร์ฟีนหลังการใช้สื่อ (M = 9.23, SD = 1.07) สูงกว่าก่อนการใช้สื่อ (M = 5.47, SD = 1.53) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t(29) = -12.471, p = .001) และความสามารถในการตัดสินใจบริหารยามอร์ฟีนโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 0.89, SD = 0.16) ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อสื่อการเรียนรู้ออนไลน์โดยรวมในระดับมาก (M = 4.37, SD = 0.44) ดังนั้น สื่อการเรียนรู้ออนไลน์สามารถใช้เพิ่มความรู้และส่งเสริมความสามารถในการตัดสินใจบริหารยามอร์ฟีนของนักศึกษาพยาบาลได้

References

จรูญศรี มีหนองหว้า, วิษณุ จันทร์สด, และไวยพร พรมวงค์. (2565). ผลการใช้แอปพลิเคชันเพื่อพัฒนาความรู้และการตัดสินทางคลินิกสำหรับนักศึกษาพยาบาล ในการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะสับสนเฉียบพลัน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 16(1), 299-312.

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2561). ยูบิควิตัสเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการเรียนรู้: การออกแบบที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์ วิจัย, 5(1), 7-20.

ตรีชฎา ปุ่นสำเริง, และสุพรรณี กัณหดิลก. (2560). การตัดสินทางคลินิก: ทักษะจำเป็นสำหรับการปฏิบัติการพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 18(35), 81-94.

นพมาศ ปลัดกอง. (2561). เทคนิคนั่งร้านเสริมเรียนรู้: องค์ความรู้และการประยุกต์ใช้กับบริบทอุดมศึกษาไทย. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 24(1), 117-128.

นวรัตน์ โกมลวิภาต และปรางค์ทิพย์ อุจะรัตน. (2565). ประสิทธิผลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การสวนปัสสาวะชนิดคาสายสวนในเพศชายสำหรับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 รายวิชาการพยาบาลพื้นฐาน. วารสารวิจัยทางการพยาบาล การผดุงครรภ์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 42(2), 62-72.

นุสรา นามเดช, ดวงดาว อุบลแย้ม, นงคาร รางแดง, และพนิดา เหลืองประทีป. (2564). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง การพยาบาลโรควิตกกังวล สำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 14(1), 48-62.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564, 20 เมษายน). รายงานผลการประเมินการเรียนการสอน. ระบบประเมินการเรียนการสอน. http://www.student.mahidol.ac.th/evaluation

รณชัย คนบุญ, วริศรา ปั่นทองหลาง, และเสาวนีย์ ชูจันทร์. (2565). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาลในวิถีความปกติใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 35(1), 1-12.

ศศิวิมล บูรณะเรข, สุทธานันท์ กัลกะ, มาลินี อยู่ใจเย็น, และจารุวรรณ ก้านศรี. (2563). การพัฒนา “ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ความรู้พื้นฐาน สุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช” สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(1), 94-106.

ศิวพร อึ้งวัฒนา, สสุกฤตา ใจชมชื่น, และวิลาวัณย์ เตือนราษฎร์. (2565). การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่องการตรวจร่างกายตามระบบ ต่อทักษะปฏิบัติและความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาล. พยาบาลสาร, 49(2), 112-127.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 –2579 (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุธิศา ล่ามช้าง, ฐิติมา สุขเลิศตระกูล, และปรีชา ล่ามช้าง. (2562). การพัฒนาสื่อมัลติมิเดียเรื่องการบริหารยาในเด็กสำหรับนักศึกษาพยาบาล. พยาบาลสาร, 46(1), 114-125.

สุมลชาติ ดวงบุบผา, สุนทรี เจียรวิทยกิจ, พรศิริ พิพัฒนพานิช, และธีรวัฒน์ ช่างปัด. (2565). ผลของสถานการณ์จำลองทางคลินิกต่อความมั่นใจของนักศึกษาพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพและปลอดภัย. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 28(3), 415-432.

สุริย์ฉาย คิดหาทอง, และอัศวินี ตันกุริมาน. (2565). ผลของการใช้สื่อมัลติมีเดียร่วมสอนต่อความรู้และทักษะในการสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสารเพื่อการบำบัดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 32(1), 14-26.

แสงอาทิตย์ วิชัยยา, เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล, และอภิรดี นันท์ศุภวัฒน์. (2563). การพัฒนาความรู้ของพยาบาลด้วยการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิด. พยาบาลสาร, 47(4), 384-395.

หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี (2563). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. สืบค้นจาก https://intra9.rama.mahidol.ac.th/nursing/rans/mko/mko4.php

Kuder, G. F., & Richardson, M. W. (1937). The theory of the estimation of test reliability. Psychometrika, 2(3), 151-160. https://doi.org/10.1007/BF02288391

McGriff, S. J. (2000). Instructional system design (ISD): Using the ADDIE model. Instructional Design Models, 226(14), 1-2.

Mulyadi, M., Tonapa, S. I., Rompas, S. S. J., Wang, R. H., & Lee, B. O. (2021). Effects of simulation technology-based learning on nursing students' learning outcomes: A systematic review and meta-analysis of experimental studies. Nurse Education Today, 107, 105127. https://doi.org/10.1016/j.nedt.2021.105127

Tanner, C. A. (2006). Thinking like a nurse: A research-based model of clinical judgment in nursing. Journal of Nursing Education, 45(6), 204-211. https://doi.org/10.3928/01484834-20060601-04

Vygotsky, L. S. (1980). Mind in society: The development of higher psychological processes. Cambridge: Harvard University Press. https://doi.org/10.2307/j.ctvjf9vz4

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-02