ผลของโปรแกรมการลดการสูบบุหรี่โดยใช้การรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการลดการสูบบุหรี่อย่างมีส่วนร่วมของนักศึกษาที่ติดบุหรี่

ผู้แต่ง

  • เขมิกา ณภัทรเดชานนท์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ภัควรินทร์ ภัทรศิริสมบูรณ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • จิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

โปรแกรมการลดการสูบบุหรี่, การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, พฤติกรรมการลดการสูบบุหรี่

บทคัดย่อ

การสูบบุหรี่ เป็นอันตรายและส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจ และสังคม บุหรี่เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญที่สุดของโรคที่สามารถป้องกันได้ การวิจัยกึ่งทดลองแบบศึกษากลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของนักศึกษาก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมการลดการสูบบุหรี่ โดยใช้การรับรู้สมรรถนะแห่งตน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่ติดบุหรี่ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 20 คน เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการสอนตามทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา .60; 2) แบบประเมินระดับการติดนิโคติน (Fagerstrom Test for Nicotine Dependence [FTND]) ฉบับแปลเป็นภาษาไทย มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .86 และ 3) ชุดตรวจกรองสารโคตินินในปัสสาวะอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา Wilcoxon signed rank test และ McNemar test ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองนักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยระดับการติดนิโคตินลดลงจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (Z = -2.277, p = .023) และพบสารโคตินินในปัสสาวะลดลงจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 จึงสรุปได้ว่า นักศึกษามีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ลดลง ดังนั้น การศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสังคมหรือพื้นที่อื่นเพื่อให้เกิดพฤติกรรมการลดการสูบบุหรี่ได้

References

กองสถิติสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). การสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร พ.ศ. 2564. กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ. (2561). คู่มือการเลิกบุหรี่สำหรับประชาชน (พิมพ์ครั้งที่ 8). ห้างหุ้นส่วนจำกัด สินทวีกิจ พริ้นติ้ง.

จินดารัตน์ ตระกูลทอง, จุฬารัตน์ ปริยชาติกุล, ลิ่มทอง พรหมดี, และวิสุทธิ์ กังวานตระกูล. (2554). การทดสอบชุดตรวจกรองสารนิโคตินในปัสสาวะ. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยและโปสเตอร์เพื่อการควบคุมยาสูบ (หน้า 47). กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี.

ปราณี แผนดี, และธนัช กนกเทศ. (2563). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการลดสูบบุหรี่ต่อพฤติกรรมการลดสูบบุหรี่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมการนําเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 15 ปีการศึกษา 2563, 15(2563), 2914-2925. https://rsujournals.rsu.ac.th/index.php/rgrc/article/view/1796/1389

ผ่องศรี ศรีมรกต. (2550). การบำบัดเพื่อช่วยให้เลิกบุหรี่. โรงพิมพ์ NP Press Limited Partnership.

ไพฑูรย์ วุฒิโส, ภัควรินทร์ ภัทรศิริสมบูรณ์, และบวรวิช รอดรังษี. (2565). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารพยาบาล, 71(1), 1-9.

ลิ่มทอง พรหมดี, พรทิวา มาเมือง, สุทธิกานต์ สมบัติธีระ, และจินดารัตน์ ตระกูลทอง. (2550). ผลเปรียบเทียบการตรวจวัดโคตินีนในปัสสาวะด้วยวิธีเทียบสีและชุดสำเร็จในหญิงตั้งครรภ์ที่สัมผัสควันบุหรี่มือสอง. วารสารเทคนิคการแพทย์ , 40(3), 4357-4365.

ศิริญญา ชมขุนทด, พรนภา หอมสินธุ์, และรุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์. (2557). ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนและการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อความมั่นใจในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และความตั้งใจไม่สูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชาย. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 9(1), 91-103.

สุรีรัตน์ เวียงกมล, พรนภา หอมสินธุ์, และรุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์. (2560). ต้นทุนชีวิตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ระยะแรกของนักเรียนชายชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารพยาบาลสาธารณสุขไทย, 31(2), 89-108.

หทัยทิพย์ ราชคมน์. (2560). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาต่อความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่ของผู้ที่สูบบุหรี่ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบง ตำบลเจริญเมือง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยพะเยา.

อรณิช ชำนาญศิลป์, และเอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2565). ประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมสุขศึกษาตามทฤษฎีความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกสิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนนทบุรี. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 30(1), 88-99.

อ้อยทิพย์ บัวจันทร์, และเมวดี ศรีมงคล. (2557). การสูบบุหรี่: สถานการณ์และพฤติกรรมของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ. วารสารพยาบาล, 63(1), 35-42.

อารม คงพัฒน์, และกุลชลี ตันติรัตนวงศ์. (2558). ผลของการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนเพื่อการป้องกันการสูบบุหรี่ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนตำบลเกาะศรีบอยา อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(3), 409-426.

อัญชัญ จันทราภาส, สุรินธร กลัมพากร, วิไลรัตน์ รุจิวัฒนพงศ์, และแอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ. (2564). ประสิทธิผลของโปรแกรมช่วยเลิกบุหรี่ในพนักงานสถานประกอบการ จังหวัดนครปฐม. วารสารพยาบาล, 70(1), 21-27.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. W H Freeman/Times Books/ Henry Holt & Co.

Collins, B. N., Lepore, S. J., Winickoff, J. P., & Sosnowski, D. W. (2020). Parents' self-efficacy for tobacco exposure protection and smoking abstinence mediate treatment effects on child cotinine at 12-month follow-up: Mediation results from the kids safe and smokefree trial. Nicotine & Tobacco Research: Official Journal of the Society for Research on Nicotine and Tobacco, 22(11), 1981–1988. https://doi.org/10.1093/ntr/ntz175

Ebel, R. L., & Frisbie, D. A. (1986). Essentials of educational measurement (4th ed.). Prentice-Hall.

Fishbein, M., & Ajzen, I. (1975). Belief, Attitude, Intention, and Behavior: An Introduction to Theory and Research. Addison-Wesley.

Fleiss, J.L. (1981). Statistical method for rate and proportion (2nd ed.). John Willey & Son.

Tucker, J. S., Linnemayr, S., Pedersen, E. R., Shadel, W. G., Zutshi, R., DeYoreo, M., & Cabreros, I. (2021). Pilot randomized clinical trial of a text messaging-based intervention for smoking cessation among young people experiencing homelessness. Nicotine & Tobacco Research: Official Journal of the Society for Research on Nicotine and Tobacco, 23(10), 1691–1698. https://doi.org/10.1093/ntr/ntab055

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-30