ผลการสร้างเสริมสุขภาพโดยประยุกต์ใช้หลัก สบช. โมเดล ในนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา มีนาสันติรักษ์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • กัญยา ทูลธรรม วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การสร้างเสริมสุขภาพ, ประยุกต์ใช้หลัก สบช. โมเดล, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

นักศึกษาพยาบาลใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเรียนและการใช้สื่อออนไลน์ โดยละเลยการออกกำลังกาย ดังนั้นนักศึกษาพยาบาลจึงควรได้รับการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อให้มีสุขภาพดี การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการสร้างเสริมสุขภาพโดยประยุกต์ใช้หลักสถาบันพระบรมราชชนก (สบช.) โมเดล ในการสร้างเสริมสุขภาพตามกิจกรรมออกกำลังกายตามอัธยาศัยและ “3 อ.” คือ พฤติกรรมด้านอาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์  กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 1-4 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม จำนวน 529 คน ที่เลือกอย่างเจาะจง ได้รับการประเมิน ค่าดัชนีมวลกาย รอบเอว และความดันโลหิต แล้วคัดแยกนักศึกษาออกเป็นกลุ่มย่อย โดยประยุกต์ใช้ปิงปองสีจราจรชีวิต 7 สี เป็นตัวกำหนดระดับความผิดปกติของภาวะสุขภาพ กำหนดให้กลุ่มเข้าร่วมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพโดยประยุกต์ใช้หลัก สบช. โมเดล  เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง ด้วยแบบสอบถามการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล เครื่องชั่งน้ำหนัก สายวัดรอบเอว และเครื่องวัดความดันโลหิต ผลการวิจัย พบว่ากิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพโดยประยุกต์ใช้หลัก สบช. โมเดล ทำให้เกิดประโยชน์ 3 ลำดับแรก ได้แก่ คลายเครียด รู้สึกสดชื่น และ สนุกสนาน คิดเป็นร้อยละ 71.46, 70.70 และ 70.51 ตามลำดับ โดยมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับมาก (M = 4.50, SD = 0.70)  หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยรอบเอว และความดันโลหิตลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .001, .001, .004 ตามลำดับ)  ในขณะที่ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย ไม่แตกต่างจากเดิม ดังนั้นการสร้างเสริมสุขภาพตามหลัก สบช. โมเดลนี้สามารถนำไปใช้เพื่อลดขนาดรอบเอว และความดันโลหิตในนักศึกษาพยาบาลได้

References

กรมสุขภาพจิต. (2563, 21 พฤศจิกายน). รู้จัก เซโรโทนิน สารที่มีผลต่ออารมณ์ความรู้สึก. https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30507

กรมอนามัย. (2562, 10 กันยายน). ออกกำลังกาย คลายเครียด สื่อมัลติมีเดียกรมอนามัย. https://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/exercise2

กองยุทธศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก. (2565). รายงานสรุปการประชุมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของสถาบันพระบรมราชชนก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (สบช. โมเดล). สถาบันพระบรมราชชนก.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. ประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ฉบับปรับปรุงปี 2561. http://www.hed.go.th/news/3268

ณินญาภร ใจยอด, และอนุกูล มะโนทน. (2566) ประสิทธิผลการประยุกต์แนวคิดแบบแผนความเชื่อด้าน

สุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลดภาวะโรคอ้วนของบุคลากรโรงพยาบาลสุโขทัย อำเภอเมืองจังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 9(1), 54-68.

ดวงพร สุรพงษ์พิวัฒนะ. (2565, 19 มกราคม). เคล็ดลับบอกลาความเครียด.

https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2469

นสหชม เอโหย่, วิภาพร สิทธิสาตร์, และสุรีรัตน์ ณ วิเชียร. (2565). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพตามแนวคิด สบช. โมเดลในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, 5(2), 129-139.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย:คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวิริยาสาส์น.

ปัทมาวดี สิงหจารุ. (2559). การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ. โอเดียนสโตร์.

ภณิดา หยั่งถึง. (2565). ผลของการออกกำลังกายแบบใช้น้ำหนักร่างกายกับแบบแอโรบิกที่มีต่อค่าดัชนีมวลกายค่าไขมันที่เกาะอยู่ตามอวัยวะภายในบริเวณช่องท้องและค่เปอร์เซ็นต์ไขมันของผู้มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 14(3), 57-69.

มิ่งขวัญ ศิริโชติ. (2562). การบริหารกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน. วารสารวิชาการ สถาบัน

วิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 5(2), 289-296.

วัชรินทร์ เสมามอญ. (2562). ผลการใช้โปรแกรมการลดน้ำหนักสำหรับนักศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 5(2), 61-70.

วัลลภา ดิษสระ, และพิมพวรรณ เรืองพุทธ. (2563). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเฉพาะที่ต่อภาวะสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(6), 207-216.

วิชัย เทียนถาวร. (2556). ระบบการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกัน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงใน ประเทศไทย:นโยบายสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

วิดาพร ทับทิมศรี, และจินตนา รังษา. (2564). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อดัชนีมวลกายและ

พฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลรมราชชนนี กรุงเทพ. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 37(2), 251-262.

วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม. (2565). รายงานผลการตรวจสุขภาพและภาวะสุขภาพประจำปีของนักศึกษาปีการศึกษา 2565. กลุ่มกิจการนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม.

สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ประวัติความเป็นมา สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. https://www.pi.ac.th/page/41

สรายุธ มงคล, พัสวี ห่านสุวรรณากร, สุวัจนี มิคผล, และกมลชนก ศิวะกฤษณะกุล. (2562). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเจ็ดนาทีต่อเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายในคนอ้วนเพศหญิง. ศรีนครินทร์เวชสาร, 34(1), 75-82.

สราวุฒิ พงษ์พิพัฒน์, ภัทร ยันตรกร, และธัชกร พุกกะมาน. (2560). พฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 1(1), 34-45.

สิทธา พงษ์พิบูลย์. (2556). คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข การป้องกันและบำบัดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยการออกกำลังกาย โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สิรชัช จันทร์รัศมี, และจินตนา สรายุทธพิทักษ์. (2560). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายตามทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคที่มีต่อการลดความเครียดของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารครุศาสตร์, 45(4), 207-233.

องค์การอนามัยโลก. (2556). รายงานการประชุมระดับโลกเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ : พัฒนาการสำคัญของ

การสร้างเสริมสุขภาพ [Milestones in Health Promotion: Statements from global conferences] (สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี, แปล). นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก. (ต้นฉบับพิมพ์ปี ค.ศ.2009).

อุมาพร สุขารมณ์. (2562). จิตวิทยาพัฒนาการ. สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

Baji, Z., Baesi, A., Shakerinejad, G., Tehrani, M., Hajinajaf, S., & Jarvandi, F. (2018). The Effect of Education Based on Health Belief Model on Eating| Behaviors and Weight Control on Female High School Students in Ahwaz. Iranian Journal of Health Education and Health Promotion, 6(3), 231-240. https://doi.org/10.30699/acadpub.ijhehp.6.3.231

Becker, M. H. (1974). The health belief model and personal health behavior. Health education monographs, 2, 324–508.

Farrell, P., & Gustafson, A. (1986). Exercise stress and endogenous opiates. Enkephalins and endorphins: Stress and the immune system, 47-57. https://doi.org/10.1007/978-1-4899-0557-4_5

Pascoe, M., Bailey, A. P., Craike, M., Carter, T., Patten, R., Stepto, N., & Parker, A. (2020). Physical

Activity and Exercise in Youth Mental Health Promotion: A Scoping Review. BMJ Open Sport & Exercise Medicine, 6(1), e000677. http://dx.doi.org/10.1136/bmjsem-2019-000677

Pender, N. (1996). Health Promotion in Nursing Practice (3rd ed.). Appleton and Lange.

Yavuz, A. Y., & Hacıalioğlu, N. (2018). The effect of training provided for obese adolescents based on Health Promotion Model on their healthy lifestyle behaviors and life quality. Progress in Nutrition, 20(1), 146-160. https://doi.org/10.23751/pn.v20i1.6301

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-12