ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุขของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พงศธร โตสังวาลย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ประจักร บัวผัน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ปัจจัยทางการบริหาร, ปัจจัยแห่งความสำเร็จ, การมีส่วนร่วมของชุมชน, แผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข

บทคัดย่อ

การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาขององค์กรที่ยั่งยืน การศึกษาครั้งนี้      เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบได้จำนวน 128 คน และกลุ่มผู้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า .50 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถามทั้งชุดเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติการถดถอยพหุเชิงเส้นแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมระดับปัจจัยทางการบริหารปัจจัยแห่งความสำเร็จ และการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมาก โดยพบว่า ภาพรวมปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการมีส่วนร่วม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.628, p < .001), (r = 0.681, p < .001) ตามลำดับ ซึ่งตัวแปรทั้ง 4 ตัวแปร ประกอบด้วย 1) ด้านการพัฒนาภาพลักษณ์ของสถานบริการ 2) ผู้บริหารทุกระดับให้การสนับสนุนและติดตาม 3) ด้านการสร้างความเข้าใจและกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือ และ4) ด้านบุคลากร มีผลและสามารถร่วมกันในการพยากรณ์การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข ได้ร้อยละ 51.5 (R2 = 0.515, p < .001) ผลการศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผน พัฒนา แก้ไขปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานต่อไป

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ. 2560 – 2579). สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

กัญญารัตน์ จันทร์โสม, และประจักร บัวผัน. (2563). คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยแห่งความสำเร็จ ที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานงานบริการแพทย์แผนไทยของเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับ บัณฑิตศึกษา), 20(2), 60-71.

ชูชัย ศุภวงศ์, สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์, ศุภกิจ ศิริลักษณ์, ลัดดาดำริการเลิศ, สุพัตรา ศรีวณิชากร, และเกษม เวชสุทธานนท์. (2553). คู่มือการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (พิมพ์ครั้งที่ 2). กระทรวงสาธารณสุข.

ทศพล ใจทาน, ประจักร บัวผัน, และสุรชัย พิมหา. (2564). ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการดำเนินงาน เฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเลย. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(3), 161-171.

นภาจรัส พรมรี, และประจักร บัวผัน. (2564). ปัจจัยแห่งความสำเร็จและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผล ต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานเวชสถิติในโรงพยาบาลชุมชนเขตสุขภาพที่ 7. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(2), 179-191.

นวพร รัตนจริยา, และชนะพล ศรีฤาชา. (2564). แรงจูงใจและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการควบคุม การติดเชื้อตามมาตรฐานของทันตบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 15(38), 588-604.

ปภินวิทย์ คำสมาน, มกราพันธุ์ จูฑะรสก, และประจักร บัวผัน. (2564). ปัจจัยแห่งความสำเร็จและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและควบคุมวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(3), 223-235.

ประจักร บัวผัน. (2558). หลักการบริหารสาธารณสุข (พิมพ์ครั้งที่ 4). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พัทธ์ชนก พุทธมนต์สิงห์, ประจักร บัวผัน, และชัญญา อภิปาลกุล. (2562). ปัจจัยแห่งความสำเร็จและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวตามการรับรู้ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 19(3), 120-130.

เพชรสมร ไพรพะยอม, และประจักร บัวผัน. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาระบบสุขภาพระดับตำบลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดหนองคาย. วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(3), 11-22.

ไพวัน แก้วปะเสิด, ประจักร บัวผัน, และสุรชัย พิมหา. (2563). คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลรัฐเขตนครหลวงเวียงจันทน์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 20(2), 96-107.

วิลาสินี วงค์ผาบุตร, และประจักร บัวผัน. (2564). แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้และมะเร็งท่อน้ำดีของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(3), 186-199.

สันติ ทวยมีฤทธิ์. (2562). การพัฒนากระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดนครราชสีมา.วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 14(33), 52-70

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. (2565). สถานบริการสาธารณสุขในจังหวัดนครราชสีมา. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

สำเริง จันทรสุวรรณ, และสุวรรณ บัวทวน. (2547). ระเบียบวิจัยทางสังคมศาสตร์. ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.

สุวิชัย ถามูลเลศ, และประจักร บัวผัน. (2561). ปัจจัยการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 25(1), 23-34.

อคิน รพีพัฒน์. (2547). การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา. ศูนย์การศึกษานโยบายสาธารณสุข.

อรวรรณ สินค้า, และชนะพล ศรีฤาชา. (2562). ปัจจัยทางการบริหารและแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 12(3), 613-622.

อิ่มฤทัย ไชยมาตย์, และประจักร บัวผัน. (2564). แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(3), 172-185.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavior sciences (2nd ed.). Lawrence Erlbaum.

Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1986). World management. McGraw- Hill.

Davis, K., & Newstrom, J.W. (1981). Human behavior at work: Organizational behavior (7 th ed.). McGraw–Hill.

Elifson, K.W., Runyon, R.P., & Haber, A. (1990). Fundamentals of social statistics (2nd ed.). McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-20