การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยทางจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการตั้งครรภ์ของผู้มีบุตรยากที่รับการรักษาด้วยวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ความสำเร็จในการตั้งครรภ์, สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส, ภาวะมีบุตรยากบทคัดย่อ
ภาวะมีบุตรยากเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคู่สมรสในหลาย ๆ ด้านโดยเฉพาะด้านจิตใจ การช่วยเหลือผู้มีบุตรยากในทางการแพทย์คือการรักษาเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ การทำเด็กหลอดแก้วเป็นหนึ่งทางเลือกที่ได้รับการยอมรับ แต่ด้วยอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์ที่ไม่สูงมากนัก การเพิ่มอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์จึงเป็นประเด็นสำคัญ การวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์จำแนกปัจจัยทางจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการตั้งครรภ์ของผู้มีบุตรยากที่รับการรักษาด้วยวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงมีบุตรยากที่เข้ารักษาด้วยการทำเด็กหลอดแก้วในศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากจังหวัดเชียงใหม่ เดือน กรกฎาคม- พฤศจิกายน 2565 จำนวน 320 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามผลการตั้งครรภ์ แบบประเมินความหวัง แบบประเมินการกำกับตนเอง แบบประเมินความไว้วางใจต่อผู้ให้การรักษา และแบบประเมินสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก เท่ากับ .91, .90, .92 และ .94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์จำแนกปัจจัย แบบขั้นตอน โดยวิธี วิลค์ แลมบ์ดา ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรที่ดีที่สุดในการจำแนกกลุ่มผู้มีบุตรยากที่ตั้งครรภ์สำเร็จและกลุ่มที่ตั้งครรภ์ไม่สำเร็จคือ สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส สามารถจำแนกกลุ่มได้ถูกต้องร้อยละ 58.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p<.05) ได้สมการจำแนกในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน คือ Y/ = -11.755+2.082X4 และ Z/Y = 1.0ZX4 ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากควรส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างคู่สมรสตลอดกระบวนการรักษาเพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จของการตั้งครรภ์ต่อไป
References
กรุณาภรณ์ อิสรางกูร ณ อยุธยา. (2538). ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ สัมพันธภาพของคู่สมรสกับการ ปรับตัวของสตรีหมดประจำเดือน. (วิทยานิพนธ์ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยมหิดล
กำธร พฤกษานานนท์. (2561). เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (พิมพ์ครั้งที่1). ภาควิชาสูติศาสตร์ คณะ แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย. (2559). รายงานสถานการณ์ประชากรไทย พ.ศ.2558 โฉมหน้าครอบครัวไทย ยุคเกิดน้อย อายุยืน. https://thailand.unfpa.org/sites/default/files/pub-pdf/State%20of%20Thailand%20Population%20report%202015-Thai%20Family_th.pdf
จรัญญา ดีจะโปะ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความเครียด การดำรงบทบาทภรรยา สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส กับคุณภาพชีวิตของสตรีที่มีบุตรยาก.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(2), 67-79
จารุวรรณ ก้าวหน้าไกล. (2555). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางการพยาบาลครอบครัวในการดูแลคู่สมรสที่มีบุตรยาก. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 30(3), 6-15.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2538). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). สำนักงานทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
รัชนิดา ศิริธร. (2549). การพัฒนาและทดสอบความตรงของแบบวัดที่ใช้ประเมินความไว้วางใจของผู้รับบริการต่อเภสัชกรชุมชน. (วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์). http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2553/2756
ศุจินทรา ชูเจริญพิพัฒน์, (2563). การศึกษาการกระจายตัวของสถานพยาบาลที่ให้บริการด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558. เอกสารเผยแผ่สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ, สืบค้นจาก https://mrd.hss.moph.go.th/mrd1_hss/?p=1594
สุพิชชา วงศ์จันทร์.(2557). อิทธิพลทางจิตสังคมและการกำกับตนเองที่มีต่อพฤติกรรมสุขภาพของ ผู้รับบริการที่มีภาวะอ้วนในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ). http://bsris.swu.ac.th/thesis/52199120034RB9022549f.pdf
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G* Power 3: A Flexible statistical power analysis program for social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.
Güneri, S. E., Kavlak, O., & Göker, E. N. T. (2019). Hope and Hopelessness in Infertile Women: Phenomenological Study. Current Approaches in Psychiatry/Psikiyatride Guncel Yaklasimlar, 11(1), 24-36. https://doi.org/10.18863/pgy.530714
Herth, K. (1992). Abbreviated instrument to measure hope: development and psychometric evaluation. Journal of advanced nursing, 17(10), 1251-1259. https://doi.org/10.1111/j.1365-2648.1992.tb01843.x
Klitzman, R. (2018). Impediments to communication and relationships between infertility care providers and patients. BMC women's health, 18(1), 1-12. https://doi.org/10.1186/s12905-018-0572-6
Li, J., Luo, H., & Long, L. (2019). Mindfulness and fertility quality of life in Chinese women with infertility: assessing the mediating roles of acceptance, autonomy and self-regulation. Journal of Reproductive and Infant Psychology, 37(5), 455-467. https://doi.org/10.1080/02646838.2019.1577958
Matsubayashi, H., Hosaka, T., Izumi, S. I., Suzuki, T., Kondo, A., & Makino, T. (2004). Increased depression and anxiety in infertile Japanese women resulting from lack of husband's support and feelings of stress. General hospital psychiatry, 26(5), 398-404. https://doi.org/10.1016/j.genhosppsych.2004.05.002
Mosalanejad, L., Abdolahifard, K., & Jahromi, M. G. (2014). Therapeutic vaccines: hope therapy and its effects on psychiatric symptoms among infertile women. Global journal of health science, 6(1), 192-200. https://doi.org/10.5539/gjhs.v6n1p192
Samani, R. O., Vesali, S., Navid, B., Vakiliniya, B., & Mohammadi, M. (2017). Evaluation on hope and psychological symptoms in infertile couples undergoing assisted reproduction treatment. International journal of fertility & sterility, 11(2), 123-129. https://doi.org/10.26226/morressier.573c1513d462b80296c97fa3
Shadbad, N. R., & Vafa, M. A. (2017). Anticipating the amount of hope for infertile women undergoing IVF treatment based on psychological well-being and spiritual health. International Journal of Scientific Study. 5(4), 286-292.
Spanier, G. B., & Thompson, L. (1982). A confirmatory analysis of the dyadic adjustment scale. Journal of Marriage and the Family, 44(3), 731-738. https://doi.org/10.2307/351593
Spanier, G. B. (1976). Measuring dyadic adjustment: New scales for assessing the quality of marriage and similar dyads. Journal of Marriage and the Family, 38(1), 15-28. https://doi.org/10.2307/350547
Thom, D. H., Ribisl, K. M., Stewart, A. L., Luke, D. A., & The Stanford Trust Study Physicians. (1999). Further validation and reliability testing of the Trust in Physician Scale. Medical care, 37(5), 510-517. https://doi.org/10.1097/00005650-199905000-00010
Tomlinson, M. J., Amissah-Arthur, J. B., Thompson, K. A., Kasraie, J. L., & Bentick, B. (1996). Infertility: prognostic indicators for intrauterine insemination (IUI): statistical model for IUI success. Human
Reproduction, 11(9), 1892-1896. https://doi.org/10.1093/oxfordjournals.humrep.a019513
Visser, A. Ph., Haan, G., & Wouters, I. (1994). Psychosocial aspects of in vitro fertilization. Journal of Psychosomatic Obstetrics & Gynecology. 15(1), 35-43. https://doi.org/10.3109/01674829409025627
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว