ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้สุขภาพจิต การสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิต ของผู้ดูแลกับภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • สิริชัย เมี้ยนมิตร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • นริสา วงศ์พนารักษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ความรอบรู้สุขภาพจิต, การสนับสนุนทางสังคม, คุณภาพชีวิตการทำงาน, ภาระการดูแลของผู้ดูแล

บทคัดย่อ

ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง มีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท หากผู้ดูแลไม่มีความรู้สึกเป็นภาระก็จะดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้สุขภาพจิต การสนับสนุนทางสังคม คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลกับภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง ณ แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ จำนวน 328 คน โดยสุ่มแบบไม่คืนที่ เก็บข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความรอบรู้สุขภาพจิต 2) แบบวัดการสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท 3) เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย และ 4) แบบประเมินภาระการดูแลของ Zarit ในผู้ป่วยจิตเวช มีค่าความเชื่อมั่น 0.87, 0.74, 0.81 และ 0.72 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้สุขภาพจิตระดับสูง (M = 3.83, SD = 0.26) การสนับสนุนทางสังคมระดับสูง (M = 3.26, SD = 0.30) คุณภาพชีวิตระดับดี (M = 103.36, SD = 5.63) และภาระการดูแลระดับปานกลาง (M = 15.33, SD = 3.14) และพบว่า ภาระการดูแลของผู้ดูแลมีความสัมพันธ์ทางลบกับความรอบรู้สุขภาพจิต (r = - 0.540) การสนับสนุนทางสังคม (r = - 0.485) และคุณภาพชีวิต (r = - 0.539) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .01) ดังนั้นบุคลากรด้านสุขภาพจิตควรให้ความสำคัญ ให้การสนับสนุนกิจกรรมที่ส่งเสริมความรอบรู้สุขภาพจิต การสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิต เพื่อลดความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแล

References

กรมสุขภาพจิต. (2564). รายงานผู้ป่วยมารับบริการด้านจิตเวช ประจำปีงบประมาณ 2564. สืบค้นจาก https://www.dmh.go.th/report/datacenter/hdc/

จรัสพร หอมจันทร์ดี, และเพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. (2562). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทชุมชน. วารสารพยาบาลตำรวจ, 11(2), 433-443.

จิราพร รักการ. (2549). ผลของการใช้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน [วิทยานิพนธ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9148

ณัฏฐภัณฑ์สัณฑ์ ศรีวิชัย, วราภรณ์ บุญเชียง, และพิมพ์ชนก เครือสุคนธ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้สุขภาพจิต ความผาสุกทางจิตใจและความเหงาในนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. มนุษยศาสตร์สาร, 22(1), 143-161.

ดุษฎี อุดมอิทธิพงศ์, พิชญา ชาญนคร, และศศิธร เก็มเส็น. (2563). ภาระของผู้ดูแลหลักผู้ป่วยจิตเภทสูงอายุ: บทความฟื้นฟูวิชาการ. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ปี 2563, 14(2), 48-68.

เยาวลักษณ์ ทวีกสิกรรม, ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์, และมณีรัตน์ พราหมณี. (2558). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะพึ่งพาในเขตอำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 24(3), 104-118.

โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์. (2564). รายงานสรุปผลการปฏิบัติโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ ประจำปี 2564. โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์.

สุวัฒน์ มหันตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาล, กรองจิต วงศ์สุวรรณ, และราณี พรมานะรังกุล. (2545). เครื่องมือชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย. โครงการจัดทำโปรแกรมสำเร็จรูปในการสำรวจสุขภาพจิตในพื้นที่ ปี พ.ศ.2545. กรมสุขภาพจิต.

อรวรรณ ศิลปกิจ, ชัชวาลย์ ศิลปกิจ, และรสสุคนธ์ ชมชื่น. (2558). คุณสมบัติทางจิตวิทยาของแบบประเมินภาระการดูแล Zarit ในผู้ป่วยจิตเวช. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 23(1), 12-23.

อัมรา บุญสาหร่าย. (2562). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในโรงพยาบาลชลบุรี. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว, 3(3), 35-45.

Altman, D. G., & Bland, J. M. (1995). Statistics notes: the normal distribution. Bmj, 310(6975), 298. https://doi.org/10.1136/bmj.310.6975.298

Andrade, C., Tavares, M., Soares, H., Coelho, F., & Catarina, T. (2022). Positive Mental Health and Mental Health Literacy of Informal Caregivers: A Scoping Review. International journal of environmental research and public health, 19(22), 15276. https://doi.org/10.3390/ijerph192215276

Bösch, F., Landolt, M. A., Baumgartner, M. R., Fernandez, S., Forny, P., Gautschi, M., Grünert, S. C., Häberle, J., Horvath, C., Karall, D., Lampis, D., Rohrbach, M., Scholl-Bürgi, S., Szinnai, G., & Huemer, M. (2022). Caregiver burden, and parents' perception of disease severity determine health-related quality of life in paediatric patients with intoxication-type inborn errors of metabolism [Article]. Molecular Genetics and Metabolism Reports, 31. https://doi.org/10.1016/j.ymgmr.2022.100876

Chen, S., Wu, Q., Chang, Q., Deng, H., Wang, X., He, H., Long, J., Xiong, Y., & Liu, T. (2017). Mental health literacy about schizophrenia and depression: a survey among Chinese caregivers of patients with mental disorder. BMC Psychiatry, 17. https://doi.org/https://doi.org/10.1186/s12888-017-1245-y

Dias, P., Campos, L., Almeida, H., & Palha, F. (2018). Mental Health Literacy in Young Adults: Adaptation and Psychometric Properties of the Mental Health Literacy Questionnaire. International journal of environmental research and public health, 15(7), 1318. https://doi.org/10.3390/ijerph15071318

Ghasemi, A., & Zahediasl, S. (2012). Normality tests for statistical analysis: a guide for non-statisticians. Int J Endocrinol Metab, 10(2), 486-489. https://doi.org/10.5812/ijem.3505

House, J. S. (1981). Measure and concepts of social support. In Cohen, S. E. & Syme, S. (Eds.), Social support and health (pp. 83-108). Academic Press. https://faculty.isr.umich.edu/williams/All%20Publications/DRW%20pubs%201985/measures%20and%20concept%20of%20social%20support.pdf

Jacqueline, Y., Andrew, T., & Saeeda, P. (2022). Surviving but not thriving: Burden of care and quality of life for caregivers of patients with schizophrenia spectrum disorders and comorbid substance use in South Africa. Early Intervention in Psychiatry, 16(2). https://doi.org/https://doi.org/10.1111/eip.13141

Jorm, A. F. (2019). The concept of mental health literacy. in Okan, O., Bauer, U., Levin-Zamir, D., Pinheiro, P., & Sørensen, K. (Eds). International Handbook of Health Literacy: Research, practice and policy across the lifespan (pp. 56-664). Policy Press. https://doi.org/10.51952/9781447344520.ch004

Kline, R. B. (2016). Principles and practice of structural equation modeling. 4th ed. Guilford Press.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308

Kulaksızoglu, B. (2019). Assessment of family burden, social support and psychological wellbeing of the caregivers of schizophrenic patients. Psychiatry and Clinical Psychopharmacology, 29, 81-82.

Meng, N., Chen, J., Cao, B., Wang, F., Xie, X., & Li, X. (2021). Focusing on quality of life in the family caregivers of patients with schizophrenia from the perspective of family functioning: A cross-sectional study. Medicine, 100(5). e24270. https://doi.org/10.1097/MD.0000000000024270

Montgomery, R. J., Gonyea, J. G., & Hooyman, N. R. (1985). Caregiving and the experience of subjective and objective burden. Family Relations: An Interdisciplinary Journal of Applied Family Studies, 34(1), 19-26. https://doi.org/10.2307/583753

Opoku-Boateng, Y. N., Kretchy, I. A., Aryeetey, G. C., Duah, D., Decker, S., Samuel Agyei, A., Tozan, Y., Aikins, M., & Justice, N. (2017). Economic cost and quality of life of family caregivers of schizophrenic patients attending psychiatric hospitals in Ghana. BMC Health Services Research, 17(Suppl 2). https://doi.org/https://doi.org/10.1186/s12913-017-2642-0

Ribé, J. M., Salamero, M., Pérez-Testor, C., Mercadal, J., Aguilera, C., & Cleris, M. (2018). Quality of life in family caregivers of schizophrenia patients in Spain: caregiver characteristics, caregiving burden, family functioning, and social and professional support. International journal of psychiatry in clinical practice, 22(1), 25-33. https://doi.org/10.1080/13651501.2017.1360500

Upasen, R., & Saengpanya, W. (2022). Compassion Fatigue Among Family Caregivers of Schizophrenic Patiens. Journal of Population and Social Studies, 30, 1-17. https://doi.org/10.25133/JPSSv302022.001

World Health Organization. (1996). WHOQOL-BREF: introduction, administration, scoring and generic version of the assessment: field trial version. (No. WHOQOL-BREF). World Health Organization. https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/63529/WHOQOL-BREF.pdf?sequ.

World Health Organization. (2022, January 10). Schizophrenia. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/schizophrenia

Zhong, Y., Wang, J., & Nicholas, S. (2020). Social support and depressive symptoms among family caregivers of older people with disabilities in four provinces of urban China: the mediating role of caregiver burden. BMC Geriatrics, 20(3). 1-10. https://doi.org/10.1186/s12877-019-1403-9

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-02