ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ภรณ์ทิพย์ ผลกระโทก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • สุหทัย โตสังวาลย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ความเครียด, การเห็นคุณค่าในตนเอง, พลังสุขภาพจิต, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

บทคัดย่อ

นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายมีแนวโน้มในการเกิดความเครียดสูง เนื่องจากต้องเผชิญกับการปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงสูง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ เพื่อศึกษาระดับความเครียด การเห็นคุณค่าในตนเอง พลังสุขภาพจิต และความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเองและพลังสุขภาพจิตกับความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ในช่วงภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 351 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความเครียด แบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเอง และแบบประเมินพลังสุขภาพจิต ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .95 .86 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่    ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 41.88) ส่วนใหญ่มีการเห็นคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 68.66) และพลังสุขภาพจิตอยู่ในระดับปกติ (ร้อยละ 61.82) นอกจากนี้ยังพบว่าการเห็นคุณค่าในตนเองและพลังสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (rs(351) = -.483, p < .001;  rs(351) = -.430, p < .001) ตามลำดับ  ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายได้พัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองและ     พลังสุขภาพจิตเพื่อลดการเกิดความเครียดในประชากรกลุ่มนี้ต่อไป

References

กชพรรณ สังข์สระสิทธิ์. (2561). การเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 45 จังหวัดกาญจนบุรี. ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กรมสุขภาพจิต. (2563). เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี พลังสุขภาพจิต (RQ: Resilience quotient) (พิมพ์ครั้งที่ 4). บียอนด์พับลิสชิ่ง.

กรมสุขภาพจิต. (2564). ประเมินสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทยกว่า 1.8 แสนราย พบเครียดสูง เสี่ยงซึมเศร้า ติดจอติดเกมออนไลน์มากขึ้น!!. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2565, จาก https://rb.gy/49qj

กรมสุขภาพจิต. (2564ข). ความพยายาม ไม่ท้อถอย จะช่วยสร้างความภาคภูมิใจให้กับตนเอง. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/UPW0G

กรมสุขภาพจิต. (2565). เคล็ดลับบอกลาความเครียด. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2565, จาก https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2469

เกียรติภูมิ วงศ์รจิต. (2563). กรมสุขภาพจิต เผยวัยรุ่นไทยปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ปี 62 พบ“ปัญหาเครียด” มากสุด แนะเทคนิคจัดการความเครียด. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2565, จาก https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30744

ชนิกานต์ ขำเหมือน, อานนท์ วรยิ่งยง, และวิฑูรย์ โล่สุนทร. (2559). ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 16(4), 642-649.

ชุติมา จิรัฐิเกรียงไกร, นพพร ว่องสิริมาศ, วารีรัตน์ ถาน้อย, และสุภาภัค เภตราสุวรรณ. (2563). ปัจจัยทำนายสุขภาวะทางจิตใจในวัยรุ่นตอนปลาย. Nursing Sciences Journal of Thailand, 39(2), 77-89.

นิธิสนี รุจิรังสีเจริญ, นิดา ลิ้มสุวรรณ, ศิริไชย หงส์สงวนศรี, และบัญญัติ ยงย่วน. (2564). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 66(1), 53-68.

ปัญญภรณ์ ธนกรนุวัตน์. (2565). ความเครียดของกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยปี 2566 (TCAS 66). วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5(4), 52-59.

พรมมณี โฮชิน. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พัชรินทร์ นินทจันทร์. (2558). ความแข็งแกร่งในชีวิต (Resilience). ใน พัชรินทร์ นินทจันทร์ (บ.ก.), ความแข็งแกร่งในชีวิต: แนวคิด การประเมิน และการประยุกต์ใช้ (น. 3-32). จุดทอง.

พิมพ์ชนก วชิรปราการสกุล, และศิริลักษณ์ ศุภปีติพร. (2565). การเห็นคุณค่าในตนเองและความรู้สึกเครียดในนักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์. วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, 12(1), 49-63.

วรรณกร พลพิชัย, และจันทรา อุ้ยเอ้ง. (2561). การศึกษาความเครียดและวิธีเผชิญความเครียดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอเมือง จังหวัดตรัง. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 61(10), 94-106.

วรรณพร คำพิลา, บังอร ศุภวิทิตพัฒนา, และนงลักษณ์ เฉลิมสุข. (2562). ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส และความเครียดในการเลี้ยงดูบุตรของมารดาวัยรุ่นครั้งแรก. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(1), 98-107.

วนัญญา แก้วแก้วปาน. (2564). การศึกษาความเครียดของนักเรียนวัยรุ่นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 32(2), 13-28.

ศศนัชสรณ์ ประสมทรัพย์, กิตติคุณ ปานน้อย, นิจนาวี คำไชยเทพ, ผกามาศ ไมตรีมิตร, ศรัณย์ กอสนาน, และลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(6), 1122-1133.

สมจิตร์ นคราพานิช, และรัตนา พึ่งเสมา. (2564). ปัจจัยทำนายพลังสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่1 วิทยาลัยสภากาชาดไทย, วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 35(1), 128-145.

สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. (2563). เปิดสถิติวัยรุ่นไทยขอคำปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 มากสุดปัญหาความเครียดอันดับ1. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2565, จาก https://1300thailand.m-society.go.th/article/126

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, และพิมพ์มาศ ตาปัญญา. (2540). การสร้างแบบวัดความเครียดสวนปรุง. วารสารสวนปรุง, 13(3), 1-20.

สุจิตรา กฤติยาวรรณ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างพลังสุขภาพจิตกับความเครียดของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 2: เรื่อง สร้างเสริมสหวิทยาการ ผสมผสานวัฒนธรรมไทย ก้าวอย่างมั่นใจเข้าสู่ AC (น. 1686-1698). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.

โสมรัชช์ วิไลยุค. (2564). วัคซีนกาย วัคซีนใจ. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2566, จากhttps://www.rama.mahidol.ac.th/atrama/issue041/easy-living.

หงษ์ศิริ ภิยโยดิลกชัย, อรุณวรรณ กัมภูศิริพงษ์, มยุรี สวัสดิ์เมือง, และทัศนี จันทรภาส. (2558). ความเครียด และการแก้ปัญหาความเครียดของนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักวรรดิ. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2565, จากhttp://110.164.147.155/kmhealth_new/Documment/psychiatry/adult/P1.2.10.pdf

อ้อยทิพย์ บัวจันทร์, ธมลวรรณ สวัสดิ์สิงห์, ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง, และเทพไทย โชติชัย. (2562). ความแข็งแกร่งในชีวิตและความเครียดของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(4), 258-269.

Askun, D.C., Fatih, C., & Erkut, T. (2015). The role of proximal and distal resilience factors and locus of control in understanding hope, self-esteem and academic achievement among Turkish pre-adolescents. Psychology,34, 321–345. https://doi.org/10.1007/s12144-014-9260-3

Engel, G. (1977). The need for a new medical model: a challenge for biomedicine. Science, 196, 129-136.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39, 175-191. https://doi.org/10.3758/BF03193146

Goel, A., & Bardhan, S. (2016). Effect of stress on self-efficacy and emotional intelligence among college students of humanities and sciences: A study on gender differences. International Journal of Applied Research, 2(12), 318-328.

Grotberg, E. H. (1995). A guide to promoting resilience in children: Strengthening the human spirit. The Bernard Van Leer Foundation.

Mool, R., & Sabita. (2021). Academic stress of adolescents in relation to self-esteem. International Journal of Research and Analytical Reviews, 8(1), 172-181.

Nikitha, S., Jose, T., & Valsaraj, B.P. (2014). A correlational study on academic stress and self-esteem among higher secondary students in selected schools of Udupi district. Nitte University Journal of Health Science, 4(1), 106-108. https://doi.org/10.1055/s-0040-1703742

Rosenberg, M. (1965). Society and the adolescent self-image. Princeton University Press. https://doi.org/10.1515/9781400876136

Shi, M., Wang, X., Bian, Y., & Wang, L. (2015). The mediating role of resilience in the relationship between stress and life satisfaction among Chinese medical students: A cross-sectional study. BMC Medical Education, 15(16), 1-7. https://doi.org/10.1186/s12909-015-0297-2

Wongpakaran, T., & Wongpakaran, N. (2012). A reliability and construct validity comparison between the original and the revised version of the Rosenberg Self-Esteem Scale. Psychiatry Investing, 9(1), 54-58. https://doi.org/10.4306/pi.2012.9.1.54

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-08