สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพที่ไปปฏิบัติงานที่สำนักงานแพทย์เพื่อกิจการฮัจญ์แห่งประเทศไทย ณ ประเทศซาอุดิอาระเบีย

ผู้แต่ง

  • ฮานานี เจ๊ะอุบง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ชุติวรรณ ปุริณทราภิบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพฮัจญ์, สำนักงานแพทย์เพื่อกิจการฮัจญ์แห่งประเทศไทย, ฮัจญ์, ซาอุดิอาระเบีย

บทคัดย่อ

สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพฮัจญ์ มีความสำคัญเนื่องจากบริบทพื้นที่แตกต่างกัน ทั้งภูมิอากาศ ความเป็นอยู่ และสังคมวัฒนธรรม แต่ยังไม่พบการศึกษาเกี่ยวกับสมรรถนะพยาบาลดังกล่าว วิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพที่ไปปฏิบัติงานที่สำนักงานแพทย์เพื่อกิจการฮัจญ์แห่งประเทศไทย ณ ประเทศซาอุดิอาระเบีย โดยใช้เทคนิคการวิจัย (Ethnographic Delphi Future Research [ EDFR]) ผู้ให้ข้อมูล 18 คน แบ่ง 3 กลุ่ม ด้านการพยาบาล 9 คน ด้านสหวิชาชีพทางสุขภาพ 6 คน และด้านวิชาการทางสุขภาพ 3 คน  ดำเนินการวิจัย 3 รอบดังนี้ 1) สัมภาษณ์ด้วยแนวคำถามปลายเปิดที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน จำนวน 10 ข้อ มาวิเคราะห์พัฒนาเครื่องมือแบบสอบถามปลายปิด 2) ส่งแบบสอบถาม จำนวน 25 ข้อ แก่ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเดิมแสดงระดับความคิดเห็น และ 3) ส่งแบบสอบถามเดิมเพิ่มตำแหน่งค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ จำนวน 25 ข้อ ให้ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเดิมยืนยันหรือเปลี่ยนแปลงระดับความคิดเห็นเพื่อสรุปฉันทามติ ผลวิจัยมี 6 สมรรถนะ 22 ข้อดังนี้ 1) สมรรถนะด้านการพยาบาล จำนวน 6 ข้อ 2) สมรรถนะด้านระบาดวิทยา โรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ำ และการป้องกันควบคุมการติดเชื้อ จำนวน 3 ข้อ 3) สมรรถนะด้านการให้ข้อมูล และการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ จำนวน 3 ข้อ 4) สมรรถนะด้านภาวะผู้นำ การทำงานเป็นทีม และคุณธรรม จริยธรรม จำนวน 4 ข้อ 5) สมรรถนะด้านการสื่อสาร ประสานงาน และเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 3 ข้อ และ 6) สมรรถนะด้านศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 3 ข้อ ผู้บริหารการพยาบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการวิจัยนี้เป็นแนวทางการคัดเลือกและเตรียมสมรรถนะพยาบาลที่จะไปปฏิบัติงานที่สำนักงานแพทย์เพื่อกิจการฮัจญ์แห่งประเทศไทย ณ ประเทศซาอุดิอาระเบีย

References

กัลยพัทธ์ นิยมวิทย์, และ กัญญดา ประจุศิลป. (2558). สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย. วารสารพยาบาลตำรวจ, 7(1), 155-165.

กิตติทัช เขียวฉ้อน, และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2560). การทำงานเป็นทีมสู่การเพิ่มประสิทธิผลในการทำงาน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(1), 355-370.

จินตนา อาจสันเที๊ยะ, และสายสมร เฉลยกิตติ. (2559). การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารพยาบาลทหารบก, 17(1), 10-16.

จีรนันท์ ชานนท์ และประจักร บัวผัน. (2564). ปัจจัยแห่งความสำเร็จและวัฒนธรรมความปลอดภัยขององค์กรที่มีผลต่อการบริหารความเสี่ยงของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลข่อนแก่น. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 21(1), 216-228.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2560). การนำเทคนิคเดลฟายไปใช้สำหรับการวิจัย.วารสารรัฐศาสตร์ ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษณศาสตร์, 4(2), 47-64.

น้ำผึ้ง มีศิล. (2559). การวิจัยด้วยเทคเดลฟาย: หลีกเลี่ยงมโนทัศน์ที่ไม่ถูกต้อง.วารสารมหาวิทยาลัยศิลปกร, 9(1), 1256-1267.

บุปผา พาโคกทม, และขนิษฐา วรธงชัย. (2563). สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพไทยแลนด์ 4.0 โรงพยาบาล ชุมชนระดับ F1-F3. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 38(3), 110-118.

มาหะมะ เมาะมูลา, และพงศ์เทพ สุธีรวุฒิ. (2559). การออกแบบโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพวิถีอิสลาม สำหรับผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส. วารสาร AL-NUR บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 11(21), 1-16.

วรสิทธิ์ เจริญพุฒ, และเพ็ญศรี ฉิรินัง. (2558). การวิจัยเชิงอนาคตด้วยเทคนิคเดลฟาย. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น, 1(3), 26-40.

ศราวุฒิ อารีย์, อารีฝีน ยามา, และซารีฮาน สุหลง. (2565). การบริหารจัดการฮัจญ์ของซาอุดิอาระเบีย: สำรวจปัญหาการดำเนินกิจการฮัจญ์ของไทย และรูปแบบการจัดการของอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาราชภัฏนครราชสีมา, 16(3), 82-96.

ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนใต้. (2562). คู่มือการปฏิบัติงานสำนักงานแพทย์เพื่อกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย.

สายสมร เฉลยกิตติ, และทิพย์ฆัมพร เกษโกมล. (2558). การให้บริการปรึกษาทางสุขภาพ: การพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล. วารสารพยาบาลตำรวจ, 7(1), 255-262.

สุวิมล พิชญไพบูลย์. (2561). วิถีมุสลิมกับความผูกพันต่อหลักศาสนาอิสลามและการบังคับใช้กฎหมายอิสลาม: ชุมชนเสาหลวง 1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, 27(2), 233-243.

Aldossari, M., Aljoudi, A., & Celentano, D. (2019). Health issues in the Hajj pilgrimage: a literature review. Eastern Mediterranean Health Journal, 25(10), 744-753. https://doi.org/10.26719/2019.25.10.744

Banaser, M., Ghulman‬, F., Almakhalas, H., & Alghamdi, M. (2020). Nurses’ job satisfaction during the mass gathering of the Hajj 2018 in Saudi Arabia. International Nursing Review, 67(3), 372-379. https://doi.org/10.1111/inr.12590

Thuan Hoang,V., Sow, D., Doque, F., Edouard, S., Drali, T., Yezli, S., Alotaibi, B., Raoult, D., Parola, P., Pommier de Santi, V., & Gautret, P. (2019). Acquisition of respiratory viruses and respiratory symptoms in french pilgrims during the 2016 Hajj: A prospective cohort study. Traval Med infect Dis, Jul-Aug(30), 32-38. https://doi.org/10.1016/j.tmaid.2019.03.003

Memish, Z. A., Stephens, G. M., Steffen, R., & Ahmed, Q. A. (2012). Emergence of medicine for mass gatherings: lessons from the Hajj. The Lancet infectious diseases, 12(1), 56-65. https://doi.org/10.1016/S1473-3099(11)70337-1

Mushi, A., Yassin, Y., Khan, A., Alotaibi, A., Parker, S., Mahomed. O., & Yezli, S. (2021). A longitudinal study regarding the health profile of the 2017 South African Hajj pilgrims. Int J Environ Res Public Health, 18(7), 3607; https://doi.org/10.3390/ijerph18073607

Songwathana, P., Chunuan, S., Balthip, K., Purinthrapibal, S., Hui, T., Ibrahim, K., & Thuy, L. T. (2020). Cultural competence perspectives from nurses in four Asian countries: A qualitative descriptive study. Journal of Health Science and Medical Research, 39(1), 57-66. https://doi.org/10.31584/jhsmr.2020767

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-25