ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาล ภาวะผู้นำใฝ่บริการของหัวหน้าหอผู้ป่วยและสมดุลชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิ ภาคใต้

ผู้แต่ง

  • สุนารี เทพสง คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ประภาพร ชูกำเหนิด คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

สภาพแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาล, ภาวะผู้นำใฝ่บริการของหัวหน้าหอผู้ป่วย, สมดุลชีวิตการทำงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาล ภาวะผู้นำใฝ่บริการของหัวหน้าหอผู้ป่วยและสมดุลชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลตติยภูมิ ภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยอายุรกรรม จำนวน 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) สมดุลชีวิตการทำงาน 3) สภาพแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาล และ 4) ภาวะผู้นำใฝ่บริการของหัวหน้าหอผู้ป่วย แบบสอบถามส่วนที่ 2, 3 และ 4 มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .95 .96 และ .92 และมีค่าความเที่ยงตรงจากการหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’ s Alpha Coefficient) เท่ากับ .93 .91 และ .98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า ระดับสมดุลชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.33, SD = 0.42) ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาลกับสมดุลชีวิตการทำงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rp(226) = .50, p < .01) และความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับสมดุลชีวิตการทำงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs(226) = .43, p < .01)

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2561). เปิด 5 แนวทางลดความแออัดโรงพยาบาลของปลัด สธ.คนใหม่. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2565, จาก https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=28269.

กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณะสุข. (2561). บทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ. บริษัท สำนักพิมพ์สื่อตะวัน จำกัด.

กิตติกุล แสงนิล, พิทักษ์ ศิริวงศ์, ณัฐฐาพร อะวิลัย และพัชรศักดิ์ จันทะชารี. (2562). การสร้างความหมายทางสังคมและบริหารความสมดุลในชีวิตและการทำงานจากประสบการณ์ของนักศึกษาปริญญาเอก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร: การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก. วารสารเกษมบัณฑิต, 20(1), 144-130.

จันทิมา ฤกษ์เลื่อนฤทธิ์, และรักชนก คชไกร. (2562). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลที่คัดสรร สภาพแวดล้อมการปฏิบัติงานกับความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ศรีนครินทร์เวชสาร, 34(3), 287-292.

ชนินันท์ พฤกษ์ประมูล, นัฏฐิกา เจริญตะคุ, และสิวะโชติ ศรีสุทธิยากร. (2563). ประสิทธิภาพของสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สเปียร์แมน และเคนดอลล์ เมื่อข้อมูลแจกแจงแบบไม่ปกติ. คณะครุศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 15(2), 1-16.

ฐานิดา ทิพวาที, สุทธีพร มูลศาสตร์, และวันเพ็ญ แก้วปาน. (2560). ปัจจัยทำนายสมดุลชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กรณีศึกษาในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(พิเศษ), 198-206.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

ปิยะนันท์ ทองแดง, อรอนงค์ วิชัยคำ, และอภิรดี นันท์ศุภวัฒน์. (2563). สิ่งแวดล้อมการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลโรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่. ม.ป.ท.

ปราโมทย์ ถ่างกระโทก, วินัย ไตรนาทถวัลย์, เอกกมล ไชยโม, และภราดร ยิ่งยวด. (2564). อิทธิพลของสมดุลชีวิตกับการทำงานและความพึงพอใจในงานต่อคุณภาพชีวิตของพยาบาลวิชาชีพไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(2), 344-352.

พรรณชนก เดชสิงห์. (2560). การศึกษาคุณภาพชีวิตและสมดุลการทำงานในพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เรียม นมรักษ์. (2564). สมดุลชีวิตและการทำงานในพยาบาลวิชาชีพ. วารสารไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 11(3), 176-186.

วรีรัตน์ เฉลิมทอง. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการของหัวหน้าหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพกับแรงจูงใจของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยภาคเหนือตอนบน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). สรุปผลการสำรวจ ภาวะการทำงานของประชากร. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2566, จาก https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/survey_detail/9u

อมรรัตน์ แก้วทวี, และอารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2557). บทความวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างสมดุลชีวิตกับการทำงาน บรรยากาศความปลอดภัยในการทำงาน กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชนภาคใต้. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 313-320.

Aiken, L. H., Cimiotti, J. P., Sloane, D. M., Smith, H. L., Flynn, L., & Neff, D. F. (2011). Effects of nurse staffing and nurse education on patient deaths in hospitals with different nurse work environments. Medical care, 49(12), 1047–1053.

Greenleaf, R. K. (1977). Servant leadership: A journey into the nature of legitimate power and reatness. Paulist Press.

Krejcie, R. V. & Morgan, D.W. (1970). Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30, 607-610.

Lake, E. T. (2002). Development of the Practice Environment Scale of the Nursing Work Index. Research in Nursing & Health, 25(3), 176-188.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing an Attitude Scale, Reading in Attitude Theory and Measurement. Edited by Martin Fishbein. New York: John Wiley&Son.

Merrill & Merrill. (2003). Life Matter: Creating a dynamic balance of work, family, time and money. New York *: McGraw-Hall.

Pearson, K. (1920). Notes on the history of correlation. Biometrika, 13(1), 25-45.

Spears, L. (2004). Focus on the leadership: Servant-leadership for the 21st century. John Wiley & Suns.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30