ผลของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะต่อความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์ กับการคาสายสวนปัสสาวะของพยาบาลวิชาชีพ

ผู้แต่ง

  • กรกนก บุญประถัมภ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ดลวิวัฒน์ แสนโสม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

โปรแกรม, ความรู้, ทัศนคติ, การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะ

บทคัดย่อ

การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะ (Catheter-associated urinary tract infection: CAUTI) ส่วนใหญ่มีสาเหตุหลักมาจากการที่พยาบาลวิชาชีพไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาลอย่างเข้มงวด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังการฝึกอบรมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในการป้องกัน CAUTI (CAUTI prevention competency development program: CPCP-CAI) เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบศึกษากลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม–ธันวาคม 2565 ในพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสระบุรี จำนวน 108 คน ที่ดูแลผู้ป่วยสภาวะคาสายสวนปัสสาวะ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามโควตาจากหอผู้ป่วยให้เข้าเรียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนพัฒนาสมรรถนะ CPCP-CAI  โดยวัดผลก่อนการเรียน หลังการเรียนทันที และหลังการเรียน 2 สัปดาห์ วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติ One-way repeated measures ANOVA และ one-sample t-test ผลการศึกษาพบว่า หลังได้รับโปรแกรมทันทีและ 2 สัปดาห์พยาบาลมีค่าเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติและการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการป้องกัน CAUTI มากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ηp2= 0.411, p<.001; ηp2=0.058, p=.012; ηp2=0.1, p=.001 ตามลำดับ) พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อการใช้โปรแกรม CPCP-CAI ในภาพรวมร้อยละ 92.50 และมีความพึงพอใจทุกข้อมากกว่าร้อยละ 90 ขึ้นไป ผลการศึกษาสะท้อนว่าโปรแกรม CPCP-CAI แสดงประสิทธิภาพในการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพด้านความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของพยาบาลวิชาชีพในการป้องกัน CAUTI ซึ่งสามารถใช้ในการเตรียมความพร้อมของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะในสถานบริการสุขภาพ

References

คณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. (2562) คู่มือการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรงพยาบาลสระบุรี [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล, โรงพยาบาลสระบุรี.

ญานิกา ศักดิ์ศรี. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัดในระยะผ่าตัดของพยาบาลห้องผ่าตัด. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ทิวากร กล่อมปัญญา, และดลวิวัฒน์ แสนโสม. (2561). ผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนปัสสาวะต่อผลลัพธ์ที่คัดสรร. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 41(4), 34-43.

ธวัชชัย วรพงศธร. (2561). การคำนวณขนาดตัวอย่างสำหรับงานวิจัยโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G*Power. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 41(2), 11-21.

ปัทมา วงษ์กียู้, วงเดือน สุวรรณคีรี, และณิชกานต์ ทรงไทย. (2562). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกต่อการปฏิบัติของพยาบาลและการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(2), 26-35.

ภาวิณี พรหมบุตร, เอื้อจิต สุขพูล, กิตติภูมิ ภิญโย, และปิยนุช ภิญโย. (2558). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชนของจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตอนใต้). วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 35(2), 113-128.

เยาวลักษณ์ อโณทยานนท์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการใส่คาสายสวนปัสสาวะในโรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารพยาบาลตำรวจ, 12(1), 48-57.

สุพัตรา อุปนิสากร, จารุวรรณ บุญรัตน์, และอจิมา ไทยคง. (2555). การป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในไอซียูอายุรกรรม. วารสารสภาการพยาบาล, 27(1), 49-62.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. Retrieved June 22, 2021, from https://www.academia.edu/28274869/Albert_Bandura_ Self_Efficacy_The_Exercise_of_Control_W_H_Freeman_and_Co_1997_pdf

Chenoweth, C.,& Saint, S. (2013). Preventing catheter-associated urinary tract infections in the intensive care unit. Crit Care Clin, 29(1), 19-32.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39, 175-191. Download PDF

Glenn T Werneburg (2022). Catheter-Associated Urinary Tract Infections: Current Challenges and Future Prospects. Retrieved February 12, 2022, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8992741/pdf/rru-14-109.pdf

Healthcare Infection Control Practices Advisory Committee (HICPAC). (2019). Guideline for Prevention of Catheter-Associated Urinary tract infections 2009. Retrieved January 20, 2021, from https://www.cdc.gov/infectioncontrol/pdf/guidelines/cauti-guidelines-H.pdf

Lo, E., Nicolle, L.E., Coffin, S.E., Gould, C., Maragakis, L.L., & Meddings, J. (2015). Strategies to prevent catheter-associated urinary tract infections in acute care hospitals: 2014 update. Infect Control Hosp Epidemiol, 35(5), 464-79.

Lynn, M. R. (1986). Determination and quantification of content validity. Nursing Research, 35, 382-385.

Mitchell, BG., Fasugba, O., Gardner, A., Koerner, J., Collignon, P., Cheng, A.C., Graves, N., Morey, P., & Gregory, V. (2017). Reducing catheter-associated urinary tract infections in hospitals: study protocol for a multi-site randomized controlled study. BMJ Open, 28(11), e018871.

Ribeiro, S. (2015). Nursing management of urinary tract infections. Nursing older people, 27(7), 24-29.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-05