การประเมินผลโครงการอบรม “พระบริบาลภิกษุไข้” ประจำวัด 1 วัด 1 รูป ทั่วไทย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ฉลองพระชนมายุครบ 8 รอบ: กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • จงกลณี ตุ้ยเจริญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • นิสากร วิบูลชัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ประทุ่ม กงมหา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • รำไพ หมั่นสระเกษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • กัญญาณัฐ เกิดชื่น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ทยาวีร์ จันทรวิวัฒน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • พรรณทิพย์ โชมขุนทด เศรษฐาธนโภคิน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ปัญญา ฉนำกลาง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา
  • อิสริยา ฉนำกลาง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การประเมินรูปแบบซิปป์, โครงการอบรม, ผู้ดูแล, พระภิกษุไข้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการอบรม “พระบริบาลภิกษุไข้” ประจำวัด 1 วัด 1 รูปทั่วไทย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ฉลองพระชนมายุครบ 8 รอบ กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา โดยใช้การประเมินรูปแบบซิปป์ 4 ด้าน คือ บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต  กลุ่มเป้าหมาย คือ พระภิกษุ จำนวน  159 รูป และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 14 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นด้านปัจจัยนำเข้า 3) แบบวัดความรู้ 4) แบบประเมินทักษะปฏิบัติ 5) แนวคำถามสนทนากลุ่ม 6) แบบสอบถามความพึงพอใจ และ 7) แบบวิเคราะห์เอกสาร เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน - มิถุนายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านบริบท ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการ มีความสอดคล้องกับนโยบาย ปัญหาสุขภาพ และความต้องการของพระภิกษุ นำไปสู่ความจำเป็นของการดำเนินโครงการ 2) ด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ คุณลักษณะของวิทยากร คุณสมบัติของพระภิกษุผู้เข้าอบรม ระยะเวลา วัสดุอุปกรณ์ ความพร้อมของสถานที่จัดอบรม และการบริหารจัดการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3) ด้านกระบวนการ มีการดำเนินงานตามแผนที่กำหนด โดยใช้รูปแบบการอบรม ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย (2)  การส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ได้แก่ การเสริมสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพ การให้ความรู้ทางด้านสุขภาพ การฝึกทักษะปฏิบัติ และการใช้ตัวแบบ (3) การประเมินผลการเรียนรู้ และ (4) การเสริมพลัง และ 4) ด้านผลผลิต ภายหลังการอบรมพระภิกษุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพ ระดับดีมาก มีทักษะปฏิบัติผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด และมีความพึงพอใจ ระดับดีมาก

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2566). ระบบข้อมูลวัดส่งเสริมสุขภาพ. https://healthtemple.anamai.moph.go.th/public/index.php/home/province/09/30

กระทรวงสาธารณสุข. (2560). A Guideline of Community Health Services for Community Health Centers. กระทรวงสาธารณสุข.

กลุ่มคลังข้อมูลสถิติ กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สถิติบุคลากรและศาสนสถานทางศาสนาในประเทศไทย. http://ittdashboard.nso.go.th/preview.php?id_project=56

โกนิฏฐ์ ศรีทอง, ชลวิทย์ เจียรจิตต์, เบญจมาศ สุขสถิต, และชัยวัชร พรหมจิตติพงศ์. (2564). สถานการณ์-ความรอบรู้ด้านสุขภาพของพระสงฆ์ในสังคมไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์มจร, 9(5), 1793-1804.

เฉลิมพล ตันสกุล, รุ่งโรจน์ พุ่มริ้ว, และเพียงจันทร์ โรจนวิภาต. (2560). การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการดูแลสุขภาพตนเองของพระภิกษุสงฆ์ ในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

ฐาปะณี คงรุ่งเรือง. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพของพระสงฆ์ในการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย (รายงานการวิจัย). สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. https://hp.anamai.moph.go.th/th/km-research-person/download/?did=204835&id=75830&reload=

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่9). บริษัทสุวีริยาสาส์น.

พระณัฐวุฒิ พันทะลี. (2564). การดูแลสุขภาพพระสงฆ์ไทยในปัจจุบัน. วารสารวิชาการ The New Viridian Journal of Arts, Humanities and Social Sciences (สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ), 1(3), 14-27.

พระราชวรมุนี, พระมงคลวชิรากร, พระมงคลธรรมวิธาน, และวีระศักดิ์ พุทธาศรี. (2560). ธรรมนูญสุขภาพพระภิกษุแห่งชาติ พุทธศักราช 2560. บริษัท โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จํากัด. https://www.nationalhealth.or.th/sites/default/files/upload_files/Buddhist_Monk_Chater.pdf

พระสุกสะหวัน บุดขะหมวน. (2559). การดูแลสุขภาพตนเองของพระสงฆ์ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5605030047_5917_5641.pdf

พิชิต ปุริมาตร. (2565). การสร้างความร่วมมือของภาครัฐพัฒนาระบบป้องกันและลดอาการป่วยซ้ำซ้อน พระสงฆ์ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 7(1), 241-253. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/253497/172825

มัฏฐวรรณ ลี้ยุทธานนท์, ผกาสรณ์ อุไรวรรณ, จริญญา แก้วสกุลทอง, และปภาสินี แซ่ติ๋ว. (2562). การพัฒนารูปแบบถวายความรู้การดูแลด้านสุขภาพสำหรับพระภิกษุสงฆ์. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 25(2), 104-117. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Jolbcnm/article/view/233388

มินตรา สาระรักษ์, วรารัตน์ สังวะลี, และวิลาศ คำแพงศรี. (2560). ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังของพระภิกษุสงฆ์ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบุลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 19(1), 37-48. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/86427/68561

ยุทธนา พูนเกิดมะเริง, และพิชิต ปุริมาตร. (2557). การบูรณาการหลักการดูแลสุขภาพตามหลักพระพุทธศาสนา ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำวัด (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา. http://198.7.63.81/xmlui/handle/123456789/393

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. (2565). สรุปรายงานประจำปีงบประมาณ 2565. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. (2566). สรุปรายงานประจำปีงบประมาณ 2566. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา.

สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, และสมพร รุ่งเรืองกลกิจ. (2553). การปรับปรุงเครื่องมือคัดกรองภาวะซึมเศร้า KKU-DI เพื่อให้มีความไวต่อเพศภาวะ. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 55(2), 177-189.

อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง, พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์, และทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์. (2565). การพัฒนาศักยภาพพระสงฆ์ ในการป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรัง ตำบลหนองพลวง อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 28(1), 88-100. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/CUTJ/article/view/247956/172258

Bandura, A., & Walters, R. H. (1977). Social learning theory. Prentice Hall, Englewood cliffs.

Likert, R. (1961). New patterns of management. McGraw-Hill.

Stufflebeam, D.L., & Shinkfield, A.J. (2007). Evaluation Theory, Models, and Applications. Jossey-Bass.

Stufflebeam, D.L. (2000). The CIPP Model for Evaluation. In Stufflebeam, D. L., Madaus, G. F., & Kellaghan, T. (Eds.). Evaluation models: Viewpoints on educational and human services evaluation (Vol. 49). Springer Science & Business Media. https://doi.org/10.1007/0-306-47559-6_16

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31