การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการดูแล ควบคุมและป้องกันเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนานในผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม โรงพยาบาลราชวิถี

ผู้แต่ง

  • วิพร เกตุบำรุงพร โรงพยาบาลราชวิถี กรุงเทพมหานคร
  • ธิดา แต่งประกอบ โรงพยาบาลราชวิถี กรุงเทพมหานคร
  • พิจิตรา บุญเกิด โรงพยาบาลราชวิถี กรุงเทพมหานคร
  • นฤมล จันทร์สุข วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • อรนุช ขวัญเมือง โรงพยาบาลราชวิถี กรุงเทพมหานคร
  • ผาณิต จันทาบัว โรงพยาบาลราชวิถี กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, เชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนาน, ผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม

บทคัดย่อ

ปัญหาการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนานมีความรุนแรงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการดูแล ควบคุมและป้องกันเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนาน    กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ 19 คน ที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม จำนวน 19 คน  และผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุกรรม ก่อนใช้แนวปฏิบัติ 103 คน และหลังใช้แนวปฏิบัติ 99 คน แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่  1) การศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ 2)การพัฒนาแนวปฏิบัติ และ 3) การประเมินประสิทธิผลของแนวปฏิบัติ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล แบบวัดความรู้และความพึงพอใจในการใช้แนวปฏิบัติ  แบบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ และแบบเฝ้าระวังการติดเชื้อดื้อยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน  และสมการถดถอยปัวส์ซอง  ผลการวิจัยพบว่า  แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยแนวปฏิบัติ 8 ด้าน  และระบบการบริหารจัดการ 3 ด้าน   กลุ่มผู้ป่วยที่ใช้แนวปฏิบัติใหม่ มีอัตราการติดเชื้อดื้อยาลดลง   (RR= 2.44, p=0.039)  ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ของพยาบาลวิชาชีพในการใช้แนวปฏิบัติใหม่(M = 16.26, SD = 1.56) สูงกว่าการใช้แนวปฏิบัติเดิม(M=8.21, SD 2.42), t(18)=14.19, p<.05, d=8.05 และพยาบาลมีความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.76, SD = 0.48) 

References

กัลยกร บุญรักษา. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำ กับการมีส่วนร่วมในการทำงานของบุคลากรในศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอในเขตจังหวัดจันทบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]

งานการพยาบาลป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ โรงพยาบาลราชวิถี. (2564). รายงานเฝ้าระวังการติดเชื้อโรงพยาบาลราชวิถีประจำปี 2564. โรงพยาบาลราชวิถี.

ประจวบ ทองเจริญ. (2556). ผลของกลการใช้วิธีหลากหลายต่อการปฏิบัติของบุคลากรสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายขนาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์. (2556). เครื่องมือการประเมินคุณภาพแนวทางปฏิบัติสำหรับการวิจัยและการประเมินผล (AGREE II). (พิมพ์ครั้งที่2). บริษัทอาร์ต ควอลไพท์ จำกัด.

ภาณุมาศ ภูมาศ, ตวงรัตน์ โพธะ, และวิษณุ ธรรมลิขิตกุล. (2555). ผลกระทบด้านสุขภาพและเศรษฐศาสตร์จากการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย:การศึกษาเบื้องต้น. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 6(3), 352- 360.

วิไลลักษณ์ วงศ์จุลชาติ. (2560). การใช้กลวิธีหลากหลายเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติตามแนวทางป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 31(3), 441-456.

Judkins, B. J. ( 2021) . Nurses’ Perceptions of Caring for Patients in the Prone Position. Honors Theses and Capstones, 570. Retrieved November 10, 2022, from https://scholars.unh.edu/honors/570/

Liu, L., Liu, B., & Li, W. (2020). Successful Incidences of Controlling Multidrug-Resistance, Extensively Drug- Resistance, and Nosocomial Infection Acinetobacter baumannii Using Antibiotic Stewardship, Infection Control Programs, and Environmental cleaning at a Chinese University Hospital. Infection and Drug Resistance, 13, 2557-2570.

Jim,O. (2018). Tackling Drug-Resistant Infections Globally. Retrieved December 8, 2022, from https://amrreview.org/sites/default/files/160518_Final%20paper_with%20cover.pdf/

Peters, J. T., & Waterman, H.R. (1980). Search of excellence: Lessons from America’s. John Willey.

The Joanna Briggs Institute. (2014). Reviewers’ Manual 2014 Edition. Retrieved December 8, 2022, from http://www.Joannabriggs.org/assets/docs/sumari/reviewersmanual-2014.pdf

World Health Organization. (2014). Antimicrobial resistance: global report on surveillance. Retrieved from https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/112642/9789241564748_eng.pdf

World Health Organization. (2019). The Global threat of antibiotic resistance. Retrieved December 8, 2022, from https://www.reactgroup.org/antibiotic-resistance/the-threat/

World Health Organization. (2019). Implementation manual to prevent and control the spread of carbapenam –resistant organisms at the national and health care facility level. Retrieved December 8, 2022, from 2019-6

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25