พฤติกรรมการเตรียม ความสะอาดของลำไส้ใหญ่และความพึงพอใจต่อการให้บริการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ของผู้ที่เข้ารับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่แบบผู้ป่วยนอก

ผู้แต่ง

  • ศุภิสรา สุวรรณชาติ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จารุจิต ประจิตร โรงพยาบาลชุมพวง

คำสำคัญ:

การเตรียมลำไส้, ความสะอาดของลำไส้, การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

การเตรียมลำไส้ใหญ่ให้สะอาดทำให้การส่องกล้องประสบผลสำเร็จ การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเตรียม ความสะอาดลำไส้ใหญ่และความพึงพอใจต่อการส่องกล้อง กลุ่มตัวอย่าง คือผู้เข้ารับการส่องกล้องแบบผู้ป่วยนอกในโครงการคัดกรองมะเร็งลำไส้ที่ได้รับการเตรียมด้วยโปรแกรมการสร้างเสริมแรงจูงใจ 113 ราย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามพฤติกรรมการเตรียม แบบประเมินความสะอาดลำไส้และแบบสอบถามความพึงพอใจ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ค่า IOC = 1.00 นำแบบประเมินความสะอาดลำไส้ใหญ่ที่ประเมินโดยกลุ่มตัวอย่างและศัลยแพทย์ แบบสอบถามพฤติกรรมการเตรียมไปทดสอบความเชื่อมั่น ได้ค่า IRR-Kappa = 0.67, 1.00 และ 0.80 ตามลำดับ แบบสอบถามความพึงพอใจนำไปทดลองใช้ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก .97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา เปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมการเตรียมกับเกณฑ์ร้อยละ 80 ด้วย One sample t-tests เปรียบเทียบความสะอาดลำไส้ที่ประเมินโดยศัลยแพทย์กับกลุ่มตัวอย่างด้วย Chi-square tests พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการเตรียมอยู่ในระดับดีและสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t(112) = 47.34, p = .000 [หางเดียว]) กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 100 มีความสะอาดลำไส้ใหญ่ในระดับดีเลิศและดี ระดับความสะอาดลำไส้ใหญ่ที่ประเมินโดยกลุ่มตัวอย่างและศัลยแพทย์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ( gif.latex?^{}gif.latex?x2(1, n = 113) = 0.002, p = .965) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการส่องกล้องในระดับมากที่สุด (M = 4.94, SD = 0.16) ผลวิจัยสะท้อนให้เห็นผลลัพธ์ที่ดี ควรนำแนวทางดังกล่าวไปใช้ในการเตรียมผู้ที่จะเข้ารับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่แบบผู้ป่วยนอก

References

กรพัชชา คล้ายพิกุล, และทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. (2561). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคล และครอบครัวต่อพฤติกรรมการเตรียมลำไส้เพื่อการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทางทวารหนักในผู้สูงอายุ. วารสาร มฉก.วิชาการ, 21(42), 123-137. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/HCUJOURNAL/article/view/146768/108176

กันธ์ติชา เขียดน้อย, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์, และวารินทร์ บินโฮเซ็น. (2563). ความรู้ พฤติกรรมการเตรียม และความสะอาดของลำไส้ใหญ่ในผู้ที่เข้ารับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 38(4), 93-101. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article/view/245499/167323

จงดี ปานสุวรรณ, และ กิตติพร เนาว์สุวรรณ. (2565). ผลของการใช้สื่อวีดิทัศน์การปฏิบัติตัวก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตัว ความสะอาดของลำไส้และความวิตกกังวลในกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ของโรงพยาบาลนาหม่อม. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 12(1), 136-148. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsurin/article/view/255197/173441

เฉลิมชาติ แก้วอุดม, มยุรี ลี่ทองอิน, และสิริมาศ ปิยะวัฒนพงศ์. (2564). ผลของการเสริมสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมการเตรียมลำไส้ของผู้ดูแลและคุณภาพการเตรียมลำไส้ของผู้สูงอายุที่เข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทางทวารหนักแบบผู้ป่วยใน. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 28(1), 28-39. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmhs/article/view/249188/168794

ณัฐดนัย สุขุมะ. (2563). ประสิทธิภาพการส่องกล้องและการตรวจพบติ่งเนื้อของผู้ป่วยที่เข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ในโรงพยาบาลสิงห์บุรี. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร, 29(2), 51-62. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/248767/168423

ทิพยรัตน์ กันทะวงศ์, เกศศิริ วงษ์คงคำ, และวัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์. (2565). ผลของโปรแกรมการให้บริการการแพทย์ทางไกลต่อคุณภาพของการเตรียมลำไส้ใหญ่ในผู้ป่วยที่มารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม. วารสารสภาการพยาบาล, 37(4), 52-72. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/259228/177506

ธนานันต์ อาสนานิ, และไคลศรี บาดาล. (2564). การพัฒนารูปแบบการเตรียมความสะอาดของลำไส้ใหญ่ก่อนการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทางทวารหนัก ในผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกพิเศษ โรงพยาบาลหนองคาย. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 6(4), 126-132. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/article/view/253299/171147

ปัณณวัฒน์ โม้เวียง, ชนัญญา จิระพรกุล, และเนาวรัตน์ มณีนิล. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจมาตรวจยืนยันมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงโดยการส่องกล้อง (Colonoscopy) อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(3), 45-53. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/145284/144990

ปราณี ใบเศวต, จิตติมา ศรีทอง, และฐาณิชญาณ์ หาญณรงค์. (2564). ผลของการเตรียมผู้ป่วยเพื่อส่องกล้องลำไส้ใหญ่แบบผู้ป่วยนอก ศูนย์ส่องกล้อง โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 4(2), 40-53. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jhri/article/view/254543/173736

พรณภา ราญมีชัย. (2566). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อพฤติกรรมการเตรียมลำไส้เพื่อการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ โรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 31(1), 1-15. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/262739/179237

โสภณา ว่องทวี, ทัศนีย์ ตันธนา, วิภา แซ่เซี้ย, นันท์นภัส พรุเพชรแก้ว, และวรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ. (2564). การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค ความรุนแรง ประโยชน์และอุปสรรคของการส่องกล้องเพื่อตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้และไส้ตรงในกลุ่มที่มีความเสี่ยง: การศึกษาเปรียบเทียบ. Nursing Science Journal of Thailand, 39(3), 33-46. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ns/article/view/244466/170900

อลงกรณ์ จันทร์เจริญ. (2565). การเปรียบเทียบผลลัพธ์การเตรียมความสะอาดลำไส้ก่อนการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนักระหว่างผู้ป่วยในกับผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ: การทดลองแบบสู่มและมีกลุ่มควบคุม. ศรีนครินทร์เวชสาร, 37(4), 396-406. https://thaidj.org/index.php/smnj/article/view/12741

อัจฉรา ศรีรักษา, และ ชัชวาล วชิรเมธารัชต์. (2561). ผลของการเตรียมความสะอาดลำไส้ใหญ่ด้วยการให้ยา swiff 2 ครั้งร่วมกับการสวนอุจจาระ การให้ swiff 3 ครั้งและไม่สวนอุจจาระก่อนการส่องกล้องเพื่อการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 15(1), 187-195. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/195247/135717

ASGE Standard of Practice Committee. (2014). Bowel preparation before colonoscopy. Gastrointest Endosc, 2015;81, 781-794. http://dx.doi.org/10.1016/j.gie.2014.09.048

Donabedian, A. (2003) An Introduction to Quality Assurance in Health Care. Oxford University Press, Oxford.https://books.google.co.th/books/about/An_Introduction_to_Quality_Assurance_in.html?id=XJ0nmQEACAAJ&redir_esc=y

Hassan, C., et al., (2019). Bowel preparation for colonoscopy: European Society of Gastrointestinal Endoscopy (ESGE) Guideline Update 2019. https://doi.org/10.1055/a-0959-0505 Published online: 2019 | Endoscopy © Georg Thieme Verlag KG Stuttgart· New York

Hernandez, G., Gimeno-Garcia A Z., and Quintero E. (2019). Strategies to Improve Inadequate Bowel Preparation for Colonoscopy. Front. Med. 6: 245. https://doi.org/10.3389/fmed.2019.00245

Maddux, J. E., & Rogers, R. W. (1983). Protection motivation and self-efficacy: A revised theory of fear appeals and attitude change. Journal of Experimental Social Psychology, 19(5), 469–479. https://doi.org/10.1016/0022-1031(83)90023-9

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-20