ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ต่อคุณภาพชีวิตผู้ดูแลในชุมชน

ผู้แต่ง

  • พัชราภรณ์ ทะเกียง โรงพยาบาลพะเยา
  • อรอุมา อินทนงลักษณ์ โรงพยาบาลพะเยา
  • ภาคิน บุญพิชาชาญ โรงพยาบาลพะเยา
  • อรัญญา นามวงศ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จรรยา แก้วใจบุญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย, โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจ, คุณภาพชีวิตการทำงาน

บทคัดย่อ

การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย เป็นการดูแลภายใต้สภาวะความเครียด ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจและเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายก่อนและหลังการใช้โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วยในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่แพทย์วินิจฉัยให้กลับไปรักษาต่อที่บ้านแบบประคับประคอง ในเดือนตุลาคม 2566 ถึงมีนาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 23 คน โดยใช้โปรแกรม G*power ระดับความเชื่อมั่นที่ 0.05 อำนาจการทดสอบเท่ากับ 0.80  เครื่องมือที่ใช้คือโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายและคู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย  ผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายด้านภาระการดูแลของ Zarit ทดลองใช้กับกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 10 คน มีค่า Cronbach’s alpha coefficient เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และ paired t–test ผลการวิจัยพบว่าก่อนการใช้โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตระดับไม่ดี มากที่สุดร้อยละ 43.5 ระดับดี ร้อยละ 30.4 และระดับปานกลาง ร้อยละ 26.1 ส่วนหลังการใช้โปรแกรมพบว่ามีคุณภาพชีวิตระดับดีขึ้น ร้อยละ 100 แตกต่างจากก่อนใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= 9.095, p-value< 0.001) จากผลการศึกษาดังกล่าว งานการพยาบาลชุมชน ควรส่งเสริมการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายเพื่อช่วยให้ผู้ดูแลมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

References

กรมการแพทย์. (2563). คู่มือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและระยะท้าย (สำหรับบุคลากรทาง การแพทย์). องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565. อมรินทร์คอร์เปอเรชั่นส์.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. (2564). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2564. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

กิตติยาพร จันทร์ชม, ญาณี แสงสาย, และบรรเทิง พลสวัสดิ์. (2564). การเสริมสร้างพลังอำนาจในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง ในครอบครัวและชุมชน: บทบาทสำคัญขอพยาบาล. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์, 5(2), 12-24.

งานเวชระเบียน โรงพยาบาลพะเยา. (2565). รายงานสาเหตุการตายของผู้ป่วยที่มารักษาในโรงพยาบาลพะเยา. โรงพยาบาลพะเยา.

จิรนันท์ ปุริมาตย์, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, ศุภชัย ปิติกุลตัง, และกรวรรณ ยอดไม. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(4), 610-619.

น้ำทิพย์ ยิ้มแย้ม, และยุวดี รอดจากภัย. (2560). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างอำนาจผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี, วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 24(2), 46-58.

มกราพันธุ์ จูฑะรสก, และอณิษฐา จูฑะรสก. (2560). การสะท้อนคิด : กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ เชิงสร้างสรรค์ด้วยตะกร้า 3 ใบ (พิมพ์ครั้งที่ 3). แดเนกซ์อินเตอร์คอปอเรชั่น.

รัชนีกร ใจคำสืบ, และศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. (2562). สุขภาวะทางใจของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลอุตรดิตถ์, 11(1), 213-223.

วิยะการ แสงหัวช้าง, วิไลวรรณ แสงธรรม, และวิไลวรรณ วงศ์เจริญ. (2560). ผลของการใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ต่อการรับรู้พลังอำนาจและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับ ทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(3), 159-172.

วรณัน ประสารอธิคม. (2561). แนวคิดการดูแลสุขภาพที่บ้าน (Concept of home care). https://www.rama.mahidol.ac.th/um/sites/default/files/public/pdf.

สุชาวดี รุ่งแจ้ง, และรัชนี นามจันทรา. (2559). การจัดการอาการในผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลาม. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 27(2), 43-57.

สุภาพร แนวบุตร. (2558). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วยในครอบครัว. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 8(4), 30-40.

อังคณา สมคง, สุทัศน์ ศุภนาม, และกรรณิกา รักยิ่งเจริญ. (2564). ผลของโปรแกรมการสื่อสารทางบวกต่อความเครียดและการเผชิญความเครียด ของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยวิกฤติ. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 37(2), 100-109.

อรพรรณ ฟูมณีโชติ. (2560). เยี่ยมบ้านกับการดูแลผู้ป่วยประคับประคอง. สงขลานครินทร์เวชสาร, 35(4), 399-406.

อรวรรณ ศิลปกิจ, ชัชวาล ศิลปะกิจ, และรสสุคนธ์ ชมชื่น. (2558). คุณสมบัติทางจิตวิทยาของแบบ ประเมินภาระการดูแล Zarit ในผู้ป่วยจิตเวช.วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 23(1), 12-23.

Artanthia, J. & Pomthong, R. (2018). Nurses’ role: case study of psychological care for caregivers of patients with terminal illness. Journal of the Royal Army Nurses, 19(1), 1-8.

World Health Organization. (2020). Palliative care. Retrieved October 1, 2023, from https://www-who-int.translate.goog/news-room/fact-sheets/detail/palliative-care?_x_tr_sl=en&_x_tr_tl=th&_x_tr_hl=th&_x_tr_pto=sc

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-12