การพัฒนาต้นแบบวอคเกอร์เตือนภัยเหตุฉุกเฉินโดยใช้การเรียนรู้โครงงานเป็นฐาน ร่วมกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบและการเรียนรู้แบบสหสาขาวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมความมั่นใจผู้สูงอายุที่มีข้อจำกัดการเคลื่อนไหว เมื่ออาศัยอยู่บ้านคนเดียวในชุมชน
คำสำคัญ:
นวัตกรรม, ผู้สูงอายุ, การคิดเชิงออกแบบ, การเรียนรู้แบบสหสาขาวิชาชีพ, ชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยและการพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาต้นแบบนวัตกรรมวอคเกอร์เตือนภัยเหตุฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีข้อจำกัดการเคลื่อนไหวที่ใช้วอคเกอร์ จำนวน 30 คน และญาติผู้ดูแล เลือกแบบจำเพาะเจาะจง เครื่องมือวิจัย คือ 1) นวัตกรรมวอคเกอร์เตือนภัยเหตุฉุกเฉิน 2) แบบประเมินการใช้งาน 3) แบบประเมินความมั่นใจของผู้สูงอายุที่อยู่บ้านคนเดียว 4) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุ และ 5) ความพึงพอใจของญาติผู้ดูแลต่อการใช้งานนวัตกรรมวอคเกอร์ เครื่องมือวิจัย ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีค่าดัชนีความตรงของเครื่องมือ (CVI) คือ 1.00, .79, .75, .80 และ .86 ตามลำดับ และนำหาค่าความเที่ยงของเครื่องมือได้ค่าครอนบาช (a) คือ .78, .77, .88 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนาและค่าสถิติทดสอบ one sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนการใช้งาน (usability scale) หลังใช้นวัตกรรมวอคเกอร์เตือนภัยเหตุฉุกเฉินสูงกว่าคะแนนเกณฑ์มาตรฐานระดับมาก (3.50) (p <.001) 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนความมั่นใจของผู้สูงอายุที่อยู่บ้านคนเดียวและเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินสูงกว่าคะแนนเกณฑ์มาตรฐานระดับมาก (3.50) (p <.001) 3) ค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจของผู้สูงอายุสำหรับการใช้งานนวัตกรรมวอคเกอร์สูงกว่าคะแนนเกณฑ์มาตรฐานระดับมาก (3.50) (p <.001) และค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจของผู้ดูแลสำหรับการใช้นวัตกรรมวอคเกอร์ สูงกว่าคะแนนเกณฑ์มาตรฐานระดับมาก (3.50) (p <.001) ดังนั้น การพัฒนาต้นแบบวอคเกอร์เตือนภัยเหตุฉุกเฉิน โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบสามารถส่งเสริมความมั่นใจผู้สูงอายุที่มีข้อจำกัดการเคลื่อนไหวเมื่ออาศัยอยู่บ้านคนเดียวในชุมชนได้
References
กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง, อัจฉรา คำมะทิตย์, นพรัตน์ ธรรมวงษา, มัทนา พรมรักษา, นวภรณ์ ดอกชะบา, ทัศนีวรรณ กรุงแสนเมือง, และอัจฉรา อาสน์ปาสา. (2565). ประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้การคิด เชิงออกแบบ และการเรียนรู้แบบสหสาขาวิชาชีพต่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ (4Cs) และสมรรถนะ ในการทำงานร่วมกันแบบสหสาขาวิชาชีพในวิชานวัตกรรมทางการพยาบาล. วารสารสารสนเทศและการเรียนรู้, 32(3), 14-24.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). ฐานบัณฑิต.
ฐิติพร เลิศรัตน์เดชากุล, คณากาญจน์ รักไพฑูรย์, และเกษม ทิพย์ธาราจันทร์. (2565). การจำลองการมองเห็นสี และการออกแบบสีสื่ออารมณ์สำหรับผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 12(2), 11-20.
ณัฐณิชา ธัญญาดี, ธาตรี โบสิทธิพิเชฎฐ์, และ ธนกมณ ลีศรี. (2565). การ ใช้ยาหลายขนานการใช้ยาที่เสี่ยงต่อ ภาวะหกล้มและภาวะหกล้มในผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการระบบบริการปฐมภูมิจังหวัดพระนครศรีอยุธยา: การศึกษาแบบภาคตัดขวาง. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัย สิ่งแวดล้อม, 16(1), 236-250.
นงนุช หอม เนียม. (2563). แนวคิดภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมด้านสุขภาพในวิชาชีพการพยาบาล. วารสารการ แพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 28(2), 244-253.
นิภา ภัทรจันทบูรณ์, อัจริยา วัชราวิวัฒน์, และ วรินทร จันทรมณี. (2560). นวัตกรรมสุขภาพรองเท้าจุกยางกัน ลื่นและนวดเท้าสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 1(2), 42-53.
นุชจรี กิจวรรณ. (2661). กระบวนการคิดเชิงออกแบบ: มุมมองใหม่ระบบสุขภาพไทย. วารสารสภาการพยาบาล, 33(1), 5-14.
ปรียาภรณ์ มีสุข. (2565). การป้องกันและเฝ้าระวังการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. http://dspace.lib.buu.ac.th/bitstream/1234567890/5058/1/MED_Preeyaporn.pdf
ปาจรีย์ แขไข. (2566). ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุจังหวัด ลำปาง. วารสารการพยาบาลสุขภาพและสาธารณสุข, 2(3), 35-49.
พิรุณ กมลผาด. (2023). การพยาบาลผู้ ป่วยสูงอายุกระดูกข้อสะโพกหักและมีโรคร่วมที่ได้รับการผ่าตัดยึดตรึง ด้วยโลหะ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(1), 176-184.
เพ็ญ จันทร์ ประดับ มุขเชอร์เรอร์, อุบลพรรณ ธีระศิลป์, และพีรญา เพชรชัย. (2023). สถานการณ์ ชีวิต ผู้ สูงอายุ และปัจจัยกำหนดความรุนแรงในผู้สูงอายุ: การสำรวจเชิงปริมาณในพื้นที่ 5 จังหวัด. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(5), 472-490.
รัดเกล้า วงศ์ชัยสุริยะ, เกรียงศักดิ์ ปินตาธรรม, ยุทธนา โค้วจิริยะพันธุ์, และพรธีรา พรหมยวง. (2564). ปัจจัยที่ สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยอุบัติเหตุที่นำส่งด้วยชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูงของโรงพยาบาล เชียงรายประชานุเคราะห์. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย, 1(1), 14-22.
วรัตถ์ สิทธิ์เหล่าถาวร, และบรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ. (2562). การออกแบบอุปกรณ์ช่วยเดิน ที่มีระบบพยุงน้ำหนัก บางส่วนสำหรับผู้ที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวด้านการเดินรุ่นที่ 2.0. Kasetsart Engineering Journal, 31(105), 1-10.
วิโรจน์ กิตติวรปรีดา. (2563). เครื่องขอความช่วยเหลือสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังแบบหลายบุคคล. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง, 4(2), 66-78
อธิบดี มหาวัน, ฤตคม ศรีจิรานนท์, และนัฐชยพงศ์ ธีรัชตระกูล. (2565). วอคอะโก: ไม้เท้าอเนกประสงค์สำหรับช่วยเหลือและติดตามผู้ใช้งานผ่านแอพพลิเคชันไลน์ Walk A Go: Multi-purpose walking stick to assist and track users via LINE application. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งรัตนโกสินทร์, 4(2), 11-18.
อนัญญา โสภณนาค. (2563). ประสบการณ์ชีวิตของการเป็นผู้ บกพร่องทางการได้ยินของผู้สูงอายุ. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลศาสตร์] จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภินภัศ จิตรกร. (2563). การพัฒนารูปแบบสื่อข้อมูลเชิงภาพตามหลักการแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อ ส่งเสริมความตระหนักเรื่องสุขภาพในผู้สูงอายุผ่านทางไลน์ แอปพลิเคชัน. วารสารศิลปะการจัดการ, 5(3), 877-894.
อุกฤษฏ์ อำไพพันธุ์. (2566). การ ศึกษา สัดส่วน ร่างกาย ผู้ สูงอายุ ที่ มี ปัญหา ใน การ เคลื่อนไหว. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 15(2), 136-153.
Boonmatong, R. (2020). Fall prevention among the elderly living in a community: The nursing role in promotion and prevention of fall. Christian University Journal, 26(4), 106-115.
Cohen, J. (1992). Statistical power analysis. Current Directions in Psychological Science, 1(3), 98–101. https://doi.org/10.1111/1467-8721.ep10768783
Nawsuwan K., Singhasem P., Suwanrai, M., & Jamtim N. (2017). Developing indicators of gerontological nursing competencies in nursing students: Boromarajonani college of nursing, Songkhla the Southem College Network. Journal of Nursing and Public Health, 3(3), 15-34. (in Thai)
Walohtae, F. I., & Siriphan, S. (2022). Guidelines for preventing falls of elderly patients in hospitals. Princess of Naradhiwas University Journal, 14(2), 282-296.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว