ผลของโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
สมรรถนะ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, การคัดกรอง , โรคความดันโลหิตสูง, การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบทคัดย่อ
โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญทั่วโลก การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิและสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแบบจับคู่ กลุ่มละ 29 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย กิจกรรมการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ 5 กิจกรรม คือ (1) การจัดการองค์ความรู้ (2) การเรียนรู้สู่การเป็นผู้นำ (3) การปฏิบัติสู่ความเป็นเลิศ (4) การใช้องค์ความรู้สู่ความสำเร็จ โดยจัดกิจกรรมเป็นเวลา 4 วัน วันละ 4 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง และ (5) กิจกรรมให้คำปรึกษาและติดตามผลลัพธ์ เป็นเวลา 5 สัปดาห์ แบบทดสอบความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง แบบประเมินทักษะการคัดกรอง และแบบประเมินทักษะการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น KR 20 เท่ากับ 0.81 และสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาก 0.84 และ 0.87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง (M=18.17, SD=1.79) ทักษะการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง(M=55.41, SD=0.83) และทักษะการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง (M-26.90, SD=0.90) ซึ่งสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังสิ้นสุดการทดลอง ผลการวิจัยนี้สนับสนุนว่าการพัฒนาสมรรถนะ อสม. โดยเสริมสร้างพลังอำนาจร่วมกับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมทำให้อสม.มีความรู้ ทักษะการคัดกรองภาวะสุขภาพและความสามารถในการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562). รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2566, 17 พฤษภาคม). กรมควบคุมโรค แนะประชาชนวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ “รู้เลข รู้เสี่ยง เลี่ยงโรคไม่ติดต่อ”. สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/191384/
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ.2554 พร้อมด้วยกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
เกษศิรินทร์ พุทธวงศ์, ศิวพร อึ้งวัฒนา, และวิลาวัณย์ เตือนราษฎร์. (2565). ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อความรู้และพฤติกรรมการบริโภคโซเดียมในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 49(3), 246-257.
ชูชาติ ฝั้นเต็ม. (2565). ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขในการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่ระดับตำบลของจังหวัดอุตรดิตถ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
นสหชม เอโหย่, วิภาพร สิทธิสารท, นิดา มีทิพย์, และสุรีรัตน์ ณ วิเชียร. (2565). ผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะ อสม.ในการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงตามวิชัยโมเดล 7 สีต่อความรู้การปฏิบัติการคัดกรอง และการให้คำแนะนำโรคความดันโลหติสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารกองการพยาบาล, 49(2), 12-22.
วิชัย เทียนถาวร. (2565, 18-19 เมษายน). แนวคิด สบช.โมเดล: การสร้างบัณฑิตเพื่อสร้างชุมชนสุขภาวะ. [เอกสารประกอบการบรรยาย]. การประชุมโครงการสร้างชุมชนสุขภาวะด้วย สบช.โมเดล 2022: 1 วิทยาลัย 1 ชุมชน เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว. โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ท จังหวัดปทุมธานี.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี กระทรวงสาธารณสุข. (2566, 8 ธันวาคม). กลุ่มรายงานมาตรฐานการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญสำคัญ. https://sni.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11
Bandura, A. (1997). Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review, 84(2), 191-215.
Bandura, A., & Hall, P. (2018). Albert bandura and social learning theory. Learning theories for early years, 78.
Best J. W, & Kahn J. V. (2016). Research in education (10th ed.). Pearson Education.
Bloom, B. S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. McGraw-Hill.
Boopathiraj, C., & Chellamani, K. (2013). Analysis of test items on difficulty level and discrimination index in the test for research in education. International Journal of Social Science & Interdisciplinary Research, 2(2), 189-193.
Brown, J. D. (2011). Testing in language programs: A comprehensive guide to English language assessment. Jamesa Dean Brown.
Colomer, J., Serra, T., Cañabate, D., & Bubnys, R. (2020). Reflective learning in higher education: Active methodologies for transformative practices. Sustainability, 12(9), 3827.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G* Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.
Haldane, V., Chuah, F. L., Srivastava, A., Singh, S. R., Koh, G. C., Seng, C. K., & Legido-Quigley, H. (2019). Community participation in health services development, implementation, and evaluation:.
Harkness, K., Arthur, H., & McKelvie, R. (2013). The measurement of uncertainty in caregivers of patients with heart failure. J Nurs Meas, 21(1), 23-42.
Kanter, R. M. (1993). Men and women of the corporation (2nd ed.). Basic Book
Kolb, D. A. (2014). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. FT press.
Laddha, M. D., Lokare, V. T., Kiwelekar, A. W., & Netak, L. D. (2021). Classifications of the summative assessment for revised blooms taxonomy by using deep learning. arXiv preprint arXiv:2104.08819.
McClelland, D. C. (1973). Testing for competence rather than for intelligence. American Psychologist, 28(1), 1–14. https://doi.org/10.1037/h0034092
McClelland, D. C. (1998). Identifying competencies with behavioral-event interviews. Psychological Science, 9(5), 331–339.
McClelland, D. (2015). Achievement motivation theory. In Organizational Behavior 1 (pp. 46-60). Routledge.
Merriam, S. B., & Baumgartner, L. M. (2020). Learning in adulthood: A comprehensive guide. John Wiley & Sons.
Polit, D.F., & Beck, C.T. (2006). The content validity index: Are you sure you know what’s being reported? Critique and recommendations [Electronic version]. Research in Nursing & Health, 29, 489-497.
Rajaa, S., Sahu, S. K., & Thulasingam, M. (2022). Contribution of community health care volunteers in facilitating mobilization for diabetes and hypertension screening among the general population residing in urban puducherry–An operational research study. Journal of Family Medicine and Primary Care, 11(2), 638-643.
Safary, E., Mwandeti, M., Matanje, B., Beiersmann, C., Mtaita, C., Shiroya, V., Winkler, V., Deckert, A.,
Kumar, P., & Phiri, S. (2021). Role of community health volunteers in identifying people with elevated blood pressure for diagnosis and monitoring of hypertension in Malawi: a qualitative study. BMC Cardiovascular Disorders, 21, 1-13. https://doi.org/10.1186/s12872-021-02171-7
World Health Organization. (2023). First WHO report details devastating impact of hypertension and ways to stop it. https://www.who.int/news/item/19-09-2023-first-who-report-details-devastating-impact-of-hypertension-and-ways-to-stop-it
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว