การพัฒนารูปแบบการจัดการทางการพยาบาลผู้ป่วยอายุรกรรมที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์

ผู้แต่ง

  • ศิริวรรณ เมืองประเสริฐ โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์
  • นริสา สะมาแอ โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์
  • ทัศณียา ไข้บวช โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์
  • ชฎาพร ฟองสุวรรณ โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์

คำสำคัญ:

การจัดการภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, การบริหารการพยาบาล, ผู้ป่วยอายุรกรรม, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการทางการพยาบาลผู้ป่วยอายุรกรรมที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ดำเนินการระหว่างมีนาคม ถึง กันยายน พ.ศ. 2567 แบ่งเป็น 4 ระยะ 1) วิเคราะห์สถานการณ์และแนวทางพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพและทีมสหสาขา รวม 165 คน วิเคราะห์เนื้อหาจากสนทนา 2) พัฒนารูปแบบฯ ผ่านการตรวจสอบ ความตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน (IOC = 0.87) 3) ทดลองใช้และปรับรูปแบบฯ และ 4) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยอายุรกรรม จำนวน 47 คน ใช้สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนา และค่าทีอิสระ ผลการวิจัยได้รูปแบบการจัดการทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นเรียกว่า ทู-สปีด โมเดล (TO-SPEED Model) ครอบคลุม 7 องค์ประกอบ คือ 1) คิดการณ์ล่วงหน้า 2) จัดโครงสร้างคนและงาน 3) พัฒนาสมรรถนะด้วยการนิเทศ  4) มุ่งปฏิบัติงานตามมาตรฐาน 5) ความไวในการคัดกรองและดักจับ 6) ติดตามประเมินผลต่อเนื่อง และ 7) การประสานงานมุ่งผลลัพธ์ หลังการใช้รูปแบบฯ พบว่า การปฏิบัติของพยาบาลตามแนวปฏิบัติการพยาบาล มีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -39.374, p< .001) ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดตามแนวปฏิบัติพยาบาลสมรรถนะของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต และค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) ส่วนผู้ป่วย Septic shock ได้รับการเฝ้าระวังและดูแลตามแนวปฏิบัติพยาบาล การเกิดภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือดขณะอยู่ในรพ. และการเสียชีวิตไม่มีความแตกต่างกัน

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2566). อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรง. สืบค้น 17 เมษายน 2567, https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=144fdf97a756b3f82dce197287e06316

กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. (2561). บทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ. สื่อตะวัน.

กันยารัตน์ ม้าวิไล. (2563) . เปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดก่อน และหลังการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลเพื่อค้นหาและ จัดการกับภาวะวิกฤตกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, 3(1), 43-60.

คนึงนิจ ศรีษะโคตร, วไลพร ปักเคระกา, จุลินทร ศรีโพนทัน, นิสากร วิบูลชัย, สุคนธ์ทิพย์ ปัตติทานัง, รุ่งนภา ธนูชาญ, พุทธกัญญา นารถศิลป์, เพิ่มพูน ศิริกิจ, และชวมัย ปินะเก. (2564). การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลเพื่อป้องกันอาการทรุดลงทางคลินิกในผู้ป่วยที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อ. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 27(2),150-167.

เชิดชัย กิตติโพวานนท์. (2565). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพ และหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอชนบทจังหวัดขอนแก่น. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว, 5(3), 219-232.

ณัฎฐ์ฎาพร ศรีประดิษฐ์, อรรจจิมา ศรีชนม์, และเพ็ญจุรี แสนสุริวงศ์. (2567). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลนครพนม. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์, 8(1), 1-17.

ดรุณี ไชยวงค์, ภิตินันท์ อิศรางกูร ณ อยุธยา, จารุวรรณ ชมพูสืบ, และปริชาติ ขันทรักษ์. (2565). การพัฒนาระบบการให้การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และ ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ (Sepsis and Septic shock) ของจังหวัดเชียงใหม่. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์, 13(2), 57-74.

ธนพร หนองพล. (2567). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพในโรงพยาบาลเกษตรวิสัย. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสุขภาพ, 5(1), 576-585.

ธิราภรณ์ อุ่นแก้ว, และอนุพันธ์ สุวรรณพันธ์. (2564). การพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตของโรงพยาบาลขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 1(2), 40-52.

นฤมล ฮามพิทักษ์. (2566). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด: กรณีศึกษา. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 8(3), 451-461.

บุษยารัตน์ ศิลปวิทยาทร, และบุญพิชชา จิตต์ภักดี. (2563). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพในการพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 38(2), 6-14.

พรเพ็ญ สกุลรัตน์, เนตรชนก ศรีทุมมา, และพัชราภรณ์ อารีย์. (2567). ผลของโปรแกรมการบริหารแบบมีส่วนร่วมต่อผลลัพธ์การใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 18(1), 1-15.

มณีรัตน์ แข็งแรง. (2567). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลปทุมรัตน์. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ, 5(1), 262-274.

ยุวดี เทียมสุวรรณ, อรชร มาลาหอม, ธีรนุช ยินดีสุข, ประภัสสร ควาญช้าง, และนุสรา ประเสริฐศรี. (2560). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในผู้ป่วยหนัก โดยใช้การจัดการรายกรณี ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(1), 184-193.

รัชณีวรรณ คูตระกูล, พิชญพันธุ์ จันทระ, พัชรี ยิ้มแย้ม, สุรีย์พร กุมภาคา, และรัชนี นามจันทรา. (2565). การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกการพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 30(2), 193-209.

รุ่งทิพย์ เจริญศรี, รุ่งรัตน์ สายทอง, จรูญศรี มีหนองหว้า, และวันชัย เลิศวัฒนวิลาศ. (2566). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในหอผู้ป่วยอายุรกรรม. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 29(3), 56-74.

ลัดดา จามพัฒน์. (2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารการพยาบาล สุขภาพและการศึกษา, 3(2), 56-66.

ลภิสรา สวัสดิรักษ์, สมดี อนันต์ปฏิเวธ, ภรรวษา จันทศิลป์, และพรนิภา ลีละธนาฤกษ์. (2566). การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลชัยภูมิ. วารสารการพยาบาลตำรวจ, 15(2), 182-194.

วไลพร ปักเคระกา, วุฒิชัย สมกิจ, นิสากร วิบูลชัย, และสุชัญญ์ญา เดชศิริ. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการทางการพยาบาลเพื่อป้องกัน การเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยวิกฤตทางศัลยกรรมระบบประสาท. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 33(2), 81-97.

เวชสถิติ โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์. (2566). อัตราการเสียชีวิตจากภาวะช็อกจากการติดเชื้อ (Septic shock) ปี 2564-2566. งานเวชสถิติ โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์.

ศิริวรรณ เมืองประเสริฐ, อุษณีย์ คงคากุล, นริสา สะมาแอ, ทัศณียา ไข้บวช, จุฑามาศ เอี่ยมวุฒิวัฒนา, และสรวงสุดา เจริญวงศ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 10(2), 13-24.

ศุภา เพ็งเลา, และกนกวรรณ สินลักษณทิพย์. (2563). การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5, 39(4), 698-712.

สมพร รอดจินดา. (2563). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลน่าน. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 31(1), 212-231.

สุกมล วงศ์คูณ. (2566). ประสิทธิผลการพัฒนาปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 8(2), 62-71.

สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2550). มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (ปรับปรุงครั้งที่ 2). โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก.

สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย. (2558). แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย severe sepsis และseptic shock (ฉบับร่าง) พ.ศ. 2558. สืบค้น 19 มีนาคม 2566, จาก https://externinternguide.wordpress.com/wp-content/uploads/2017/12/52-septic-shock-draft-2015exin.pdf

สุมาลี รูปเหรียญ. (2566). การพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วย Septic Shock งานผู้ป่วยในโรงพยาบาลดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ปี 2566. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 8(4), 182-189.

แสงสม เพิ่มพูน. (2563, 9-10 กรกฎาคม). การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตที่มีภาวะช็อค (Septic shock). งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12. เรื่อง ศาสตร์พระราชา และการวิจัยเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตในยุค Disruptive Technology. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

อังคณา เกียรติมานะโรจน์. (2564). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลวาปีปทุม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 5(9). 27-40.

Evans, L., Rhodes, A., Alhazzani, W., Antonelli, M., Coopersmith, C. M., French, C., & Levy, M. (2021). Surviving sepsis campaign: International guidelines for management of sepsis and septic shock 2021. Critical Care Medicine, 49(11), e1063–e1143.

Fayol, H. (1949). General and industrial management. Sir Isaac Pitman & Sons. Translated by C. Storrs.

Hyung-Jun, K., Ryoung-Eun, K., Sung Yoon, L., Sunghoon, P., Gee Young, S., & Yeon Joo, L. (2024). Sepsis alert systems, mortality, and adherence in emergency departments a systematic review and meta-analysis. JAMA Network Open critical care medicine, 7(7), 1-13. https://doi.org/10.1001/jamanetworkopen.2024.22823

Joanna Briggs Institute. (2015). Joanna Briggs Institute reviewers’ manual 2015. https://reben.com.br/revista/wp-content/uploads/2020/10/Scoping.pdf

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610

Matteo, G., Benedetta, P., Michele, D., Spampinato, A., Eleonora C., Martina M., Carlo C., & RobertoDeGiorgio. (2023). ). Update on sepsis and septic shock in adult patients: management in the emergency department. Journal of clinical medicine, 12(3188), 1-23.

Rababa M, Bani Hamad D, & Hayajneh AA (2022) Sepsis assessment and management in critically Ill adults: A systematic review. PLoS ONE 17(7): e0270711. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0270711

Waltz, C. F., Strickland, O. L., & Lenz, E. R. (2010). Measurement in Nursing and Health Research. (4thed.). New York: Springer.

Word Health Organization. (2020). Global report on the epidemiology and burden of sepsis: current evidence, identifying gaps and future directions. https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/334216/9789240010789-eng.pdf?sequence=1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-19