ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงวิกฤติ
บทคัดย่อ
โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด การมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมตาม
แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรม
สุขภาพในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงวิกฤติ จำนวน 70 ราย ที่มารับบริการที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาล
บรบือ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้าน
สุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง หาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธ์แอลฟา
ของครอนบัค ได้ค่าความเชื่อมั่น .82 และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจง ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงวิกฤติมีการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี ( =3.06, SD= .30) 2) ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงวิกฤติมีพฤติกรรมสุขภาพ โดยรวมอยู่ ในระดับเหมาะสมมาก ( =2.38, SD = .28) 3) การรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงวิกฤติ ในระดับปานกลาง (r =.322) อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ ระดับ .01
สรุปผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงวิกฤติที่มีการรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อ
ด้านสุขภาพที่เหมาะสม จะทำให้สามารถป้องกันและควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ดังนั้นจึงควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรค ภาวะแทรกซ้อน สร้างแนวทางในการจัดการกับปัญหาและส่งเสริมให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงวิกฤติมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว