ความชุกของการปวดหลังจากการทำงานของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • Zena Lynch
  • Chayaphorn Vudhironarit
  • Suwanna Vudhironarit

คำสำคัญ:

ความเสี่ยงของการปวดหลัง, ความชุกของพยาบาลที่ปวดหลังในประเทศไทย, Low back painrisk, Prevalence of nurses in low back pain in Thailand

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                   การปวดหลังจากการทำงานเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในพยาบาล จากการศึกษาวิจัยพบว่าการปวดหลังเป็นสาเหตุที่พบบ่อยมากที่สุดของการรับการบริการที่โรงพยาบาล พยาบาลมีความเสี่ยงมากขึ้นต่อการปวดหลังเนื่องจากการทำงานที่ต้องยกตัวผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้และอุปกรณ์การแพทย์ ปัจจัยที่เป็นสาเหตุการปวดหลัง ได้แก่ ปัจจัยด้านปัจเจคบุคคล ความเครียด และกิจกรรมการทำงาน การศึกษานี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการวิเคราะห์ความชุกของการปวดหลังและความสัมพันธ์ของอาการปวดหลังและกิจกรรมการทำงานของพยาบาลในประเทศไทย โดยส่งแบบสอบถามไปยังพยาบาลจำนวน 500 คนที่กำลังปฏิบัติงานในโรงพยาบาลที่สุ่มเลือกในประเทศไทย แบบสอบถามประกอบด้วย ปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้านปัจเจกบุคคล การทำงาน และอาการปวดหลัง วิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องและความชุกของการปวดหลังด้วยการวิเคราะห์พหุสัมพันธ์ถดถอยแบบโลจิสติกส์ มีพยาบาลที่ตอบแบบสอบถามนี้จำนวน 450 คน คิดเป็นร้อยละ 88 ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 91 มีอาการปวดหลัง จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าประวัติการเกิดอุบัติเหตุที่หลังมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงของการปวดหลังที่เพิ่มขึ้น (OR: 2.767, CI: 1.006 – 7.61,            p < .05) ความชุกของการปวดหลังของพยาบาลในประเทศไทยอยู่ในระดับสูง (OR: 5.299, CI: 1.183 – 23.745, p < .05) ปัจจัยด้านปัจเจกบุคคลเป็นส่วนหนึ่งของการปวดหลัง แต่กิจกรรมการทำงาน ความเครียดเป็นปัจจัยที่ทำให้ปวดหลังมากขึ้น ดังนั้น การเพิ่มประสบการณ์ทำงานที่ถูกต้อง  น่าจะลดอาการปวดหลังของพยาบาลได้

The Prevalence of Self-Reported Work-Related Low Back Pain Problems

among Nurses in Thailand

Abstract

               Low Back Pain (LBP) is one of the most common work-related health issues among nurses worldwide. LBP has been reported as the most frequent cause of all complaints in the some hospitals. Nurses have an increased risk of LBP due to their responsibilities, which include lifting disabled patients and carrying medical devices. It can be seen that LBP is related to many factors including stress, and other work related activities.  The purposes of this cross-sectional study was to identify the prevalence of LBP and to examine the association between self-reported LBP symptoms and work related activities of nurses in Thailand. Questionnaires were sent randomly to five-hundred nurses in five representative hospitals in Thailand. The questionnaires contained relevant factors including personal data, working data, and LBP symptoms. The Multiple Logistic Regression analysis was used for adjusting the associations between relevant factors and the prevalence of self-reported LBP. Four hundred and forty nurses participated in this study with 88% response rate. The results showed that 91% of them had LBP. This analysis indicated that previous back injury (OR: 2.767, CI: 1.006 – 7.61, p < .05) and job stress (OR: 5.299, CI: 1.183 – 23.745, p < .05) were associated with increased risk of LBP. The prevalence of LBP among nurses in Thailand was high.  Not only personal factors can lead to LBP, but also work related activities including job stress and manual handling can increase the risk of LBP.

                  The results should be applied to reduce LBP among nurses by adding practical experience in order to nurse confidence before the actual work.

Downloads