การศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา ในปี พ.ศ. 2548 และ 2549 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • นุชมาศ แก้วกุลฑล อาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • พิศมัย อุบลศรี อาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • ผกาทิพย์ สิงห์คำ อาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • ปัทมาภรณ์ คงขุนทด อาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • น้ำฝน ไวทยวงศ์กร อาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, การปฏิบัติงานของบัณฑิต, วิทยาลัยพยาบาล, performance satisfaction, graduated nurses, college of nursing

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบัณฑิต  หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง/ต่อเนื่องภาคพิเศษ) ที่สำเร็จการศึกษาในปีพ.ศ.2548 และปีพ.ศ.2549 จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา ใน 3 ด้าน คือ 1) ด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการ 2) ด้านความรู้ความสามารถพื้นฐาน และ 3) ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต จำนวน 399 คน และเพื่อนร่วมงานของบัณฑิต จำนวน 798 คน  เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบัณฑิต ค่าความเที่ยงของเครื่องมือโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบัณฑิต โดยใช้สถิติ Independent t-test  ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบัณฑิต  ที่สำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ.2548   มีค่าเฉลี่ยรายด้านและโดยรวมอยู่ในระดับมาก (\bar{X}= 4.11, S.D. = .55)

2) ระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบัณฑิต  ที่สำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ.2549  มีค่าเฉลี่ยรายด้านและโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (\bar{X}= 4.22, S.D. = .46)  3) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบัณฑิต หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง/ต่อเนื่องภาคพิเศษ) ด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการ  ด้านความรู้ความสามารถพื้นฐาน ด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณของวิชาชีพ  และโดยรวม ไม่แตกต่างกัน ผลการวิจัยสามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องและได้มาตรฐานคุณภาพบัณฑิตในระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

คำสำคัญ : ความพึงพอใจ, การปฏิบัติงานของบัณฑิต, วิทยาลัยพยาบาล

 

Abstract

The purpose of this research is to examine and compare the level of performance satisfaction of 2005 and 2006 graduate nurses from the Bachelor of Nursing Science Program and Diploma in Nursing Science Program (2 years / 3 years) in Boromarajonani College of Nursing, Nakhonratchasima. Supervisors and colleagues reviewed three aspects of performance; 1) academic / professional ability 2) basic nursing ability and 3) nursing morals and ethics. The collected data came from sampling 399 supervisors and 798 colleagues of graduate nurses who completed the nursing programs in 2005 and in 2006. Data was collected using a five Likert scale performance satisfaction questionnaire. Content validity was confirmed by 3 panel experts. They possess a confidence level according to Cronbach’s alpha coefficient, technique of .98. The software computer was used for data analysis in terms of frequencies, percentage, arithmetic means, standard deviation and Independent t test. The results of this study were summarized as followed; 1) The level of performance satisfaction on graduate nurses in 2005 was at a high level. (\bar{X} = 4.11, SD = .55), 2) The level of performance satisfaction on graduate nurses in 2006 was at a high level. (\bar{X} = 4.22, SD = .46), and 3) The comparing of performance satisfaction on graduate nurses  showed no statistically significant difference between the programs in each aspect of the academic/professional ability, basic nursing ability, and nursing morals/ethics. The findings should be used as a guideline to improve teaching and develop effectively nursing curriculum.

Keywords : performance satisfaction, graduated  nurses,  college  of  nursing

Downloads