ผลการประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรเมืองชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • นิยม จันทรนวล
  • ศิริญญา วิลาศรี

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่, ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง, เจ้าหน้าที่ตำรวจ, smoking behavior change, self-efficacy theory, police officers

บทคัดย่อ

    การวิจัยกึ่งทดลองคเงนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่โดย การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองในเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สูบบุหรี่และยินดีเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน จัดโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ ความสามารถตนเอง กิจกรรมประกอบด้วย การให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ การใช้วีดีทัศน์ผลจาก การสูบบุหรี่ การทดสอบความจุปอด การวัดคาร์บอนมอนอกไซด์ การเสนอตัวแบบ การสร้างความหวัง ในอนาคต การให้คำปรึกษาเพื่อสร้างแรงจูงใจในการเลิกสูบบุหรี่ และการกระตุ้นเตือน เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย โดยใช้สถิติ Paired f—test ที่ระดับ นัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองค่าเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถตนเองในการเถิก สูบบุหรี่ ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการเถิกสูบบุหรี่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และหลังการทดลองเจ้าหน้าที่ตำรวจมีค่าเฉลี่ยปริมาณมวนบุหรี่ที่สูบต่อวันตํ่า กว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001) ดังนั้นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ควรสนับสนุนัให้ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้เกิดการรับรู้ความสามารถตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเกิดความคาด หวังในผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในกลุ่มที่มีความต้องการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่และควรมีการติดตามอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการกระตุ้นและช่วยเหลือให้ ผู้สูบบุหรี่สามารถเถิกสูบบุหรี่ได้อย่างถาวร

Downloads