ความพร้อมของผู้สูงอายุในการป้องกันการพลัดตกหกล้มในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • นารถลดา ขันธิกุล ปร.ด. (อายุรศาสตร์เขตร้อน) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ กรมควบคุมโรค
  • อัมพิกา กุยวารี วท.บ. (สาธารณสุขศาสตร์) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ กรมควบคุมโรค
  • ธัญญาพรรณ เรือนทิพย์ วท.ม. (สาธารณสุขศาสตร์) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ กรมควบคุมโรค
  • อังคณา แซ่เจ็ง Ph.D. (Insect Immunity) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ กรมควบคุมโรค
  • ปิยะรัตน์ บุตราภรณ์ Dr.P.H. (Social Epidemiology) คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ความพร้อม, การพลัดตกหกล้ม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมของผู้สูงอายุในการป้องกันการพลัดตกหกล้มในจังหวัดเชียงใหม่ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ร่วมกับการประเมินผู้เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป อาศัยในพื้นที่ 10 ตำบลตัวอย่างของ 5 อำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 384 คน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ความเป็นอยู่ ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้ การป้องกัน กับความพร้อม โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Univariate analysis และ Multiple Logistic Regression ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีความรู้ มีการรับรู้เกี่ยวกับการพลัดตกหกล้ม และมีความพร้อมในการป้องกันการหกล้ม อยู่ในระดับดี ร้อยละ 58.33, 94.79 และ 89.06 ตามลำดับ ซึ่งผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม ร้อยละ 36.72 ปัจจัยที่สามารถทำนายความพร้อมในการป้องกันการพลัดตกหกล้มคือ ผู้ที่ออกกำลังกายมีความพร้อมในการป้องกันการหกล้มเป็น 4.39 เท่าของผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย นอกจากนี้พบว่าเพศหญิงเสี่ยงต่อการหกล้ม 2.75 เท่าของเพศชาย ผู้ที่มีโรคประจำตัวเสี่ยงต่อการหกล้ม 2.26 เท่าของผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว ผู้ที่มีประวัติเคยหกล้มเสี่ยงต่อการหกล้ม 2.69 เท่าของผู้ไม่เคยหกล้ม ดังนั้นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการออกกำลังกายที่เหมาะสม เพิ่มความตระหนักในการดูแลตนเองมากขึ้น โดยเฉพาะในเพศหญิง ผู้ที่เคยหกล้มและผู้ที่มีโรคประจำตัว ให้สามารถป้องกันอุบัติเหตุจากการพลัดตกหกล้มที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ลดการบาดเจ็บที่ซ้ำซ้อนและรุนแรง เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

References

กมลรัตน์ กิตติพิมพานนท์ และผจงจิต ไกรถาวร. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลภาวะสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการหกล้มกับพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 27(3), 331-342. [สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramanursej/rnj-v27-no3-sep-dec-2021-04

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2562). มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่องสังคมสูงอายุ (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

กรมควบคุมโรค. (2566). ข้อมูลจำนวนและอัตราผู้ป่วยนอก (OPD) สาเหตุจากการพลัดตกหกล้ม (W00–W19) ในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ปี พ.ศ. 2560-2565. [สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2566]; แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/dip/news.php?news=34701&deptcode=

กรมอนามัย. (2562). คู่มือแนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ภายใต้แนวคิด “สุขเพียงพอ ชะลอชรา ชีวายืนยาว” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 – 2565. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

คณิน ประยูรเกียรติ และก้องสยาม ลับไพรี. (2563). การพัฒนาวิธีการออกกำลังกายตามแนวคิดภูมิปัญญาไทยเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 12(3), 95-109. [สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566]; แหล่งข้อมูล:

https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TNSUJournal/article/view/244904

คณิน ประยูรเกียรติ และผกาวดี ไวกสิกรรม. (2565). การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยเก้าอี้เพื่อลดความเสี่ยงในการหกล้มของผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 14(2), 227-242. [สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566]; แหล่งข้อมูล:

https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TNSUJournal/article/view/247467

ฉัตรสุดา ศรีบุรี, ปารวี มุสิกรัตน์, ปฏิมา ศิลสุภดล และกนกวรรณ ศรีสุภรกรกุล. (2565). ผลของการฝึกเดินถอยหลังและเดินไปข้างหน้าต่อการทรงตัว ตัวแปรด้านระยะทางและเวลาของการเดินและความเสี่ยงของการหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารกายภาพบำบัด, 44(1), 12-28. [สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjpt/article/view/242298

ชญานิศ ลือวานิช และนิศากร ตันติวิบูลชัย. (2560). ภาวะเสี่ยงต่อการหกล้มของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุในจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการซายน์เทค มรภ.ภูเก็ต, 1(2), 1-11. [สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://ph01.tcithaijo.org/index.php/pkruscitech/article/view/152726/111601

ชิดชนก ศิริวิบุลยกิติ, กุลนาถ มากบุญ และจุฬาลักษณ์ คำ เจริญ. (2020). ผลของโปรแกรมท่าศาลาในการเสริม สร้างสมรรถนะทางกายเพื่อลดความเสี่ยงจากการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารแพทย์เขต 4-5, 39(1), 127-137. [สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/240116/163655

ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์. (2559). การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์, 5(2), 119-131. [สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ubruphjou/article/view/162418/117186

นิพา ศรีช้าง และลวิตรา ก๋าวี. (2559). รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทย ปี พ.ศ.2560-2564 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2565]; แหล่งข้อมูล: http://www.thaincd.com/2016/mission/documentsdetail.php?id=12095%20&tid=&gid=1-027

บรรลุ ศิริพานิช. (2552). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2552. กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบ้าน.

วรัญย์ศิชา ทรัพย์ประเสริฐ, ทอแสง พรหมนีวงศ์, วรวรรณ แก้วราษ และคณะ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างพหุปัจจัยเชิงนิเวศวิทยาสังคมกับความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุตำบลบ้านปึก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 4(2), 123-138. [สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjph/article/view/246559

วิชัย เอกพลากร (บรรณาธิการ). (2557) รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). “ค่าเฉลี่ยกับการแปลความหมาย: เรื่องง่ายๆที่บางครั้งก็พลาดได้,” ข่าวสารการวิจัยการศึกษา. 18(3), 8–11.

ศรวณีย์ ทนุชิต, ดนัย ชินคำ, ณัฐธิดา มาลาทอง, สุรเดช ดวงทิพย์ สิริกุล และศรีเพ็ญ ตันติเวสส. (2562). สถานการณ์ของระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุที่พลัดตกหกล้ม: ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย, 6, 57-68. [สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jpr2r/article/view/136411/131577

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). ประชากรจำแนกเพศ กลุ่มอายุรายปี จังหวัดเชียงใหม่ ปีงบประมาณ 2562. [สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2563]; แหล่งข้อมูล: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2562). แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: สินทวีการพิมพ์.

สุรินทร์รัตน์ บัวเร่งเทียนทอง และอรทัย ยินดี. (2564). การศึกษาความเสี่ยง ความกลัวการหกล้ม และแนวทางการจัดการป้องกันการพลัดตกหกล้มผู้ที่มารับบริการในคลินิกผู้สูงอายุ. วชิรสารการพยาบาล, 23(2), 31-43. [สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/vnj/article/view/252648

อุมาพร นิ่มตระกูล, พิมพาภรณ์ พรหมใจ และสิริภา ภาคนะภา. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว และความเสี่ยงหกล้มของผู้สูงอายุในตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 12(1), 53-67. [สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/249867/168564

Bloom, B. S. (1968). Learning for Mastery. Instruction and Curriculum. Regional Education Laboratory for the Carolinas and Virginia, Topical Papers and Reprints, Number 1 [online]. [cited 2022 February 22]; Available from: https://eric.ed.gov/?id=eD053419

Cheol – jin K., You, L. K., Suk, M. L. (2016). Effects of elastic – band resistance exercise on balance, mobility and gait function, flexibility and fall efficacy in elderly in elderly people. Journal of physical therapy science, 28(11), 3189-3196.

Lemeshow, S., Hosmer, D. W., Klar, J., Lwanga, S. K. (1990). Adequacy of Sample Size in Health Studies. Chichester: Wiley.

Martins, W. R., Safons, M. P., Bottaro, M., et al. (2015). Effects of short-term elastic resistance training on muscle mass and strength in untrained older adults: a randomized clinical trial. BMC Geriatrics, 15, 1-10. [cited 2022 March 2]; Available from: https://link.springer.com/article/10.1186/s12877-015-0101-5

Muangsiri, K., Maharachpong, N., & Rodjarkpai, Y. (2017). Factors relating the behavior of fall prevention among elderly in Chonburi province. Naresuan University Journal: Science and Technology, 25(4), 23-33. [cited 2022 March 2]; Available from: https://www.journal.nu.ac.th/NUJST/article/view/Factors%20relating%20the%20Behaviop%20of%20Fall%20Prevention%20among%20Elderly%20in%20Chonburi%20Province

Orem, D.E. (1985). Nursing: Concepts of practices. (3rd ed.). New York: Mc Grew Hill.

Thiamwong, L., Thamarpirat, J., Maneesriwongul, W., Jitapunkul, S. (2008). Thai Falls Risk Assessment Test (Thai-FRAT) Developed for Community-Dwelling Thai Elderly. Journal of the Medical Association of Thailand, 91(12), 1823-1832. [cited 2023 March 15]; Available from: https://www.thaiscience.info/Journals/Article/JMAT/10402715.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-10