ผลข้างเคียงของยา และความสม่ำเสมอในการรับประทานยาของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่เริ่มยาต้านไวรัสในปีแรกของโรงพยาบาลวาปีปทุมปี 2556 ถึง 2558
บทคัดย่อ
โรคเอดส์มีสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสเอชไอวีทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอจนติดเชื้อแทรกซ้อนซึ่งส่งผลให้เกิดความพิการและเสียชีวิตการรักษาที่ได้ผลดีในปัจจุบันคือการรักษาด้วยยาต้านไวรัส เชื้อเอชไอวีอาจดื้อยาได้ง่าย หากระดับยาในเลือดไม่สูงพอที่จะกดฤทธิ์ความรุนแรงของเชื้อทำให้เชื้อดื้อยาและไม่สามารถใช้ได้ผลเต็มที่ในผู้ป่วยการรับประทานยาสม่ำเสมอเป็นปัจจัยสำคัญต่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลข้างเคียงของยาต้านไวรัส และยาที่รักษาเชื้อฉวยโอกาส กับความสม่ำเสมอในการรับประทานยาของผู้ป่วยที่เริ่มยาต้านไวรัสเป็นปีแรกของโรงพยาบาลวาปีปทุมใน ปี 2556-2558
รูปแบบและวิธีการวิจัย : การศึกษาเชิงพรรณนา แบบตัดขวาง ณ จุดใดจุดหนึ่งของเวลา (Descriptive Cross-sectional Study) โดยทบทวนเวชระเบียนทุกรายที่มีวินิจฉัยโรคเอชไอวีของโรงพยาบาลวาปีปทุมลงในแบบบันทึกที่ได้พัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัยเป็นผู้รวบรวมข้อมูลการวิจัยนี้ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
เลขที่ EC16/2/559
ผลการศึกษา : จากผู้ป่วยทั้งหมด 112 รายจำแนกเป็นผู้เริ่มยาต้านใหม่เป็นปีแรกได้ทั้งหมด 40 ราย ผลข้างเคียง ที่พบ ร้อยละ 53 คือเวียนศีรษะ รองลงมาคือ ผื่น, ถ่ายเหลว, ตับอักเสบ และร้อนวูบวาบคิดเป็น ร้อยละ 25, 23, 15 และ 13 ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบในกลุ่มที่ทานยาสม่ำเสมอ เทียบกับกลุ่มทานยาไม่สม่ำเสมอพบว่าผลข้างเคียงมากกว่า คืออาการ เวียนศีรษะ
(ร้อยละ 59 และ25)ตับอักเสบ (ร้อยละ 16 และ13)อาการร้อนวูบวาบ (ร้อยละ 16 และ0)ผลข้างเคียงเท่ากัน คือผื่น (ร้อยละ 25) ผลข้างเคียงน้อยกว่าคืออาการถ่ายเหลว (ร้อยละ 19 และ38)
การติดเชื้อฉวยโอกาสในระยะแรกของการรักษา คือ วัณโรค ร้อยละ 30 ผื่น Pruritic papular eruption และเชื้อราในช่องปาก ร้อยละ 18 ปอดติดเชื้อ Pneumocystisjeroveci pneumoniaร้อยละ 13 เชื้อราชนิด Cryptococcus และเชื้องูสวัด ร้อยละ 8 เมื่อเปรียบเทียบในกลุ่มที่ทานยาสม่ำเสมอเทียบกับกลุ่มทานยาไม่สม่ำเสมอแล้วพบว่ามีการติดเชื้อมากกว่าคือการติดเชื้อวัณโรค (ร้อยละ 31 และ25) ผื่นPruritic papular eruption (ร้อยละ 19 และ 13) พบว่ามีการติดเชื้อเท่ากันคือปอดติดเชื้อ Pneumocystisjeroveci pneumonia(ร้อยละ 13)การติดเชื้อฉวยโอกาสที่พบว่าน้อยกว่าคือเชื้อราในช่องปาก(ร้อยละ 16 และ25) เชื้อรา Cryptococcus (ร้อยละ 6 และ13)และเชื้องูสวัด(ร้อยละ 6 และ13)
สรุปและข้อเสนอแนะ : เมื่อเปรียบเทียบผลข้างเคียงของยาต้านไวรัสและยาที่รักษาการติดเชื้อฉวยโอกาสในกลุ่มผู้ป่วยพบว่าความสม่ำเสมอในการรับประทานยานั้นน่าจะเกิดจากหลายปัจจัย นอกเหนือจากผลข้างเคียงของยา
คำสำคัญ : ติดเชื้อเอชไอวียาต้านไวรัสผลข้างเคียงของยา ความสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัส
References
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.สรุปสัญญาณตัวชี้วัดสัญญาณเตือนการเกิดเชื้อเอชไอวีดื้อยาต้านไวรัสประจำปีงบประมาณ 2556-2557.นนทบุรี,กระทรวงสาธารณสุข;2558.
Ghidei L, Simone MJ, Salow MJ, Zimmerman KM, Paquin AM, Skarf LM, Kostas TR,Rudolph JL. Aging, antiretrovirals, and adherence, a meta analysis of adherence among olderHIVinfected individuals. Drugs Aging. 2013 Oct ;30(10) :809-19.
Blatt CR, Citadin CB, Souza FG, MelloRS, Galato D. Assessment of adherence to antiretroviral drugs in a municipality in southernBrazil.Rev Soc Bras Med Trop. 2009 Mar - Apr ; 42 (2) : 131-6.
SteeleKT,Steenhoff AP, Newcomb CW,RantleruT, NthobatsangR,LesetediG,etal.Early mortality and AIDS progression despite high initial antiretroviral therapy adherence and virologic suppression in Botswana.PLoSOne. 2011;6(6).
McPherson-BakerS,MalowRM,PenedoF,Jones DL, Schneiderman N, Klimas NG. Enhancing adherence to combination antiretroviral therapy in non-adherent HIV - positive men. AIDS Care.2000 Aug ;12(4) :399-404.
Letta S, Demissie A, Oljira L, Dessie Y. Factors associated with adherence to Antiretroviral Therapy (ART) among adultpeople living with HIV and attending their clinical care, Eastern Ethiopia.BMC Int Health Hum Rights. ;2015 Dec28:15-33.
Mohammadpour A, Yekta ZP, Nikbakht Nasrabadi AR. HIV - infected patients’ adherence to highly active antiretroviral therapy : aphenomenological study.Nurs Health Sci. 2010 Dec ;12(4) :464-9.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม