ความสัมพันธ์ระหว่างระดับไทรอยด์สติมูเลติงฮอร์โมนของทารกแรกเกิดกับปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะของมารดา และการประเมินภาวะไอโอดีนระดับประชากรรายพื้นที่ในปี พ.ศ. 2562

ความสัมพันธ์ระหว่างระดับไทรอยด์สติมูเลติงฮอร์โมนของทารกแรกเกิดกับปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะของมารดา

ผู้แต่ง

  • หรรษา ไทยศรี สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • เปี่ยมนุกูล กระเสาร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • เพ็ญพรรณ ทองเงา สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย
  • สุภาพร นามมูลน้อย สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย
  • ทิพวัลย์ กรศิริปัญญา สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย
  • นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล สำนักโภชนาการ กรมอนามัย
  • นันทยา จงใจเทศ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย
  • จุฑารัตน์ สุภานุวัฒน์ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย
  • สุรัคเมธ มหาศิริมงคล ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ภาวะขาดสารไอโอดีน, ไอโอดีนในปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์, ไทรอยด์สติมูเลติงฮอร์โมนในทารกแรกเกิด

บทคัดย่อ

         ไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งมีบทบาทหน้าที่สำคัญต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของทารกตั้งแต่ในครรภ์ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับไทรอยด์สติมูเลติงฮอร์โมน (thyroid stimulating hormone; TSH) ของทารกแรกเกิดกับปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะ (urine iodine; UI) ของหญิงตั้งครรภ์คู่แม่-ลูก ในพื้นที่ 25 จังหวัด รวมจำนวน 2,471 คู่ ในปี พ.ศ. 2562 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีสเปียร์แมน พบว่าไม่มีความสัมพันธ์ (r = -0.024, p-value = 0.233) การประเมินภาวะไอโอดีนที่เพียงพอในระดับประชากรรายพื้นที่ตามเกณฑ์ WHO คือ ค่ามัธยฐานไอโอดีนในปัสสาวะ (medium urinary iodine; MUI) ของหญิงตั้งครรภ์มากกว่าหรือเท่ากับ 150 μg/L หรือมีทารกอายุ 72–96 ชั่วโมงหลังเกิด น้อยกว่าร้อยละ 3 มีระดับ TSH ในซีรัมมากกว่า 11.2 mU/L (5.0 mU/L ในเลือด) พบหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 4,395 ราย มีค่า MUI เท่ากับ 156.7 μg/L แสดงถึงการได้รับสารไอโอดีนที่เพียงพอในพื้นที่ในขณะที่ทารกแรกเกิดร้อยละ 11.3 มีระดับ TSH ในซีรัมมากกว่า 11.2 mU/L แสดงถึงพื้นที่ขาดสารไอโอดีนซึ่งไม่สอดคล้องกัน เนื่องจากการเก็บตัวอย่างเลือดทารกส่วนใหญ่มีอายุ 48–72 ชั่วโมง ทำให้มีค่า TSH สูงกว่าอายุ 72–96 ชั่วโมง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป การตรวจคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดสำหรับประเทศไทยจะดำเนินการโดยห้องปฏิบัติการ 10 แห่ง ซึ่งใช้เทคโนโลยี ชุดน้ำยา และค่า TSH เพื่อติดตามทารกแตกต่างกัน ดังนั้นประเทศไทยไม่ควรใช้ระดับ TSH จากการตรวจคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนในทารกแรกเกิดมาประเมินภาวะไอโอดีนในระดับประชากรรายพื้นที่

References

Cheng SY, Leonard JL, Davis PJ. Molecular aspects of thyroid hormone actions. Endocr Rev 2010; 31(2): 139-70.

Williams GR. Neurodevelopmental and neurophysiological actions of thyroid hormone. J Neuroendocrinol 2008; 20(6): 784-94.

Kogai T, Taki K, Brent GA. Enhancement of sodium/iodide symporter expression in thyroid and breast cancer. Endocr Relat Cancer 2006; 13(3): 797-826.

Chawanpaiboon S, Titapant V. A randomized controlled trial of the correlation between iodine supplementation in pregnancy and maternal urine iodine and neonatal thyroid stimulating hormone levels. Siriraj Med J 2019; 71(1): 59-65.

WHO, UNICEF, ICCIDD. Assessment of the iodine deficiency disorders and monitoring their elimination: a guide for programme managers. 3rd ed. Geneva: World Health Organization; 2007.

WHO. Urinary iodine concentrations for determining iodine status deficiency in populations. Geneva: World Health Organization; 2013.

Glinoer D. The regulation of thyroid function during normal pregnancy: importance of the iodine nutrition status. Best Pract Res Clin Endocrinol Metab 2004; 18(2): 133-52.

de Escobar GM, Obregón MJ, del Rey FE. Maternal thyroid hormones early in pregnancy and fetal brain development. Best Pract Res Clin Endocrinol Metab 2004; 18(2): 225-48.

Ng SM, Wong SC, Paize F, Chakkarapani E, Newland P, Isherwood D, et al. Multivariate analyses of factors that affect neonatal screening thyroid stimulating hormone. J Pediatr Endocrinol Metab 2011; 24(9-10): 727-32.

นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล, บรรณาธิการ. รายงานการศึกษาผลของการให้ยาเม็ดเสริมไอโอดีนต่อภาวะโภชนาการไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์. นนทบุรี: สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

Pino S, Fang SL, Braverman LE. Ammonium persulfate: a safe alternative oxidizing reagent for measuring urinary iodine. Clin Chem 1996; 42(2): 239-43.

Ohashi T, Yamaki M, Pandav CS, Karmarkar MG, Irie M. Simple microplate method for determination of urinary iodine. Clin Chem 2000; 46(4): 529-36.

ศูนย์ปฏิบัติการตรวจคัดกรองสุขภาพทารกแรกเกิดแห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. สถิติการตรวจคัดกรอง 2539-65. [ออนไลน์]. 2565; [สืบค้น 17 มี.ค. 2566]; [3 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www.neoscreen.go.th/index.php/th/screening/statistic-64.

เปี่ยมนุกูล กระเสาร์, เพ็ญพรรณ ทองเงา, จารณี พึ่งโพธิ์สภ, วิยะดา เจริญศิริวัฒน์, หรรษา ไทยศรี, อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์. ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดในทารกแรกเกิดใน 4 ภูมิภาคของประเทศไทยช่วงปี พ.ศ. 2559 ถึง 2561. ว กรมวิทย พ 2564; 63(2): 259-74.

Skeaff SA, Thomson CD, Wilson N, Parnell WR. A comprehensive assessment of urinary iodine concentration and thyroid hormones in New Zealand schoolchildren: a cross-sectional study. Nutr J 2012; 11: 31. (7 pages).

Dei-Tutu SA, Manful A, Heimburger DC, Malechi H, Moore DJ, Oppong SA, et al. Correlating maternal iodine status with neonatal thyroid function in two hospital populations in Ghana: a multicenter cross-sectional pilot study. BMC Pediatr 2020; 20: 26. (9 pages).

Vandevijvere S, Coucke W, Vanderpas J, Trumpff C, Fauvart M, Meulemans A, et al. Neonatal thyroid-stimulating hormone concentrations in Belgium: a useful indicator for detecting mild iodine deficiency? PLoS One 2012; 7(10): e47770. (6 pages).

Maahs DM, Zeitler P. Newborn screening in the United States may miss mild persistent hypothyroidism. J Pediatr 2018; 192: 1-2.

Di Dalmazi G, Carlucci MA, Semeraro D, Giuliani C, Napolitano G, Caturegli P, et al. A detailed analysis of the factors influencing neonatal TSH: Results from a 6-year congenital hypothyroidism screening program. Front Endocrinol 2020; 11: 456. (11 pages).

Rajatanavin R. Iodine deficiency in pregnant women and neonates in Thailand. Public Health Nutr 2007; 10(12A): 1602-5.

Burns R, Mayne PD, O’Herlihy C, Smith DF, Higgins M, Staines A, et al. Can neonatal TSH screening reflect trends in population iodine intake? Thyroid 2008; 18(8): 883-8.

Gruñeiro-Papendieck L, Chiesa A, Mendez V, Bengolea S, Prieto L. Neonatal TSH levels as an index of iodine sufficiency: differences related to time of screening sampling and methodology. Horm Res 2004; 62(6): 272-6.

ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเรื่อง ประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุข พ.ศ. 2565. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 127 ง (วันที่ 7 มิถุนายน 2565). หน้า 21.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2023

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)